Authorมยุรี ตันติสิระ
Titleการศึกษาฤทธิ์ในการสมานแผลและผลต่อการเรียนรู้และความจำของสารสกัดมาตรฐานบัวบกในโมเดลของสัตว์ทดลอง : รายงานการวิจัย / มยุรี ตันติสิระ, บุญยงค์ ตันติสิระ, จุไรพร สมบุญวงศ์
Imprint กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2548
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59018
Descript ix, 38 แผ่น : แผนภูมิ ; 30 ซม

SUMMARY

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการ “การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางที่มรมาตรฐานจากสมุนไพรบัวบกสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม” ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักที่มุ่งจะเตรียมสารสกัดมาตรฐานที่มีฤทธิ์แก้ไขสภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำ และสารสกัดมาตรฐานที่มีฤทธิ์สมานแผล โดยใช้วิธี activity-guided isolation แยกสารทดสอบไปทีละขั้นตอนเพื่อกำหนดสารที่เป็น bioactive markers ในสารสกัดมาตรฐาน โมเดลของสภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำที่ใช้คือการปิดกั้นหลอดเลือดคาโรติดชั่วคราว (2VO) และการฉีดสารสโคโปลามีน ส่วนโมเดลที่ใช้ในการทดสอบการสมานแผลก็คือแผนที่เกิดจากการกรีดและแผลที่เกิดจากความร้อน โดยทำการทดลองทั้งหมดในหนูขาว จากการทดสอบด้วยวิธี Morris Water Maze test และ Step-down test พบว่าการปิดกั้นหลอดเลือดคาโรติดชั่วคราว (2VO) หรือการฉีดสารสโคโปลามีนจะทำให้เกิดสภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำในหนูขาว สารสกัดรวมของบัวบกที่ให้โดยการป้อนทางปากสามารถจะแก้ไขสภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำได้เฉพาะในโมเดลของ การปิดกั้นหลอดเลือดคาโรติดชั่วคราว (2VO) แต่ไม่มีผลในการแก้ฤทธิ์ของสารสโคโปลามีน ดังนั้นจึงใช้โมเดล 2VO ทำการทดสอบสารทดสอบที่ได้จากสกัดแยกส่วนทีละขั้นตอนต่อไป จากการทดสอบสารทดสอบทั้งหมด 12 สารทดสอบ พบว่ามีสาระสำคัญที่สามารถนำมาใช้กำหนดเป็น bioactive marker ของสารสกัดมาตรฐานอยู่สองชนิด (เอและบี) เมื่อพิจารณาประกอบกับผลการทดสอบฤทธิ์ในการสมานแผล ซึ่งพบว่าสารสกัดหยาบทั้ง 4 ชนิด สามารถทำให้แผลที่เกิดจากการใช้ความร้อน (Burn wound) และจากการกรีด (Incision wound) หายเร็วขึ้นได้ใกล้เคียงกัน ดังนั้นคณะผู้วิจัยวิธีการสกัดจึงได้พัฒนาวิธีสกัดเพื่อให้ได้สารสกัดมาตรฐานที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การนำมาใช้เป็นยาเตรียมภายนอกเพื่อรักษาแผลนั้นคือ ปราศจากสีและในขณะเดียวกันก็มีปริมาณสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านการลืมในปริมาณที่สูง ทำให้ได้สารสกัดมาตรฐานที่มีชื่อว่า ECa 233 ซึ่งเป็นสารสกัดบัวบกที่ปราศจากสี มีปริมาณสาร A และ B รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 80% อาจกล่าวได้ว่างานวิจัยอย่างเป็นระบบในครั้งนี้นำไปสู่ความสำเร็จในการเตรียมสารสกัดมาตรฐานบัวบกที่มีความแน่นอนในด้านปริมาณของสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ และสามารถยืนยันการออกฤทธิ์ได้โดยข้อมูลในโมเดลมาตรฐานในสัตว์ทดลอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการผลิตสารสกัดสมุนไพรคุณภาพสูงเพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบในการเตรียมเป็นสารเสริมอาหารหรือยาสำหรับใช้ในคน
The present study is a part of integrated project entitled “Research and development of Standardized Pharmaceutical and Cosmetic Products from Medicinal Plants Centella asiatica for Industrial Production Scale” aiming to prepare a standard extract of Centella asiatica with wound healing and memory enhancing effects to be used as raw material for pharmaceutical or cosmetic products. Activity-guided isolation was used to identify bioactive compounds as markers in the standard extract. Two common carotid occlusion (2VO) or injection of scopolamine was used to induce memory impairment in rats. Wound healing was assessed in an incision as well as burn wound. Two common carotid occlusion (2VO) or injection of scopolamine was found to induce memory deficit seen as poor performances in Morris Water Maze test and Step-sown test. Total extract of centella asiatica was found to improve learning and memory deficit induced by (2VO) but not scopolamine. Therefore 2VO was further used to evaluate the effects of sequentially fractionated test substances. Among 12 fractions tested there were two substances (A and B) which can be used as bioactive markers of the standard extract. Together with the results that wound healing activity was demonstrated by 4 fractional extract of CA. All attempts were made to establish the extraction procedure which could produce a colorless standard extract suitable for topical preparation for wound healing and at the same time contain high amount of substances A and B. ECa 233 is our colorless standard extract containing total amount of substances A and B not less than 80%. In conclusion systematic activity-guided isolation used in the present studies have lead to a success in the preparation of standard extract of Centella asiatica with appropriate appearance, definite amount of bioactive constituents as well as reliable activity in standard animal models. Information obtained is vital for the production of high quality herbal extract to be used as raw material for food supplement or medication for human.


SUBJECT

  1. บัวบก -- การใช้รักษา
  2. สารสกัดจากพืช
  3. การสมานแผล
  4. การทดลองในสัตว์
  5. สัตว์ทดลอง -- ความจำ