Authorปานทิพย์ ศุภนคร
Titleปัญหาความชั่วร้ายในปรัชญาคริสต์ / ปานทิพย์ ศุภนคร = The problem of evil in christian philosophy / Pantip Supanakorn
Imprint 2517
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24241
Descript ก-ฑ, 209 แผ่น

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายประการแรกเพื่อศึกษาความหมายของคำว่า “ความชั่วร้าย” (Evil) ตามคำสอนของศาสนาคริสต์ ค้นคว้าหาสาเหตุที่ทำให้ปัญหา “ความชั่วร้าย” กลายมาเป็นปัญหาสำคัญสำหรับศาสนาคริสต์ ประเมินความสำคัญของปัญหา “ความชั่วร้าย” ในศาสนาคริสต์ ประการที่สอง เพื่อศึกษาวิธีการแก้ปัญหา “ความชั่วร้าย” ดังกล่าวของนักปรัชญาคริสเตียน วิธีวิจัย วิธีที่ใช้ในการวิจัยนี้ก็คือ ค้นคว้าจากหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ (1) เอกสารชั้นต้น (Primary Sources) ซึ่งหมายถึงข้อเขียนของนักปรัชญาคริสเตียนเอง (2) เอกสารขั้นรอง (Secondary Sources) ซึ่งหมายถึงข้อเขียนของนักวิจารณ์ต่าง ๆ สรุปผลการวิจัย ผลของการค้นคว้าสรุปได้ดังนี้ “ความชั่วร้าย” หมายถึงสภาพที่ปุถุชนไม่พึงปรารถนา สภาพที่ปุถุชนเกลียดชังและต้องการหลีกเลี่ยง ทั้งนี้ศาสนาคริสต์ได้แบ่ง “ความชั่วร้าย” ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ (1) ความชั่วร้ายทางศีลธรรมหรือบาป (Moral evil or sin) หมายถึง การกระทำบาปของมนุษย์ด้วยการไม่เชื่อฟังและไม่ศรัทธาในพระเจ้า (2) ความชั่วร้ายทางกายภาพ (Physical evil) หมายถึงธรรมชาติอันหฤโหดของจักรวาล อันสืบเนื่องจากการที่พระเจ้าทรงลงโทษมนุษย์ที่ทำบาป (3) ความชั่วร้ายทางอภิปรัชญา (Metaphysical evil) หมายถึงลักษณะอันจำกัดของมนุษย์อันสืบเนื่องมาจากการเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ได้แก่ลักษณะของความไม่เที่ยงลักษณะของการขาดความรู้ที่สมบูรณ์ เป็นต้น “ความชั่วร้าย” กลายมาเป็นปัญหาสำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งสำหรับศาสนาคริสต์ก็เพราะการมีอยู่ของความชั่วร้ายย่อมขัดแย้งกับคำสอนสำคัญของศาสนาคริสต์ก็เพราะการมีอยู่ของความชั่วร้ายย่อมขัดแย้งกับคำสอนสำคัญของศาสนาคริสต์ในเรื่องพระเจ้าและธรรมชาติของพระองค์ กล่าวคือ ศาสนาคริสต์ในฐานะเป็นศาสนาเอกเทวนิยม ย่อมมีคำสอนหลักว่า มีพระเจ้าผู้ทรงสรรพฤทธิ์เพียงพระองค์เดียว แต่ทว่าถึงแม้พระเจ้าทรงมีอำนาจอันสมบูรณ์และเด็ดขาด พระเจ้าก็ไม่ทรงโหดร้าย ทั้งนี้เพราะพระเจ้ายังทรงมีความดีสูงสุด ซึ่งหมายความว่าพระเจ้าทรงมีน้ำพระทัยที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความเมตตาอย่างไม่มีใครเสมอเสมือน อีกทั้งพระเจ้าทรงเป็นสัพพัญญูด้วย นอกจากนี้ศาสนาคริสต์ยังมีคำสอนอีกด้วยว่าพระเจ้าทรงเนรมิตโลกขึ้นจากความว่างเปล่า (Nothingness)
ตามน้ำพระทัยของพระองค์จากคำสอนเรื่องพระเจ้าของศาสนาคริสต์ดังกล่าว ในฐานะที่พระเจ้าทรงสรรพฤทธิ์ พระเจ้าย่อมทรงสามารถสร้างให้จักรวาลปราศจากความชั่วร้ายได้ ถ้าพระองค์ทรงปรารถนาจะให้เป็นไปเช่นนั้น ในฐานะที่พระเจ้าทรงความดีสูงสุด พระเจ้าย่อมทรงรักและเมตตาต่อมนุษย์ พระองค์จึงมิทรงปรารถนาให้มนุษย์เผชิญกับความยากลำบากใด ๆ ทั้งสิ้น และในฐานะที่พระเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู พระองค์ย่อมทรงสามารถรู้ล่วงหน้าว่ามนุษย์จะกระทำบาปต่อพระองค์อันเป็นเหตุให้มนุษย์ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไรบ้างในภายหลัง พระองค์จึงทรงสามารถหาทางป้องกันมิให้มนุษย์กระทำบาปได้ ดังนั้นในฐานะที่จักรวาลและมนุษย์ถูกสร้างโดยพระเจ้าผู้ทรงสรรพฤทธิ์ ผู้ทรงความดีสูงสุด และผู้ทรงเป็นสัพพัญญู จักรวาลนี้น่าจะปราศจากซึ่งความชั่วร้ายใด ๆ ทั้งสิ้น และมนุษย์ก็มิควรจะเผชิญกับความชั่วร้ายใด ๆ เลย แต่ทว่าการณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ มนุษย์ยังคงประจักษ์ชัดถึงความชั่วร้าย ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติแห่งความจำกัดของตนเอง หรือว่าความชั่วร้ายทางศีลธรรมของมนุษย์ หรือว่าธรรมชาติอันโหดร้าย ด้วยเหตุดังกล่าว ความชั่วร้ายจึงกลายมาเป็นปัญหาสำคัญมากสำหรับศาสนาคริสต์ปัญหาดังกล่าวมิเพียงแต่ต้องการคำตอบสำหรับขจัดข้อสงสัยของปุถุชนที่ว่า ทำไมมนุษย์ต้องเผชิญกับความชั่วร้าย แต่ทว่าเป็นปัญหาที่แฝงข้อข้องใจที่ว่า