Authorสุริน คล้ายรามัญ
Titleการพัฒนามโนภาพแห่งตนโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / สุริน คล้ายรามัญ = Development of self-concept through group process activities of prathom suksa five students / Surin Clyramon
Imprint 2529
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27162
Descript ก-ฏ, 174 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษามโนภาพแห่งตนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบมโนภาพแห่งตนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับและไม่ได้รับการฝึกกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยวิธีทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2528 จำนวน 60 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย คือการจับสลากจากนักเรียนจำนวน 129 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คนแล้วเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยมโนภาพแห่งตนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลองโดยการทดสอบค่าที (t-test) ปรากฏว่านักเรียนทั้งสองกลุ่มมีมโนภาพแห่งตนไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 จากนั้นทดลองฝึกกลุ่มสัมพันธ์กับกลุ่มทดลองด้วยกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทั้งหมด 11 กิจกรรม กิจกรรมทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยนักเรียนพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ยอมรับตนเองและมีความคิดเห็นต่อตนเองในทางบวก ใช้เวลาฝึกสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมเวลาที่ใช้ฝึกทั้งหมด 33 คาบ ส่วนกลุ่มควบคุมให้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมปกติ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ทดสอบมโนภาพแห่งตนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง ซึ่ง จุไรรัตน์ เปรมัษเฐียร ได้แปลและดัดแปลงมาจากแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองของเพียร์และแฮรีส (The Piers Harris Children’s Self-Concept Scale) จำนวน 80 ข้อ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยมโนภาพแห่งตนระหว่างนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองและค่าเฉลี่ยมโนภาพแห่งตนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มีมโนภาพแห่งตนในทางบวกสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มีมโนภาพแห่งตนในทางบวกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มีมโนภาพแห่งตนหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองที่ระ ดับนัยสำคัญ .05 4. ในการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองในด้านต่างๆ ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองไปในทางบวก ส่วนกลุ่มควบคุมนั้นพบว่าก่อนและหลังการทดลองนักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองคงสภาพเดิม
Purpose The purposes of this study were as follows: 1. To study self-concept of Prathom Suksa Five students who have engaged in group process activities. 2. To compare self-concepts of students who have and have not engaged in group process activities. Procedures Sixty Prathom Suksa Five Students of Sri-iam Anusorn School in Phrakhanong District, Bangkok Metropolis, in the academic year 1985 were selected as samples of the study. By means of random sampling thirty students were selected as an experimental group and another thirty students as a controlled group. Pre-test scores of self-concept of the two groups of students were not significantly different at the level of .05. The researcher designed eleven group process activities which aimed at developing positive self-concept. The experimental group was engaged in the group process activities for thirty-three periods (20 minutes for each period) while the controlled group was left natural. After the treatment, the two groups were asked to do The Piers Harris Children’s Self-Concept Scale (Adapted form). The self-concepts of the two groups were compared by using t-test. Results 1. The experimental group gained higher positive self-concept than did the controlled group at the level of .01. 2. At Post-test, the experimental group got higher positive self-concept at the level of .01. 3.There was no significant difference between pre and post tests of the controlled group. 4. From the students’ reactions to the questions, it was found out that self-concepts of the experimental group have changed positively in many ways whereas self-concepts of the controlled group remained the same.


SUBJECT

  1. กลุ่มสังคม
  2. ความคิดรวบยอด
  3. การรับรู้
  4. การปรับพฤติกรรม