Authorเทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร, กรมสมเด็จพระ, 2498-
Titleทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท / สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี = Dasaparami in theravada buddhism / H.R.H Princess Maha Chakri Sirindhorn
Imprint 2524
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7077
Descript ก-ฎ, 184 แผ่น

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางความหมายของศัพท์ว่าบารมี ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเถรวาทที่แต่งขึ้นในยุคต่างๆ โดยใช้วิธีการ 2 อย่าง คือการศึกษาวิธีการประกอบศัพท์และศึกษาคำศัพท์ที่อยู่ในคำแวดล้อม (context) ที่ปรากฏในคัมภีร์ จากการศึกษา เห็นได้ว่า ยุคแรกๆ ในระยะต้นนั้น คำว่าบารมีหมายถึง ความเป็นเลิศ ความเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ในด้านใดก็ได้ ต่อมาความหมายของศัพท์แคบเข้า คือ จะหมายถึงความเป็นเลิศหรือความบริบูรณ์ในหมวดธรรมหมวดใดหมวดหนึ่งในพุทธศาสนา ในที่สุดจะหมายถึงความเป็นเลิศ หรือเป้าหมายสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือพระนิพพาน ความหมายของคำว่าบารมีในยุคหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เข้าใจกันอย่างแพร่หลายในหมู่คนไทย คือ หมวดธรรมะหรือวิธีการ 10 ประการ ที่จะทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติได้บรรลุถึงพระนิพพาน ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านความหมาย คือเปลี่ยนจากเป้าหมายไปเป็นวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมาย วิทยานิพนธ์นี้แบ่งเป็น 7 บท ดังต่อไปนี้ บทที่ 1 บทนำ แสดงที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนในการวิจัย และประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย บทที่ 2 ความหมายของคำว่า "บารมี" ตามรูปศัพท์และการประกอบศัพท์ มีเนื้อหา คือ เสนอความคิดต่างๆ ในเรื่องการประกอบศัพท์ ทั้งความเห็นของนักไวยากรณ์โบราณ และนักไวยากรณ์รุ่นหลัง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตกที่ศึกษาภาษาบาลี) บทที่ 3 ความคิดเรื่องบารมีในพระไตรปิฎก แสดงการใช้คำ "บารมี" ในคำแวดล้อมต่างๆ ในพระไตรปิฎก (เว้นอปทาน, พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก ซึ่งจะกล่าวในบทที่ 4) ในยุคนี้ บารมี มีความหมายถึง ความเป็นเลิศ ความบริบูรณ์หรือเป้าหมายของการปฏิบัติ บทที่ 4 ความคิดเรื่องบารมีในอปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก แสดงการใช้คำ "บารมี" ในคำแวดล้อมต่างๆ ในคัมภีร์ 3 เล่ม
ที่กล่าวข้างต้น ถือว่าคัมภีร์ ทั้ง 3 นี้เป็ส่วนของพระไตรปิฎกที่ค่อนข้างจะใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับคัมภีร์อื่นๆ ในพระไตรปิฎก การศึกษาในวิทยานิพนธ์บทนี้ ชี้ให้เห็นว่าในคัมภีร์ยุคนี้ ความหมายของคำว่า "บารมี" เปลี่ยนแปลงไปจากเป้าหมายสุงสุดไปเป็นวิธีการที่พึงปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดนั้น ความหมายในยุคนี้แพร่หลายมากในหมู่พุทธศาสนิกชนในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์ทั้งสามก็ยังมีการใช้ศัพท์ "บารมี" ในความหมายดั้งเดิม คือ ความเป็นเลิศ (ในสิ่งใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องหมายถึงความเป็นเลิศในพุทธศาสนา) บทที่ 5 ความคิดเรื่องบารมีในคัมภีร์ปกรณ์พิเศษและอรรถกถา ในคัมภีร์ปกรณ์พิเศษที่กล่าวถึงในบทนี้ ได้ความหมายของบารมีในแนวเดียวกันกับความหมายในบทที่ 3 แต่ได้นำมากล่าวแยกในบทนี้ เพราะเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในสมัยต่างกันมาก ส่วนอรรถกถา ให้ความหมายของคำว่าบารมี ตามแนวพระไตรปิฎกที่อรรถกถานั้นอธิบายความ แต่จะอธิบายละเอียดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อรรถกถาของคัมภีร์จริยาปิฎก อธิบายขั้นตอนในการบำเพ็ญบารมีโดยละเอียด บทที่ 6 ความคิดเรื่องบารมีในคัมภีร์พุทธศาสนาในประเทศไทยและอิทธิพลของความคิดเรื่องบารมีในวัฒนธรรมไทย มีเนื้อหากล่าวถึงคำบารมีที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ ทั้งในภาษาบาลีและภาษาไทย กล่าวถึงคำ "บารมี" ที่ใช้ในวรรณคดีภาษาสามัญของไทย (ไม่กล่าวถึงวรรณคดีหรือภาษาถิ่น) และวิวัฒนาการของความคิดเรื่องนี้ในวัฒนธรรมไทย บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
