Authorรอบทิศ ไวยสุศรี, ผู้แต่ง
Titleวิธีปฏิรูปการสร้างพระเครื่องเพื่อให้เป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม : กรณีศึกษา การสร้างพระเครื่องของ พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร วัดพุทธพรหมปัญโญ จังหวัดเชียงใหม่ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ / รอบทิศ ไวยสุศรี
Imprintกรุงเทพฯ : ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Connect tohttp://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2019.1
Descript v, 72 แผ่น ; 29 ซม

SUMMARY

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิธีปฏิรูปการสร้างพระเครื่องเพื่อให้เป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม จากกรณีศึกษาการสร้างพระเครื่องของพระอาจารย์ วรงคต วิริยธโร วัดพุทธพรหมปัญโญ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า การสร้างพระเครื่องนั้น ไม่ใช่เรื่องงมงายหรือเป็นไสยศาสตร์ที่ขัดแย้งกับคำสอนในพระพุทธศาสนาแบบที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แต่กลับแฝงไว้ด้วยกุศโลบายอันลึกซึ้งที่จะช่วยโน้มน้าวให้ทั้ง ผู้สร้างพระเครื่อง และผู้ใช้พระเครื่อง ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมตามหลักบุญกิริยาวัตถุคือ ทาน ศีล และภาวนา อย่างไรก็ดี วิธีการสร้างพระเครื่องแบบดั้งเดิม มักมีวิธีการสร้างที่สลับซับซ้อน สร้างได้จำนวนน้อย ไม่ค่อยเปิดเผยวิธีการสร้างให้แก่คนทั่วไป และไม่ค่อยมีการบอกแนวทางในการใช้พระเครื่องให้แก่ผู้นำพระเครื่องไปใช้อย่างชัดเจน จึงทำให้คนทั่วไปขาดความเข้าใจกุศโลบายที่แฝงอยู่ในพระเครื่อง และไม่สามารถใช้พระเครื่องเพื่อเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรมได้อย่างครบถ้วนชัดเจน ในขณะที่การสร้างพระเครื่องของพระอาจารย์วรงคต วิริยธโร มีวิธีการสร้างและใช้พระเครื่องที่แตกต่างไปจากการสร้างพระเครื่องแบบดั้งเดิมหลายประการ ทั้งวิธีการสร้างพระเครื่อง วิธีการใช้พระเครื่อง และวิธีการเผยแพร่ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกุศโลบายที่แฝงอยู่ในพระเครื่องให้สามารถใช้โน้มน้าวทั้งผู้สร้างและผู้ใช้พระเครื่องได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมตามหลักบุญกิริยาวัตถุได้ง่ายและครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยความแตกต่างเหล่านั้น ไม่มีกระบวนการใดที่ขัดแย้งกับการสร้างพระเครื่องแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังทำได้ง่าย และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณมาก จึงทำให้วิธีการสร้างพระเครื่องของพระอาจารย์วรงคตมีความน่าสนใจที่จะนำมาประยุกต์ใช้เพื่อปฏิรูปวิธีการสร้างพระเครื่องในยุคปัจจุบัน ให้มีกุศโลบายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการโน้มน้าวให้ทั้งผู้สร้างและผู้ใช้พระเครื่องได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมตามหลักบุญกิริยาวัตถุได้ง่ายและครบถ้วนมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า วิธีปฏิรูปการสร้างพระเครื่อง มี 3 ด้านคือ 1. ปฏิรูปวิธีการสร้างพระเครื่อง ให้มีการสร้างจานวนมากขึ้นสำหรับไว้แจกทาน สร้างพระเครื่องแบบที่นำไปใช้ได้ง่าย และสร้างพระเครื่องด้วยรูปลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา 2.ปฏิรูปวิธีการใช้พระเครื่อง ให้นำพระเครื่องมาใช้สวดมนต์อยู่เสมอ และใช้พระเครื่องในการแผ่บุญ 3.ปฏิรูปวิธีการเผยแพร่ โดยเพิ่มสื่อการสอนเช่น แผ่นพับ หนังสือ และสื่อออนไลน์ต่างๆ
This research is to study how to reform the Production of Buddhist Amulets and Using Them as a means for Dhamma practice : a case study of Buddhist amulets of Warongkot Viriyataro at Watputtaprompanyo Chiangmai Province. The research found that the amulets are not credulous or superstitious beliefs that conflict with Buddhist teachings that most people understand, but instead, the amulets concealed with a profound strategy to help convince both Buddha amulet makers and amulets users to practice according to the bases of meritorious action such as merit acquired by giving, moral behavior and mental development. Traditional methods to produce Buddha amulets were often applied with complicate methods, limited numbers, and rarely revealed the methods in public and any guidelines for using amulets to the amulet users clearly. Therefore, general people lack the understanding of the strategy hidden in the amulets and cannot use amulets as a strategy for Dhamma practices completely. Whilst, amulet methods of Warongkot Viriyataro are different from traditional amulets in several ways as such amulets methods, amulets use and amulets dissemination, which help increase the efficiency of the strategy hidden in the Buddha amulets to be able to convince both the creators and users of amulets to have the opportunity to practice the principles of merit easily and completely. According to those differences, no process conflicts with the traditional amulet methods, but it engages with easier methods and a lot saver budget. Therefore, amulets methods of Warongkot Viriyataro are interesting to be applied to reform the amulets methods in the present time to have a more effective strategy to convince both creators and users of amulets to have the opportunity to practice the principles of merit easier and more complete. Actually, there are 3 processes to reform amulets methods: 1. Reform the amulets methods to be more massive for distribution, more available application and more related to the image of Buddhism 2. Reform methods for using amulets to routinely use the Buddha amulets to pray and to disseminate merit 3. Reform the methods of dissemination by adding teaching materials such as leaflets, books and various online media


CONTENT

การสร้างพระเครื่องในพระพุทธศาสนา -- การสร้างพระเครื่องของพระอาจารย์วรงคต วิริยธโรวัดพุทธพรหมปัญโญ จังหวัดเชียงใหม่ -- การปฏิรูปการสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม


SUBJECT

  1. เครื่องรางของขลัง (พุทธศาสนา)
  2. เครื่องรางของขลัง (พุทธศาสนา) -- ไทย -- เชียงใหม่

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)294.3437 ร186ว 2562 CHECK SHELVES