ธันวาคม
2566
อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวศูนย์พัฒนาทักษะนวัตกรรม (Innovative Skills Center) เพื่อเสริมศักยภาพความสามารถพิเศษด้านดิจิทัลให้กับบุคคลรุ่นถัดไป

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา อาลีบาบา คลาวด์ - ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป – ได้ประกาศความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเปิด Alibaba Cloud Academy Skills Center ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมของอาลีบาบา คลาวด์ แห่งแรกในโลก

กันยายน
2566
ISO 45001:2018

สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 ระบบมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

พฤษภาคม
2566
ครบรอบ 45 ปี แห่งการสถาปนาสำนักงานวิทยทรัพยากร

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ครบรอบ 45 ปี แห่งการสถาปนาสำนักงานวิทยทรัพยากร

กันยายน
2565
ได้รับมาตรฐานคลังสารสนเทศดิจิทัลระดับสากล CoreTrustSeal (CTS)

คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (Chulalongkorn University Intellectual Repository : CUIR) ได้การรับรองมาตรฐานคลังสารสนเทศดิจิทัลระดับสากล CoreTrustSeal (CTS) ในวันที่ 6 กันยายน 2565

กุมภาพันธ์
2565
ได้รับรางวัล ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น

สำนักงานวิทยทรัพยากรได้รับรางวัล ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น ประจำปี 2564 จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

กุมภาพันธ์
2565
ได้รับรางวัล ห้องสมุดสีเขียว

สำนักงานวิทยทรัพยากรได้รับรางวัล ห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2564 จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ตุลาคม
2564
ISO 14001:2015

สำนักงานวิทยทรัพยากรได้การรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 ในวันที่ 8 ตุลาคม 2564

พฤศจิกายน
2563
เปิด CHULA ULTIMATEX LIBRARY

ต้นแบบห้องสมุด Unmanned Library แห่งแรกของประเทศไทย

อ่านข่าว

ตุลาคม
2563
ได้รับรางวัล สำนักงานสีเขียว (Green Office)

ได้รับรางวัล สำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับดีเยี่ยม จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กันยายน
2563
ISO 9001:2015

วันที่ 30 กันยายน 2563 ได้การรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015

พฤศจิกายน
2562
เปิดนิทรรศการ “มหาวชิราวุธราชบรรณาลัย”

จัดแสดง ณ ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านข่าว

สิงหาคม
2562
เปิดตัว MOBILE TELEPRESENCE ROBOTICS (MTR)

นำมาใช้ในการให้บริการตอบคำถาม บริการต้อนรับนำชมของห้องสมุด

อ่านข่าว

มกราคม
2562
เปิดให้บริการ CHULA E-SPORT ZONE

เปิดพื้นที่สำหรับนิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้ในการเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะการเล่น eSports รวมไปถึงใช้ในกิจกรรมและการแข่งขันต่างๆ ของชมรม Chula Esports

อ่านข่าว

ตุลาคม
2561
“เปิดพื้นที่บริการเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต”

เปิดให้บริการ “ปันอ่าน” มุมหนังสืออ่านฟรี พร้อมพื้นที่นั่งอ่าน และเปิดให้บริการ “บอร์ดเกมและหมากกระดาน” สำหรับนิสิต บุคลากรจุฬาฯ และนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านข่าว

มิถุนายน
2561
คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR) ขยายบริการเป็นแบบ OPEN ACCESS

โดยเปิดให้ทุกคนทั้งประชาคมจุฬาฯ และบุคคลภายนอกสามารถดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการฉบับเต็ม (Fulltext) และอื่นๆ ในคลังปัญญาจุฬาฯ ได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิก หรือ Log in อีกต่อไปเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป

มีนาคม
2560
เปิดห้องสมุดสาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา

เป็นห้องสมุดสาขาแรกของสำนักงานวิทยทรัพยากร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560

มีนาคม
2560
เปิดนิทรรศการ 'จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย'

28 มีนาคม 2560 พิธีเปิดตัวคลังข้อมูลดิจิทัลและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และการเสวนาวิชาการ “จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย” ครั้งที่ 1 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านข่าว

