Authorลลิตา ฤกษ์สำราญ
Titleการศึกษาพัฒนาการทางการคิดของเด็กไทย เกี่ยวกับการจัดกลุ่มความเท่าเทียมกันของสิ่งเร้า / ลลิตา ฤกษ์สำราญ = A study on the development of cognitive equivalence of Thai children / Lalita Lerksamran
Imprint 2525
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18216
Descript ก-ถ, 236 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการทางการคิดของเด็กไทยเกี่ยวกับการจัดกลุ่มความเท่าเทียมกันของสิ่งเร้า โดยพิจารณาจากชนิดของเกณฑ์และโครงสร้างของประโยคที่เด็กใช้เพื่ออธิบายหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชายหญิง จำนวนเท่าๆ กัน ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 5 อายุระหว่าง 6 ปี ถึง 16 ปี ระดับอายุละ 12 คน รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 264 คน แบ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนในเมือง 2 โรง เป็นนักเรียนหญิงจากโรงเรียนมาแตร์ เดอี จำนวน 66 คน นักเรียนชายจากกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จำนวน 66 คน และนักเรียนจากโรงเรียนในชนบท 2 โรง เป็นนักเรียนชายและหญิง จากโรงเรียนบ้านปะโค จำนวน 84 นักเรียนชายและหญิงจากโรงเรียนกุมภวาปี จำนวน 48 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งเป็นหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นกลุ่มสิ่งเร้าที่มีลักษณะแตกต่างกัน 3 ชนิด คือ สิ่งเร้าที่เป็นภาษา สิ่งเร้าที่เป็นรูปภาพ และสิ่งเร้าที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่างทีละคน โดยให้แต่ละคนจัดกลุ่มสิ่งเร้าตามลักษณะที่เหมือนกันลักษณะใดลักษณะหนึ่ง พร้อมทั้งบอกหลักเกณฑ์ที่ใช้จัด นำคำตอบของกลุ่มตัวอย่างมาแยกประเภทโดยพิจารณาตาม (1) ชนิดของเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ ความเท่าเทียมกันตามรับรู้ ความเท่าเทียมกันตามหน้าที่ และความเท่าเทียมกันตามนามบัญญัติ (2) โครงสร้างของประโยคที่ใช้เพื่ออธิบายหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ โครงสร้างประโยคชนิดเป็นชุด โครงสร้างประโยคชนิดเชิงซ้อน และโครงสร้างประโยคชนิดอภิสามัญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหา ความถี่และค่าร้อยละ แล้วทำการทดสอบความแตกต่างของความถี่โดยใช้สูตรของ ไคสแควร์ และสูตรของ พิสเชอร์
การวิเคราะห์ชนิดของเกณฑ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้าทั้ง 3 ชนิด ใช้การคำนวณหาขอบเขตของสัดส่วนประมาณของประชากร นอกจากนี้ผู้วิจัยยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของเกณฑ์กับโครงสร้างของประโยคที่ใช้ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้า วิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การณ์จร ผลการวิจัย พบว่า 1. เด็กที่มีระดับอายุแตกต่างกัน ใช้เกณฑ์และโครงสร้างประโยคเพื่ออธิบายหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้าทุกประเภท แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 2. เด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองและชนบทใช้เกณฑ์ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้าทุกประเภทไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ทุกระดับอายุ ยกเว้นระดับอายุ 9 ปี และ 10 ปี ที่เด็กในชนบทใช้เกณฑ์การรับรู้จัดกลุ่มสิ่งเร้ารูปภาพและสิ่งเร้าภาษามากกว่าเด็กในเมือง 3. . เด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองและชนบท ใช้โครงสร้างประโยคเพื่ออธิบายหลักเกณฑ์การจัดกลุ่มสิ่งเร้าทุกประเภท ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ทุกระดับอายุ ยกเว้นระดับอายุ 10 ปี ที่เด็กในชนบทใช้โครงสร้างประโยคชนิดเชิงซ้อนเพื่ออธิบายหลักเกณฑ์การจัดกลุ่มสิ่งเร้าภาษาและสิ่งเร้ารูปภาพมากกว่าเด็กในเมือง 4. เด็กชายและเด็กหญิง ใช้เกณฑ์และโครงสร้างประโยคเพื่ออธิบายหลักเกณฑ์การจัดกลุ่มสิ่งเร้าทุกประเภท ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 5. เด็กใช้เกณฑ์ต่างชนิดกัน ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีลักษณะแตกต่างกัน 6. ชนิดของเกณฑ์และโครงสร้างของประโยคที่เด็กใช้ในการจัดกลุ่มสิ่งเร้ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01
The purpose of this research was to study the develop¬ment of cognitive equivalence of Thai children by considering the basis on which they classified thing equivalents and the syntax or structure of the categories they form. Two hundred and sixty four subjects were selected by mean of multistage stratified random sampling. Subjects included boys and girls from Prathom Suksa I to Mathayom Suksa 5, ages from six to sixteen. There were six boys and six girls in each age group. 132 subjects came from two schools in the metropolitan area : 66 girls from Mater Dei school and 66 boys from Bangkok Christian College school. The other 132 subjects came from two rural schools : 84 boys and girls from Ban-pa-co school and 48 boys and girls from Kumpawapi school. The instruments utilized for this research were three kinds of stimuli : verbal material, pictures and geometrical pictures. Children were tested individually being asked to classify things by categories and to identify how these things were similar. Data were classified according to the content and the structure used in grouping equivalences. Contents of grouping were devided according to the type of attributes on which equivalent judgements were based : perceptual equivalence, functional equivalence and nominal equivalence. The structures of the groupings formed by children were devided into three general groupings structures : superordinate, complexive and thematic. Raw data were then transformed into percentages. The Chi-square and the Fisher's exact probability tests were utilized in testing significance of difference and interaction. Analysis of the content used in grouping equivalences of the three different materials was made through the interval estimate about proportion.
Moreover, the investigator computed the contingency coefficient (C) to find the relation between the content and the structure used in grouping equivalences. Findings : 1. Children with different ages used content and structure in grouping equivalences differently, significant at the .01 level. 2. Urban and rural children at all age levels did not use content differently in grouping equivalences, significant at the .05 level, except for rural children aged nine and ten who used more perceptual equivalences for pictures and verbal materials than urban children. 3. Urban and rural children at all age level5did not use grouping structures differently, significant at the .05 level, except for rural children aged ten who used more complexive grouping structures for pictures and verbal materials than urban children. 4. Boys and girls did not use content and structure differently in grouping equivalences, significant at the .05 level. 5. Children used different contents in grouping equivalences of different kinds of materials. 6. There was a relationship between the content and the structure used in grouping equivalences, significant at the .01 level.


SUBJECT

  1. พัฒนาการของเด็ก
  2. ความคิด