Authorอมราลักษณ์ รักษ์วงศ์
Titleการนำหลัก Hardship มาใช้ในกฎหมายไทย / อมราลักษณ์ รักษ์วงศ์ = The application of the hardship doctrine of Thai law / Ammaralak Rakwong
Imprint 2549
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13655
Descript ง-ฌ, 155 แผ่น

SUMMARY

ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เป็นไปอย่างยากลำบาก หรือการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญา (hardship) ซึ่งเป็นลักษณะของการชำระหนี้อย่างหนึ่งที่การชำระหนี้ ยังสามารถปฏิบัติการชำระได้ แต่เนื่องจากมีเหตุการณ์บางอย่างเข้ามาแทรกแซงภายหลังจากการทำสัญญา ทำให้เกิดความยากลำบากในการชำระหนี้ หรือเป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจต้องปฏิบัติการชำระหนี้มากเกินไป ในขณะที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้รับการชำระหนี้ในมูลค่าที่สูงเกินไป แต่กลับปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนเท่าเดิม จนเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างการชำระหนี้ของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง และการปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งขึ้น ซึ่งหากจะต้องให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่นเดิมทุกประการ ก็อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น โดยได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของต่างประเทศในระบบคอมมอนลอว์และระบบซีวิลลอว์ หลักกฎหมายสัญญาของยุโรป และใน Unidroit Principles ที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เป็นไปอย่างยากลำบากหรือการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญา (hardship) ว่ามีการนำหลักใดมาปรับใช้หรือมีการบัญญัติไว้
ผลการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยบัญญัติไว้เฉพาะการชำระหนี้ที่เป็นพ้นวิสัยเท่านั้น ซึ่งเป็นกรณีที่การชำระหนี้เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับการชำระหนี้ที่เป็นไปอย่างยากลำบาก หรือการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญา (hardship) ดังนั้นหากเกิดกรณีปัญหาเกี่ยวกับการ ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ได้เพราะเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง ในสาระสำคัญของสัญญาภายหลังที่ทำสัญญาโดยที่คู่สัญญาไม่อาจคาดคิดมาก่อนในขณะที่ทำสัญญานั้น แล้วส่งผลให้การชำระหนี้เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญาฝ่ายใดมากเกินไป จนทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญา (hardship) คู่สัญญาผู้ต้องรับภาระในการชำระหนี้มากเกินไปนั้นจะต้องรับชำระหนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยไม่ได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ จึงทำให้คู่สัญญาไม่มีสิทธิที่จะปรับข้อสัญญาหรือเลิกสัญญากันได้ตามเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยให้บัญญัติเพิ่มเติมหลักกฎหมาย และผลเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เป็นไปอย่างยากลำบากหรือการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนักเกินควร (hardship) ไว้ชัดเจนในประมวลกฎหมาย เพื่อที่ว่าหากเกิดข้อพิพาทลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น คู่สัญญาจะสามารถขอเจรจาปรับปรุงข้อสัญญาหรือเลิกสัญญาได้ หากการปรับข้อสัญญาไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่สัญญามากขึ้น และเป็นการแก้ไขปัญหาในการปรับใช้กฎหมายในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
To study about the law of “hardship”. The hardship is a situation in which the disadvantaged party still has ability in exercising under a contract, but there is an event occurred after the conclusion of the contract was made. As a consequence, the disadvantaged party must pay too much debt or the other party may excessively receive the payment. This causes an unfair condition to both parties if they still oblige to follow with the unfair conditions. Therefore, this thesis will focus on Civil and Common law rules, the Principles of European Contract Law and the UNIDROIT Principles of International Commercial Contracts about hardship which principles have been applied or have been stated. After the research, it is found that, in Thailand, the Civil and Commercial Code states only force majeure provision but not for the hardship; therefore, if there is any problem relating to the hardship or the disadvantaged party is unable to exercise his/her right under the contract due to the substantive changes after the contract was made. The disadvantaged party has to pay much more than they ought to because the hardship is not stated in the Civil and Commercial Code. As a result, the parties will have no right to renegotiate the contract or terminate the contract. As a result, I would recommend that we should propose to amend the Civil and Commercial Code by adding the “hardship” provision clearly, so that when there is a problem regarding the hardship, the parties will have the specific provision to resolve such problem.


SUBJECT

  1. Debts
  2. External
  3. Performance ‪(Law)
  4. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- หนี้
  5. หนี้ต่างประเทศ
  6. การชำระหนี้

LOCATIONCALL#STATUS
Law Library : Thesis (4th Floor)K/TH 501 อ293ก 2549 LIB USE ONLY
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis491670 LIB USE ONLY