ทำไมมนุษย์ต้องเผชิญกับความชั่วร้าย ทั้ง ๆ ที่พระเจ้าผู้ทรงสร้างจักรวาลและมนุษย์ เป็นผู้ทรงสรรพฤทธิ์ เป็นผู้ทรงความดีสูงสุด และเป็นผู้ทรงสัพพัญญู หรือว่าพระเจ้าไม่ทรงสรรพฤทธิ์จริง หรือว่าพระเจ้าไม่ทรงความดีจริง หรือว่าพระเจ้าไม่ทรงเป็นสัพพัญญูจริง ซึ่งล้วนเป็นทัศนะที่ขัดกับคำสอนหลักของศาสนาคริสต์ ในฐานะเป็นศาสนาเอกเทวนิยมทั้งสิ้น ดังนั้นปัญหาความชั่วร้ายในปรัชญาคริสต์จึงมีลักษณะพิเศษกว่าปัญหาความชั่วร้ายโดยทั่วไป อีกทั้งมีความสำคัญสำหรับคริสต์ศาสนิกชนอย่างยิ่งด้วย ทั้งนี้เพราะคริสตศาสนิกชนก็เหมือนปุถุชนอื่น ๆ ย่อมไม่สามารถปฏิเสธความจริงของความชั่วร้ายที่เขาเผชิญได้ ขณะเดียวกันเขาย่อมไม่ปรารถนาปฏิเสธคำสอนเรื่องพระเจ้าและธรรมชาติของพระองค์ นักปรัชญาคริสเตียนจึงต้องพยายามหาทางอธิบายให้ความชั่วร้ายเข้ากันได้กับคำสอนเรื่องพระเจ้าเป็นประการสำคัญ เพื่อขจัดข้อข้องใจดังกล่าว จากการศึกษาการแก้ปัญหาความชั่วร้ายดังกล่าวของนักปรัชญาคริสเตียน 8 ท่าน ผู้เขียนพบว่า
การแก้ปัญหาของนักปรัชญาสามารถแบ่งได้เป็นสองแนว ดังนี้ (1) แนวการแก้ปัญหาแบบออกัสติเนียน (The Augustinian Type of Solution) (2) แนวการแก้ปัญหาแบบไอเรเนียน (The Irenaean Type of Solution) ผู้เขียนพบว่า การแก้ปัญหาความชั่วร้ายของทั้งสองแนวมีลักษณะที่สำคัญเหมือนกันคือ นักปรัชญามิได้ปฏิเสธความจริงของความชั่วร้ายโดยถือว่าความชั่วร้ายเป็นมายา แต่สิ่งที่นักปรัชญาพยายามกระทำก็คือ ชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วความชั่วร้ายหาใช่สิ่งที่มนุษย์พึงรังเกียจหรือหลีกเลี่ยงแต่ประการใด แต่ความชั่วร้ายเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์สำหรับมนุษย์และจักรวาลเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทัศนะดังกล่าวเป็นทัศนะของผู้มองโลกในแง่ดี การแก้ปัญหาของนักปรัชญาดังกล่าวจึงประสบผลสำเร็จในแง่ของการสามารถลดความขัดแย้งระหว่างความมีอยู่จริงของความชั่วร้ายและคำสอนเรื่องพระเจ้าของศาสนาคริสต์ได้ คริสต์ศาสนิกชนจึงมิต้องเลือกระหว่างการปฏิเสธความชั่วร้ายเพื่อรักษาศรัทธาในพระเจ้า และลดความศรัทธาในพระเจ้าเพื่อรักษาความเป็นจริงของความชั่วร้าย คริสต์ศาสนิกชนจึงสามารถรักษาทัศนะทั้งสองไว้ได้โดยมิต้องทิ้งทัศนะใดไป คริสต์ศาสนาจึงมั่นใจว่าสามารถหาทางออกสำหรับปัญหาความชั่วร้ายได้ ปัญหาความชั่วร้ายจึงมิได้เป็นปัญหาที่คนนอกจะยกขึ้นโจมตีศาสนาคริสต์จนหาทางออกมิได้ ข้อเสนอแนะ การแก้ปัญหาของนักปรัชญาคริสเตียนที่ผู้เขียนทำการศึกษายังมิใช่ข้อยุติสำหรับปัญหาความชั่วร้ายแต่ประการใด คริสต์ศาสนิกชนหรือบุคคลผู้สนใจอื่น ๆ ย่อมสามารถแสวงหาคำตอบที่ตนพอใจได้อีก โดยอาศัยแนวการแก้ปัญหาของนักปรัชญาที่ผู้เขียนศึกษาและนำมาเสนอ ทั้งนี้เพราะไม่มีข้อยุติสำหรับปัญหาของปรัชญาไม่ว่าในปัญหาใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีแนวปรัชญาใหม่เกิดขึ้นก็มักจะเป็นลู่ทางให้เกิดปัญหาและคำตอบใหม่ในเรื่องนี้ตามาด้วยเสมอผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าในประเด็นปัญหาดังกล่าวต่อไป
Purposes: The purposes of this research are, firstly, to study the meaning of “Evil” in Christian religion, to study why “Evil” becomes one of the most important problems in Christian religion and to evaluate the importance of the problem; secondly, to study the solutions of the problem proposed by the Christian philosophers. Procedures: The author collected data from books and other printed materials concerning the problem, which can be divided into two types: (1) Primary Sources which are the writings of the philosophers themselves; (2) Secondary Sources which are the writings of the commentators. Conclusion: “Evil” means what man does not desire, what man hates and tries to avoid. There are three kinds of evil in Christian religion. (1) Moral evil or sin. This kind of evil is the sin of man against his God, by not believing in Him or lacking faith in Him. (2) Physical evil. This kind of evil is the cruel aspect of the universe believed to be the punishment from god for man’s sin. (3) Metaphysical evil. This kind of evil is the finiteness of man as a creature. The finiteness of man is his mortality, his ignorance, etc. “Evil” becomes one of the most important problem of Christian religion, because the existence of evil is inconsistent with the Christian doctrine of God’s nature. The Christian religion, as a monotheistic religion, has the fundamental doctrine that there is only one omnipotent God who created all things. Anyway, He is not cruel, because He is not only omnipotent, but also benevolent. Moreover, God is omniscient and takes care of everything in the universe. Therefore, as the Omnipotent, He can create a perfect universe without any taint of evil; as the Benevolent, He must love man and desire that man face on evil; as the omniscient, He can foreknow man’s sin, so He must prevent it. Accordingly, man and his universe, as the creatures of an omnipotent, benevolent and omniscient God, should face no evil at all. In fact, man faces it; the universe is full of cruel events; man sins; man dies and is ignorant. Why? Why is the universe full of troubles in spite of God’s infinite power? Why does man suffer so much in spite of God’s infinite kindness? Why does man sin so frequently in spite of God’s infinite wisdom? Or otherwise, is not God really omnipotent?; is not God really good?; is not God really omniscient?; these are all impossible view-points for the Christians, because they are inconsistent with the doctrine of God. Christianity, therefore, is inescapable from the challenge of the problem of evil. The problem of evil is very important for the Christians, because they can not reject the doctrine of their religion, nor can they reject the fact of evils they face in everyday life. The problem of evil in Christian philosophy, therefore, consists in reconciling the seemingly contradictory factors in Christian life. Having studied the solutions of the eight Christian philosophers, the author found out that there are two types of solutions. They are: (1) the Augustinian type, (2) the Irenaean type. Both types of solution have one common feature: such philosophers do not persuade the Christians to reject the fact of evils, but to accept them as they are. What they try to do is to persuade with many reasons that man should not hate nor avoid evils. They are, in fact, necessary and useful for man and the universe. This is the view-point of the optimists. Their solutions are successful in the sense that they can solve the contradiction between the fact of evils and the doctrine of God. Anyone needs not leave out any requirement; he needs not reject the fact of evils in order to be a Christian; he needs not reject Christianity in order to be sincere to fact. Therefore, the Christian doctrine is not weakened by the problem of evil nor the fact of evils, because God and evils are not really in conflict. Suggestions: The solutions of the problem studied are not final. Therefore, a Christian or anyone who is interested in this problem should do further researches to find more satisfied solution or solutions, because, as we know there is no universal consent for a philosophical problem. A new prospect in philosophy usually leads to a new aspect of this problem too. Therefore, this interesting problem should be encouraged to more study.


LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. ปรัชญา LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. ปรัชญา CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. ปรัชญา CHECK SHELVES