Authorวิทยา พานิชล้อเจริญ, ผู้แต่ง
Titleการสร้างความเป็นจริงทางสังคมเกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์ เชิงความรักยุคหลังสมัยใหม่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากล / วิทยา พานิชล้อเจริญ = The social construction of reality concerning love relationship patterns in postmodern society of Thai popular music video / Vithaya Panichlocharoen
Imprint 2543
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64119
Descript [10], 208 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงความรักยุคหลังสมัยใหม่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากล และศึกษากระบวนการสร้างความเป็นจริงทางสังคมเกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์ผ่านมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากล โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ แนวคิดเรื่องการสร้างความเป็นจริงทางสังคม ภาวะยุคหลังสมัยใหม่ ความแปลกแยกของมนุษย์ ความรักในฐานะที่เป็นสินคาสัญญะศึกษาและแนวคิดเกี่ยวกับมัวสัควิดีโอ ผลการวิจัยพบว่า มีรูปแบบความสัมพันธ์เชิงความรักยุคหลังสมัยใหม่ในมิวสิควิดีโอเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4 รูปแบบ คือ รูปแบบความสัมพันธ์แบบไม่จริง แบบปฏิเสธ แบบว้าเหว่และแบบแลกเปลี่ยน สำหรับกระบวนการสร้างความเป็นจริงเกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์เชิงความรักโดยมัวสัควิดีโอเพลงไทยสากล พบว่า ได้มีการสร้างความเป็นจริงผ่านองค์ประกอบของมิวสิควิดีโอ 7 ประการ ดังนี้ 1) แก่นเรื่อง ได้มีการสอดแทรกรูปแบบความสัมพันธ์ทั้ง 4 ลงไป ในแก่นเรื่องของมิวสิควิดีโอ โดยพบรูปแบบความสัมพันธ์แบบว้าเหว่มากที่สุด 2) โครงเรื่อง แบบแผนโครงเรื่องมิวสิควิดีโอส่วนใหญ่นำเสนอความเป็นจริงว่า ความรักจะจบลงด้วยความไม่สมหวัง และยังพบด้วยว่า โครงเรื่องมิวสิควิดีโอจะดำเนินเรื่องภายได้ความขัดแย้งของแนวคิดเบี้องหลัง 3 ประการคือ ความขัดแย้งเชิงศีลธรรม ความขัดแย้งเชิงสถานะและความขัดแย้งเชิงทัศนะเกี่ยวกับความรัก 3) อายุของตัวละคร อายุของตัวละครของ มิวสิควิดีโอได้นำเสนอความเป็นจริงว่า ชายและหญิงส่วนใหญ่จะเริ่มมีความสัมพันธ์เชิงความรักในช่วงวัย 11-15 ปี แด่เพศหญิงจะมีช่วงวัยเกี่ยวข้องกับความรักที่สั้นกว่าด้วยช่วงวัย 26-30 ปี 4) อาชีพของตัวละคร ภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับอาชีพ พบว่า เป็นตัวละครที่ไม่ปรากฏอาชีพมากที่สุด ซึ่งแสดงความเป็นจริงว่า อาชีพไม่ได้เป็นอุปสรรคในความรัก 5) สถานภาพและบทบาทของตัวละคร เพศชายเป็นผู้ถูกกระทำให้เกิดทุกข์จากความรักมากกว่า โดยทั้งเพศชายและหญิงต่างไม่พยายามทำให้ความรักพบความสุข ซึ่งสร้างภาพความเป็นจริงว่า ความรักเป็นเรื่องของความทุกข์มากกว่า 6) ฉาก ภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับความรักส่วนใหญ่จะปรากฎในฉากสาธารณะมากกว่า ซึ่งแสดงภาพความเป็นจริงว่า มีการแสดงออกถึงความสัมพันธ์เชิงความรักในพื้นที่สาธารณะมากกว่า 7) การแสดงออกของตัวละคร ชายหญิงในมัวสัควิดีโอมีการสัมผัสร่างกายมากขึ้นโดยส่วนใหญ่จะมักจะแสดงออกในพื้นที่สาธารณะมากกว่า มีเพียงการแสดงออกในระดับการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น ที่ยังคงปรากฏในพื้นที่ส่วนบุคคล
The following research aimed at studying how Thai pop music video portrayed the pattern of love relationship as well as the social construction of reality process in postmodern society. Employing the qualitative research method, the researcher also utilized the concepts of social construction of reality theory, postmodern condition, human alienation, love as a commodity, music video concept and semiology as a conceptual framework for data analysis. The results revealed that there were four patterns of love relationship in postmodern society of Thai popular music video: pseudo pattern, reject pattern, isolate pattern and exchange pattern. With regard to the social construction of reality process in Thai popular music video, the finding could be categorized from seven elements of music video: 1) theme, in which isolate pattern was most district among the four patterns found ; 2) plot, most of which showed that stories were not always with happy endings and which consisted of three conflicting concepts, ie. morality, status and attitude toward love ; 3) characters’ ages, which represented the love relationship of teenagers of 11-15 years, and which showed that, when comparing to men, women seemed to be engaged in love relationship in a shorter period, at the age of 26-30 at most ; 4) characters’ careers, most of which were not identified, resulting in the fact that career was not a barrier to love ; 5) character role and status, which show that males were more passive than females regarding misery, while both were a little active regarding happiness, and this illustrated that love tended to bring misery ; 6) scene, which presented close relationship more in public than in private spheres ; 7) expression of characters, in which, excluding sexual intercourse, there was higher frequency of physical touch occurring more in public than in private spheres.


SUBJECT

  1. ความรัก
  2. ความรักในดนตรี
  3. โพสต์โมเดิร์นนิสม์
  4. มิวสิกวิดีโอ
  5. สัญศาสตร์
  6. Love
  7. Love in music
  8. Postmodernism
  9. Music videos
  10. Semiotics

LOCATIONCALL#STATUS
Communication Arts Library : Thesis1303 2543 CHECK SHELVES