พฤศจิกายน
2559
เปิดบริการ 24 ชั่วโมงเป็นครั้งแรก

สำนักงานวิทยทรัพยากร ได้รับการสนับสนุนจากสำนักบริหารกิจการนิสิตให้เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ในระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2559

มีนาคม
2559
เปิดบริการในวันอาทิตย์เป็นครั้งแรก

โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป ระหว่างเวลา 9:00-18:00 น

มิถุนายน
2557
ย้ายข้อมูลจากระบบ MILLENNIUM เข้าสู่ระบบ SIERRA

วันที่ 19 มิถุนายน เวลา 22.00 น. ถึง วันที่ 20 มิถุนายน เวลา 04.00 น. ห้องสมุดทำการย้ายข้อมูลจากระบบ Millennium เข้าสู่ระบบ Sierra

กุมภาพันธ์
2556
เปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์วิทยทรัพยากร เป็น สำนักงานวิทยทรัพยากร

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 มีพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงโครงสร้างส่วนงานของมหาวิทยาลัยเพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และเพื่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย

พฤศจิกายน
2553
เปิดอาศรมวงษาธิราชสนิท

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาศรมวงษาธิราชสนิท ณ สถาบันวิทยบริการ ชั้น 6

กุมภาพันธ์
2553
เปลี่ยนชื่อ สถาบันวิทยบริการ เป็นศูนย์วิทยทรัพยากร

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์2553 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปลี่ยนชื่อ สถาบันวิทยบริการ เป็นศูนย์วิทยทรัพยากร

กรกฎาคม
2552
เปิดบริการระบบ SINGLE SEARCH เป็นห้องสมุดแห่งแรกในประเทศไทย

ด้วยโปรแกรม Encore เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นระบบการสืบค้นแบบพิมพ์คำค้นแล้วคลิกครั้งเดียว สามารถสืบค้นจากฐานข้อมูลหลายๆ ฐานพร้อมกัน ประกอบด้วย ฐานข้อมูลห้องสมุด (Library Catalog), ฐานข้อมูลที่บอกรับ (CU Reference Databases) และฐานข้อมูลคลังปัญญาจุฬาฯ (CUIR)

มิถุนายน
2551
มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สถาบันวิทยบริการเป็นส่วนงานที่มิใช่ส่วนงานวิชาการ

มีภาระหน้าที่ในการสนับสนุนด้านทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรวิชาการอื่นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

2549
จัดทำฐานข้อมูลประชาคมวิชาการ (COMMUNITY OF PRACTICE)

ซึ่งมีพันธกิจหลักในการรวบรวมข้อมูลประวัติและความเชี่ยวชาญและผลงานของบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2548
เปิดบริการคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR)

เพื่อเป็นคลังจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศที่เป็นภูมิปัญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ ฯลฯ โดยใช้ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป DSpace

2545

  • เปิดห้องปฏิบัติการผลิตสื่อการศึกษาแบบ Non-Linear
  • เปิดตัวฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สาระพื้นถิ่น
  • เปิดบริการวันละ 18 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน โดยไม่มีวันหยุด เป็นเวลา 6 สัปดาห์ระหว่างสอบประจำภาคการศึกษา
  • มีระบบสำนักงานอัตโนมัติที่สมบูรณ์แบบ
2544

  • เริ่มดำเนินการระบบประกันคุณภาพในเดือนมีนาคม
  • จัดให้มีการเรียนการสอนทางไกล (VC) อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ตลอดปี

2543

  • เปิดศูนย์กลางการเรียนการสอนทางไกลของธนาคารโลกเป็นแห่งแรกของประเทศ ใช้โปรแกรม SAP R/3 กับงานสารสนเทศเพื่อการบริหารบุคคล
  • เริ่มใช้โปรแกรม Oracle Financial Application กับงานงบประมาณพัสดุ การเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัย

