Authorพรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
Titleการฟื้นฟูภาวะจิตใจและการร่วมมือช่วยเหลือทางจิตวิทยาที่ยั่งยืนแก่เด็ก เยาวชนและครอบครัวหลังการประสบภัยพิบัติสึนามิ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ / พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์, อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Imprint กรุงเทพฯ : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49692
Descript ก-ญ, 208 หน้า : ภาพประกอบ, แผนภูมิ ; 30 ซม

SUMMARY

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูภาวะจิตใจและแสวงหาแนวทางในการช่วยเหลือทางจิตวิทยาที่ยั่งยืนที่เกิดจากความร่วมมือกันในชุมชนให้แก่เด็ก เยาวชน และครอบครัวหลังการประสบภัยพิบัติสึนามิ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การประเมินความต้องการของผู้ประสบภัยพิบัติวัยเด็ก เยาวชน ครอบครัวและครู ระยะที่ 2 ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติสึนามิ เมื่อปี 2547 ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ประสบภัยพิบัติสึนามิ และระยะที่ 3 เสนอศูนย์ฟื้นฟูจิตใจให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่นและคณะผู้วิจัย ซึ่งรายงานวิจัยฉบับนี้นำเสนอผลการวิจัย 2 ระยะแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประสบภัยพิบัติสึนามิ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 240 คน กลุ่มเยาวชนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 226 คน กลุ่มครอบครัวจำนวน 187 คน และกลุ่มครูจำนวน 128 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพังงาบริเวณพื้นที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจความต้องการความช่วยเหลือ แบบสำรวจผลกระทบจากภัยพิบัติได้แก่ ผลกระทบด้านพัฒนาการทางร่างกายผลกระทบด้านเชาวน์ปัญญา ผลกระทบทางด้านอารมณ์ ผลกระทบต่อการทำหน้าที่ครอบครัว และด้านสุขภาพ ผลการวิจัยในระยะที่ 1 พบว่า นักเรียนระดับประถมศึกษามีความต้องการครอบครัวใหม่มากที่สุดและเยาวชนมีความต้องการทุนการศึกษาต่อเนื่องจนจบการศึกษามากที่สุด และในกลุ่มครูมีความต้องการความช่วยเหลือและฟื้นฟูทางด้านจิตใจที่ยั่งยืนมากที่สุด
ผลการวิจัยในระยะที่ 2 พบว่า ภัยพิบัติสึนามิมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกาย และพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของนักเรียนระดับประถมศึกษาทุกระดับชั้นแต่ในด้านพัฒนาการทางอารมณ์พบว่า ภัยพิบัติสึนามิมีผลกระทบต่อเด็กที่มีอายุ 11-12 ปีเท่านั้น สำหรับกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีประสบการณ์ภัยพิบัติสึนามิในระดับสูงมีแนวโน้ม ที่จะมีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนที่มีประสบการณ์ภัยพิบัติสึนามิระดับต่ำ และในกลุ่มครอบครัวพบว่า ภัยพิบัติสึนามิมีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของครอบครัวมากที่สุด ส่วนในกลุ่มครูที่เป็นผู้ประสบภัยพิบัติมีปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาด้านอารมณ์ รวมทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาครอบครัว ผลการวิจัยในระยะที่ 3 พบว่า จากการจัดโครงการสัมมนาเผยแพร่ผลการวิจัยระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น บุคคลในท้องถิ่นมีความเห็นว่างานวิจัยในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อชุมชนเนื่องจากมีการนำเสนอผลการวิจัยที่พบแก่บุคคลในพื้นที่ให้รับทราบผลกระทบจากภัยพิบัติที่ยังคงมีอยู่ร่วมกับคณะผู้วิจัย รวมถึงเป็นโครงการที่มีการติดตามกลุ่มผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูจิตใจและให้ความช่วยเหลือทางจิตวิทยาแก่กลุ่มผู้ประสบภัยพิบัติ บุคคลท้องถิ่นส่วนมากเห็นด้วยกับการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น โดยการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยเป็นสิ่งที่ควรเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างบุคคลในท้องถิ่นและหน่วยงานภายนอก อันจะทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติมีความเหมาะสมกับความต้องการความช่วยเหลือของผู้ประสบภัยและเหมาะสมกับปริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
This study was constructed to propose the sustainable mental rehabilitation and collaborative psychological rebuilding for children, adolescent, families and teachers. Three phases of the long term research plan are : Phase 1, conduct a needs assessment of children, adolescent, families and teachers; Phase 2. Examine the impacts of the tsunami on the daily lives of children, adolescent, families and teachers; Phase 3, propose a rehabilitation center to implement and monitoring community outreach and support for children, adolescent, families and teachers. Subjects consisted of four groups of 240 elementary student and 226 secondary school students, 187 family menders, and 128 teachers in Phang Nga Province. Three survey forms were conducted : needs assessment, impacts of tsunami and a self-care behaviors. Results of phase 1 and phase 2 indicated that; Phase 1 : needs assessment for each group: the highest score of children was the need for new family for the tsunami victim; the highest score of adolescents was the need of scholarships for further education; the highest score of teacher was the need for sustainable rehabilitation of psychological rebuilding Phase 2: Impact of the Tsunami : physical and cognitive abilities impacted on all groups of children with tsunami exposure but emotional development impacted only children aged 11-12 ; adolescents who experienced high impact from tsunami were likely to develop emotional and behavioral problems than those who had no or little impact; the highest score of impact from tsunami for families of victims was family functioning ; physical, emotional and family’s problems impacted teachers. Phase 3: Two conference meetings were arranged to assure that the findings of research project reach out key stakeholders. Community leaders health care professional, school teachers, medias, and paraprofessional reported satisfying outcomes. In particular, prolong engagement of the project in the tsunami impact areas and community involvement in the process of dissemination the result were mentioned as the most profits. Most stakeholders suggested setting up a psychological and mental health services center for tsunami survivors. This center should be based on active collaboration between local and national related agencies. Through the center, community members will become familiar with psychological and mental health professionals in the region that can be accessed for referrals and outreach services.


SUBJECT

  1. สึนามิ
  2. สึนามิ -- แง่จิตวิทยา
  3. การให้คำปรึกษา
  4. จิตวิทยาการปรึกษา
  5. พฤติกรรมการช่วยเหลือ

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)158.24 พ262ก CHECK SHELVES
Central Library @ Chamchuri 10BF637.C6 พ262ก 2555 CHECK SHELVES
Central Library @ Chamchuri 10BF637.C6 พ262ก 2555 CHECK SHELVES