Authorสรกานต์ ศรีตองอ่อน
Titleคำสอนเรื่องการสร้างบารมีของวัดพระธรรมกาย / สรกานต์ ศรีตองอ่อน = Wat Phra Dhammakaya's teachings on parami fulfilment / Sorakarn Sritong-on
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66699
Descript ก-ญ, 146 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องการสร้างบารมีของวัดพระธรรมกาย ในด้านแนวคิดวิธีการ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องของคำสอนเรื่องนี้กับหลักธรรมในคัมภีร์พุทธเถรวาท รวมทั้งวิเคราะห์จากกรอบความคิดในด้านสังคมวิทยาศาสนาด้วย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารในด้านคำสอนเรื่องบารมีของวัดพระธรรมกาย หลักธรรมที่เกี่ยวข้องในพระไตรปิฎกและอรรถกถา และความเห็นของบุคคลต่างๆ ที่แสดงไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วยกับคำสอนของวัดพระธรรมกาย ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องบารมีของวัดพระธรรมกายนั้น สอดคล้องกับหลักธรรมในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ที่เด่นชัดคือ ในพระสูตร ทีปังกรพุทธวงศ์ ว่าด้วยพระประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้า และในพระสูตรจริยาปิฎก ส่วนวิธีการสร้างบารมีของวัดพระธรรมกายนั้น ได้มีการสรุปเรื่องบารมี 10 ทัศนี้ อยู่ในรูปของหลักธรรมบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา แต่เป็นการปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ 3 ที่เป็นบารมี คือ กระทำอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย กระทำอย่างยิ่งยวดแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ตามแบบอย่างของพระโพธิสัตว์ ที่มีปรากฎใน พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นการติความที่มีเหตุผลตามหลักธรรมรองรับ สำหรับการวิเคราะห์ตามกรอบความคิดของสังคมวิทยาศาสนานั้น ผู้วิจัยเห็นว่า เหตุที่คำสอนเรื่องการสร้างบารมีของวัดพระธรรมกายสามารถทำให้มีประชาชนเสื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมากนั้น น่าจะมีผลมาจากคำสอนที่สามารถชี้แจงให้เห็นเหตุและผลได้อย่างเป็นขั้นตอน ง่ายต่อการปฏิบัติ และผู้สอนสามารถปฏิบัติตนให้เห็นเป็นแบบอย่างได้จริง ซึ่งผู้ที่นำคำสอนไปปฏิบัติสามารถเห็นผลดีได้จริงในชีวิตประจำวัน ส่วนความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วยกับคำสอนเรื่องการสร้างบารมีของทางวัดพระธรรมกายนั้น น่าจะมีอยู่หลายสาเหตุหลักด้วยกัน คือ ข้อกล่าวหาทางคำสอนเชิงอภิปรัชญาว่าผิดเพี้ยน การใช้หลักธรรมที่ต่างกันในการติความ การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวัดที่ไม่ชัดเจน การปฏิเสธวิธีการใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากประสบการณ์ของตน และปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ของวัด ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมแล้ว คำสอนเรื่องการสร้างบารมีของวัดพระธรรมกายนี้ จัดเป็นแนวทางหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาท และมีประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนผู้นำไปปฏิบัติ หากทางวัดพระธรรมกายเพิ่มเติมเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับหลักธรรมพุทธศาสนาเถรวาทที่รองรับคำสอนของทางวัด ก็น่าที่จะทำให้กระแสความไม่เห็นด้วยต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ลดลงไปในที่สุด
The purpose of this study was to look into Wat Phra Dhammakaya’s teachings on Parami fulfilment in terms of concepts, approaches and relating activities in order to analyze them whether they corresponded to the teachings in the Theravada Buddhist texts or not. The analysis was also done in relation to the conceptual scope of sociolgical religion. The ducuments used in this study were: the teachings of Parami of the Wat, the Buddhist teachings about Parami in the Tipitaka and commentaries, the writings of various personal views about Parami, especially the views that disagreed with the teachings of the Wat. It was found that the concepts of Parami taught by the Wat were in line with the Dhamma in both Tipitaka and commentaries. The outstanding evidence was the biograhpy of the Dipankara Buddha in Khuddakanikaya Buddhavamsa and Khuddakanikaya Cariyapitaka. It was also found that the Wat summarized the ten Parami, for practice, as three items are actually termed in Buddhism as Punyakiriyavatthu. The Practice of these three items were considered to be Parami because the practioners were trained to practice regularly and continually that they become their habits. Having realized the benefits of the practice, they made an effort to practice so hard that they could stake their lives on it in the same way as the Bothisattas whose accounts were evident in the Tipitaka. The consideration of Parami in this way was quite logical because there was Dhamma supporting it. Regarding the analysis in relation to the conceptual scope of sociological religion, the researcher thought that the reasons why the teachings about Parami fulfilment of the Wat were able to convince a great number of people to have faith in Theravada Buddhism were: the teachings being explained step by step were easy for the people to follow, the preachers and trainers had so deep expertise that they could train almost all of the trainees to experience hapiness from their own daily Dhamma practice. Unfortunately, there might be serveral main factors which caused some individuals to disagree with the teachings of the Wat, they might be: there was also an accusation that the teachings were wrong in terms of Metaphysics, different individual used different Dhamma for the interpretation of Parami, some individual had incomplete information about the Wat, some had negative attitude towards new approches beyond their experience, including the problem of public relations of the Wat itself. All in all, the teachings about Parami fulfilment of the Wat were really beneficial for the propagation of Theravada Buddhism, and brought about great benefits for practitioners. However, the disagreement current affairs would eventually decrease if the Wat distributed some more publications based on Theravada Buddhist texts to support its teachings.


SUBJECT

  1. วัดพระธรรมกาย
  2. บารมี
  3. พุทธศาสนาเถรวาท
  4. ธรรมะ

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. พุทธศาสน์ LIB USE ONLY