2542

  • มหาวิทยาลัยทูลเกล้าฯ ถวายห้องสมุดดิจิตอลจุฬาฯ พร้อมด้วยเครือข่ายสื่อสารวิ่งด้วยความเร็วสูงแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
  • มหาวิทยาลัยทูลเกล้าฯ ถวายห้องสมุดดิจิตอล จุฬาฯ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ
  • เริ่มโครงการ "ศูนย์เอกสารโครงการธนาคารโลก"
  • เข้าร่วมโครงการ CORC กับ OCLC ในประเทศสหรัฐอมริกา เพื่อการสร้างและใช้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของ Website ต่าง ๆ นับเป็นแห่งแรกของประเทศ
  • พัฒนา Template สำหรับวิทยานิพนธ์และงานวิจัย
  • เปิดบริการ NETg ให้นิสิตเรียนรู้การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ด้วยตนเองผ่านเครือข่าย เปิดบริการ Digital Music Library
  • นำระบบ Non-Linear Editing (BETACAM SP) มาใช้กับงานผลิตสื่อโทรทัศน์
  • สร้างฐานข้อมูลและพัฒนา search engine ในการจัดเก็บและค้นคืนข้อมูลพื้นถิ่น (Local Content Database)

2541

  • ติดตั้งระบบการเรียนการสอนทางไกล ในเครือข่าย UniNet
  • เปิดศูนย์ผลิตสื่อมัลติมีเดีย
  • เปิดบริการข้อมูลสารสนเทศทางธุรกิจ ณ ศูนย์เอกสารประเทศไทย

2540

  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิดงานนิทรรศการภาพเขียนฝีพระหัตถ์ ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์
  • ใช้ "สมาร์ทการ์ด" กับการยืมคืน
  • เปิดบริการ CU Cyber Zone เพื่อการใช้งาน Internet ในรูป Multimedia
  • ให้บริการฐานข้อมูลกฤตภาคบทความและข่าวออนไลน์
  • ศูนย์เอกสารประเทศไทยเปิดให้บริการฐานข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการอ้างอิงโดยใช้โปรแกรม CDS/ISIS บน LAN

2539

  • เริ่มให้บริการ Chula Reference Databases
  • เปิดบริการศูนย์การศึกษาโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ (CBT)
  • ให้บริการห้องสตูดิโอถ่ายภาพ
  • พัฒนางานสารบรรณเข้าสู่ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป INFOMA

2538

  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอศิลปวิทยนิทรรศน์และทรงทดลองสืบค้นข้อมูลจากเครือข่าย Chulalinet นับเป็นการเปิดตัว Chulalinet อย่างเป็นทางการ
  • เปิดบริการฐานข้อมูลพิเศษ (Special Database) ณ ศูนย์เอกสารประเทศไทย
  • เปิดห้องปฏิบัติการทางภาษา 36 ที่นั่ง

2537

  • ใช้ INNOPAC สร้างระบบข่ายงานห้องสมุดอัตโนมัติ
  • จัดตั้งฝ่ายระบบสารสนเทศ

2536

  • ต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้น เป็น 7 ชั้น
  • จัดตั้งศูนย์เอกสารยุโรป (European Information Center) และเป็น depository library ของสิ่งพิมพ์สหภาพยุโรป

กรกฎาคม
2535
เป็น NODE และ INTERNET GATEWAY บริการตลอด 24 ชั่วโมงแห่งแรกของประเทศด้วยความเร็ว 9.6 KBPS

สถาบันวิทยบริการได้รับมอบหมายภารกิจจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ศึกษาและดำเนินการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยได้ติดตั้งและให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็ว 9.6 Kbps แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2535 ส่งผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่เชื่อมเข้าสู่ทางด่วนสารสนเทศ Internet ตลอด 24 ชั่วโมง

ตุลาคม
2531
เริ่มโครงการพัฒนาระบบข่ายงานห้องสมุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(CHULALINET)

มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ห้องสมุดทุกเห่งในมหาวิทยาลัยเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกันและกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้นิสิต อาจารย์ นักวิชาการสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดทุกแห่งได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

2530

  • บริการฐานข้อมูลพิเศษด้านสังคมศาสตร์ ณ ศูนย์เอกสารประเทศไทย
  • บริการออนไลน์ฐานข้อมูล Union List of Serials in Thailand

มิถุนายน
2525

เริ่มเปิดให้บริการ ณ อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2525

2524

เริ่มนำโปรแกรม CDS/ISIS มาใช้ในการรวบรวมรายชื่อวารสาร

พฤษภาคม
2521
มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยบริการ

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2521 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยบริการ ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ หอสมุดกลาง ศูนย์เอกสารประเทศไทย และศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง