Authorฤทัยรัตน์ บุญสมบัติ, ผู้วิจัย
Titleการใช้เทคนิคด้านพันธุศาสตร์โมเลกุลเพื่อผลิตเปปไทด์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการแบ่งตัวของเซลล์จากเมล็ดผลไม้ไทยใน Pichia pastoris GS115 : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ / ฤทัยรัตน์ บุญสมบัติ
Imprintกรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60413
Descript ก-ช, 35 แผ่น : ภาพประกอบ; 30 ซม

SUMMARY

เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากแหล่งธรรมชาติได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เมล็ดผลไม้เป็น แหล่งสะสมอาหารซึ่งมีความเป็นไปสูงในการพบเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยงานวิจัยนี้ได้คัดเลือก เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ 2 สายจากเมล็ดลำไย ได้แก่ Longan 1 (ISYVVPVYIAEITPKTFRGGF) และ Longan 2 (TLAMHYF) ทั้งนี้การสกัดจากธรรมชาติโดยตรงยังพบปัญหา เช่น ได้ปริมาณเปปไทด์ที่ต้องการน้อยแต่ใช้ตัวอย่างจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงเลือกเทคนิคด้านพันธุศาสตร์โมเลกุลมาแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยออกแบบชิ้นส่วนดีเอ็นเอให้ประกอบด้วยออกแบบนิ วคลีโอไทด์ที่แปลรหัสแล้วได้เป็นลำดับกรดอะมิโอของเปปไทด์ Logan 1 เรียงต่อกัน 4 ชุด แต่ละชุด คั่นด้วยโคดอนกรดอะมิโนแอสพาร์ติก และเปปไทด์ Logan 2 เรียงต่อกัน 10 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วยโค ดอนกรดอะมิโนไลซีน เพื่อให้ชิ้นส่วนดีเอ็นเอยาวเพียงพอสำหรับการจัดการด้วยเทคนิคด้านพันธุ ศาสตร์โมเลกุล จากนั้นตัดต่อเข้าเวคเตอร์พาหะ pPICZαA และนำเข้าสู่โครโมโซมของ P. pasotoris GS115 เพื่อให้ P. pasotoris ผลิตรีคอมบิแนนท์เปปไทด์ดังกล่าว โดยงานวิจัยนี้สามารถสร้าง P. pasotoris สายพันธุ์ TWLG1PP และ WPLG2 สำหรับผลิตเปปไทด์ Longan 1 และ Logan 2 ตามลำดับ โดยสายพันธุ์ TWLG1PP ได้รับการยืนยันความถูกต้องของลำดับนิวคลีโอไทด์แล้ว ส่วน WPLG2 ได้ ตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นและกำลังอยู่ระหว่างยืนยันความถูกต้องของลำดับนิวคลีโอไทด์ หลังจากนี้ P.pastoris ทั้งสองสายพันธุ์จะถูกกระตุ้นให้มีการแสดงออกของรีคอมบิแนนท์เปปไทด์ และ จะถูกตัดให้เป็นเปปไทด์สายสั้นเหมือนที่พบในเมล็ดลำไยด้วยเอนไซม์ Endoproteinase AspN สำหรับรี คอมบิแนนท์เปปไทด์จากสายพันธุ์ TWLG1PP และทริปซิน กับ Carboxyldase B สำหรับรีคอมบิแนนท์ เปปไทด์จากสายพันธุ์ WGLG2 จากนั้นจะนำไปทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ในการ ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งต่อไป
Bioactive peptides from natural sources are currently favorable. Fruit seeds are sources of accumulated food, so there are potential sources for discovering bioactive peptides. In this research, two antioxidative peptides from longan seeds, Longan 1 (ISYVVPVYIAEITPKTFRGGF) and Longan 2 (TLAMHYF) were selected. However, direct extraction of the peptides from natural sources encounters some problems such as low yield of peptide. To overcome these problems, molecular genetic technique is chosen in this research by designing DNA fragment containing 4 copies of the peptide Longan 1 linked by the codons of Aspartic acid and DNA fragment containing 10 copies of the peptide Longan 2 linked by the codons of Lysine in oder to obtain adequetly long peptides for being manipulated by molecular genetic teqnique. Then, both DNA fragments were inserted into the expression vector, pPICZαA and further integrated onto P. pastoris GS115 chromosome for producing those peptides. For this research, two strains of P. pasotoris, TWLG1PP and WPLG2, were constrcted for producing peptide Longan 1 and Longan 2, respectively. For the strain TWLG1PP, nucleotide sequence was already verified. However, the strain WPLG2 was preliminary verified while nucleotide sequence verification is in progress. Then, both strains will be induced to express recombinant peptides. The rerombinant petide from TWLG1PP strain will further cut by Endoproteinase AspN while that from WGLG2 will further cut by trypsin Carboxyldase B. Next, antioxidative and antiproliferative activities will be tested.


SUBJECT

  1. อนุมูลอิสระ
  2. แอนติออกซิแดนท์
  3. รีคอมบิแนนต์โปรตีน
  4. พิเชียพาสทอริส
  5. Free radicals (Chemistry)
  6. Antioxidants
  7. Recombinant proteins
  8. Pichia pastoris