Authorวิไลวัจส์ กฤษณะภูติ
Titleผลการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล ที่มีต่อการบำบัดรักษา / วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ = The effect of social work practices in general hospital on medical treatment /Wilaiwat Grisanaputi.
Imprint 2520
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25878
Descript ก-ฏ, 176 แผ่น ; 27 ซม

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้ ผู้ศึกษามุ่งจะศึกษาหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาความต้องการและทัศนคติของผู้มารับการสงเคราะห์ ศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์ที่จะเอื้อต่อการบำบัดรักษา และศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของบุคลากรที่มีต่องานสังคมสงเคราะห์ตลอดจนศึกษาถึงผลการปฎิบัติงานสังคมเคราะห์ในโรงพยาบาลที่มีต่อการบำบัดรักษา ข้อมูลที่ใช้ในวิทยานิพนธ์นี้ เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่มารับการสงเคราะห์ จากแผนกสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลขอนแก่น และจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่มารับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และเป็นข้อมูลที่ได้จากบุคลากรทางการแพทย์ของทั้งสองโรงพยาบาล มีผู้ป่วยที่ตอบคำถามโรงพยาบาลละ 114 ราย บุคลากรของทั้งสองโรงพยาบาลตอบคำถามจำนวนทั้งสิ้น 180 ราย ซึ่งเป็นการตอบคำถามมากกว่าร้อยละ 80 และเป็นคำถามที่แสดงถึงทัศนคติของบุคลากรที่มีต่องานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง นอกจากนี้ผู้ศึกษายังได้สัมภาษณ์นักสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลขอนแก่นอีกด้วย ผลจากการศึกษาปรากฏว่า ผู้มารับการสงเคราะห์ที่โรงพยาบาลขอนแก่นประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์จิตใจ มากกว่าผู้ป่วยโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ แต่หลังจากที่ได้รับบริการด้านสังคมสงเคราะห์จากนักสังคมสงเคราะห์แล้ว ปรากฏว่าปัญหาต่างๆ ของผู้ป่วยโรงพยาบาลขอนแก่น ได้ลดลงมากกว่าปัญหาของผู้ป่วยโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลช่วยขจัดและผ่อนคลายปัญหาด้านต่างๆ ของผู้ป่วยให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างยิ่ง ทัศนคติของบุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่น มีความเห็นว่า การปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์เท่าที่เป็นอยู่ เป็นที่ชื่นชอบและพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง บุคลากรเหล่านี้ได้กล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านต่างๆ ซึ่งมีผลมาจากการบำบัดรักษาอย่างไม่เพียงพอนั้น ก็ได้ส่งไปพบกับนักสังคมสงเคราะห์เป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 เพื่อช่วยให้การบำบัดรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น บุคลากรมีความเห็นด้วยว่า ควรเพิ่มนักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลขอนแก่น เพื่อช่วยงานในโรงพยาบาลต่อไป บุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ซึ่งไม่มีบริการสังคมเคราะห์นั้น ก็ได้แสงความเห็นและทัศนคติที่จะให้มีนักสังคมสงเคราะห์เช่นเดียวกัน โดยสรุป นักสังคมสงเคราะห์สามารถช่วยขจัด และผ่อนคลายปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมอารมณ์จิตใจ ของผู้ป่วย ผู้มารับการสงเคราะห์โรงพยาบาลขอนแก่น สามารถให้ความร่วมมือกับบุคลากรได้ดีกว่าผู้ป่วยโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ย่อมเป็นประจักษ์พยานอย่างแน่ชัดที่จะพิสูจน์ว่า การมีนักสังคมสงเคราะห์คนหนึ่งหรือมากกว่า ช่วยปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลนั้น ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง โดยที่นักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่ในฐานะเป็นบุคลากรคนหนึ่งของคณะผู้ทำงานร่วมกัน ผู้ศึกษาเสนอแนะให้โรงพยาบาลขอนแก่นเพิ่มนักสังคมสงเคราะห์อีก และเสนอให้มีบริการสังคมสงเคราะห์ขึ้นในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ต่อไป
The purposes of this thesis are to identify and to analyse problems, needs and attitudes of the clients; to study a social worker’s treatment role, to find out the attitudes of the staff in the hospital toward social work and to study the effect of social work practices in the hospital on medical treatment. The data used in the thesis are collected from two primary sources : clients asking for help from the Department of Social Work in Khon Kaen Hospital and the Kalasin Hospital and members of the medical staff in both hospitals. There are 114 patient respondents from each hospital and 180 respondents from the latter group. Questionnaires filled by more than 80 percent of the personnel in both hospitals provided useful information showing their attitudes toward the characteristics of social work in the two hospitals. In addition, the writer interviewed a social worker concerning her daily practice in Khon Kaen Hospital. It has been found in this study that the clients of Khon Kaen Hospital are facing more economic, social and emotional problems than the patients in Kalasin Hospital. Having obtained certain social services from social worker, the problems among the patients in Khon Kaen Hospital have been reduced substantially compared to their counterparts in Kalasin Hospital. It is proved that social work practices in the hospital could be of great help in reducing the clients’ problems. In Khon Kaen Hospital, the medical staff’s attitudes toward the existing social work practices is quite favorable. They said that more than 90 percent of the problems which resulted from insufficient medical treatment were being handled effectively by their social workers. They also welcome an increase in the numbers of social workers to help in their work. The medical staff at Kalasin Hospital where social services are not made available also expressed the same opinion and attitudes. In conclusion, the social worker could help reduce or even eliminate most of the client’s economic, social and emotional problems. The clients in Khon Kaen Hospital cooperate more with the medical staff than their counterparts in Kalasin Hospital. This gives direct evidence to prove that any hospital will substantially benefit from having employed one or more social workers as a helping hand for its medical staff. The writer recommends that the number of social workers in Khon Kaen Hospital be expanded and social services be established in Kalasin Hospital.


SUBJECT

  1. สังคมสงเคราะห์

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวส 73 LIB USE ONLY
Political Science Library : Thesisวส 73 CHECK SHELVES