The aim of this research is to study the change in the meaning of the word "Parami" (or Paramita as the word sometimes appears) in Theravada Buddhist texts composed in various periods. Two methods are used: etymological analysis of the word and semantic study of the word in different contexts. A conclusion is reached that at the beginning of the first period "Parami" meant highest position, or complete achievement in any undertaking e.g. in the study of the Vedas. Later onthe word came to mean excellence or completeness in the mastery of certain Buddhist teaching. In its narrowest sense the word signifies the highest aim of Buddhism namely nirvana. In the latest or the last period the meaning of "Parami" changed from the goal to the attained to the ten principles that would enable a person who practises them to reach it. At present this latest meaning is very popular among Buddhists especially in Thailand. The thesis is divided into seven chaters:- Chapter I : Introduction. This chapter deals with the origin of the problem, the aim of the research, the methods employed, the steps in the research, and the expected benefit. Chapter II : Etymological Analysis of the word. This chapter gives the different ways in which grammerians, traditional as well as modern (often western) ones, understood and explained the word "Parami." Chapter III : The Concept of Parami inthe Canonical Period. This chapter examines the use of "Parami" in different contexts in the canon (except Apadana, Buddhavamsa and Cariya pitaka which will be dealt with in chapter IV). In this period "Parami" meant mastery, completeness or the highest aim of religious practice. Chapter IV : The Concept of Parami in Apadana, Buddhavamsa and Cariya pitaka. This chapter examines the use of "Parami" in different contexts in the three books cited above. These three books are considered "new" as compared with other parts of the canon. In this period the meaning of the word "Parami" changed from the highest aim to the ten principles to be observed by those wishing to achieve the highest aim of Buddhism. This new meaning is very popular among Buddhists of the present day. Nevertheless, in these three books there exists the use of the word in its original sense (i.e. highest position, mastery of any subject). Chapter V : The concept of Parami in Non-canonical Books and Commentaries. In the non-canonical books studied in this chapter, the word "Parami" is used in the same sense as that in Chapter III. These books were, however, compiled or com-posed at a much later date. In the commentaries the word has the same meaning as that in the canonical books which the commentaries seek to explain in great detail. The commentary to Cariyapitaka explains minutely the ten parami. Chapter VI : The Concept of Parami in Thai Buddhist Literature and the Influence of this Concept on the Thai Culture. This chapter discusses the word "Parami" as used in Thai literature and in everyday language and the evolution of this concept in the Thai culture. Chapter VII : Conclusion and suggestions.


SUBJECT

  1. พุทธศาสนาเถรวาท
  2. บารมี

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Rarebook Collection[สธ] 294.391 ท56ทพ LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาตะวันออก LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาตะวันออก CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาตะวันออก CHECK SHELVES