Authorเอื้องอรุณ สมิตสุวรรณ
Titleการวิเคราะห์การเขียนบทละครโทรทัศน์เรื่อง "ปริศนา"/ เอื้องอรุณ สมิตสุวรรณ = An analysis of the script writing T.V. drama "Prissana" / Auanqarun Smithsuwan
Imprint 2535
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28543
Descript [7], 133 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการเขียนบทละครโทรทัศน์ เรื่อง “ปริศนา” ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2530 ว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบของบท วิธีการเขียน และการเปลี่ยนแปลงของบทละคร เมื่อนำมาผลิตเป็นละครโทรทัศน์ ทั้งนี้ โดยมีแหล่งข้อมูล คือ ผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่องนี้ คำให้สัมภาษณ์ของผู้จัดละคร ตลอดจนข้อมูลเอกสารและวีดิโอเทป หลังจากนั้นได้นำเสนอให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างนวนิยายกับบท และบทละครกับบทละครโทรทัศน์ จากการศึกษาพบว่า บทละครเป็นบทที่เขียนขึ้นเพื่อการแสดง ในการนำนวนิยายมาเขียนเป็นบท จึงต้องมีการเพิ่มรายละเอียด ความสมเหตุสมผลและเป็นไปได้ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจและคล้อยตามเนื้อหาของละคร แต่ทั้งนี้การเขียนบทต้องคงอรรถรสเดิมของบทประพันธ์ให้มากที่สุด นอกจากนี้บทละครยังประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 6 ส่วน คือ โครงเรื่อง ตัวละครและการวางลักษณะนิสัยตัวละคร ความคิด การใช้ภาษา และภาพ โดยทั้งหมดต้องมีความสัมพันธ์ สอดคล้องไปในแนวทางเดียว และเมื่อนำบทละครมาผลิตเป็นละครโทรทัศน์ บทจะถูกดัดแปลง แก้ไขในหลายสิ่งหลายอย่างและเป็นการดัดแปลงที่ผู้เขียนไม่มีโอกาสได้ทราบ จนกว่าละครจะแพร่ภาพออกอากาศ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจากผู้กำกับการแสดง นักแสดง ผู้กำกับรายการ และทีมงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้อาจก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อบทละครโทรทัศน์
THIS STUDY EXAMINES THE PROCESS IN WHICH THE SCRIPT OF A 1987 TELEVICION DRAMA “PRISANA” WAS WRITTEN AND USED FOR PRODUCTION, LOOKING SPECIFICLY AT ITS VARIOUS ELEMENT, THE WRITING STYLE, AND THE WAY IT WAS REVISED FOR PODUCTION. THA STUDY ALSO DISCUSSES THE DIFFERENCES BETWEEN THE SCRIPT AND THE FINAL PRODUCTION. DATA WERE COMPILED FROM SEVERAL SOURSES INCLUDING PERSONAL EXPERIENCE OF THE RESEARCHER WHO WAS THE WRITER OF SCRIPT, AN INTERVIEW WITH THE PRODUCER, AND AN ANALYSIS OF RELATED DOCUMENTS AND VIDEOTAPES. THE STUDY SUGGESTS THAT A SCRIPT IS WRITTEN TO BE PERFORMED. TO WRITE A T.V. DRAMA SCRIPT OUT OF A NOVEL, THE WRITTER NEEDS TO ADD DETAILS AND MAKE THE EVENTS MORE PLAUSIBLE SO THAT THE AUDIENCE CAN UNDERSTAND AND BE CONVINCED BY THE STORY. NEVERTHELESS, THE FLAVOR OF THE ORIGINAL WORK SHOULD BE MAINTAINED AS MUCH AS POSSIBLE. THE SCRIPT IS COMPOSED OF SIX ELEMENTS : PLOT, CHARACTER AND CHARACTERIZATION, THOUGHT, DICTION, SONG AND SPECTACLE, ALL OF WHICH SHOULD BE RELATED AND COMPLEMENT EACH OTHER. WHEN THE SCRIPT IS USED IN A PRODUCTION, IT IS USUALLY REVISED SUBSTANTIALLY. GENERALLY, THE SCRIPT WRITER IS NOT AWARE OF THE CHANGES UNTIL THE DRAMA IS BROADCASTED. SUCH SCRIPT REVISION. WHICH CAN IMPROVE OR WEAKEN THE SCRIPT, MAY BE DEMANDED BY THE DIRECTOR , THE ACTORS, THE SWITCHING DIRECTOR, AND THE STAFF, ‘AS WELL AS OTHER UNANTICIPATED PROBLEMS.


SUBJECT

  1. วิภาวดีรังสิต
  2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
  3. 2463-2520
  4. ปริศนา (บทโทรทัศน์)
  5. การเขียนบทละครโทรทัศน์
  6. บทละครโทรทัศน์ไทย
  7. การวิเคราะห์เนื้อหา

LOCATIONCALL#STATUS
Communication Arts Library : Thesis253(CD) LIB USE ONLY