Authorวรรณี ศิริสุนทร
Titleการวิเคราะห์หนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กฉบับชนะการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520-พ.ศ. 2523 / วรรณี ศิริสุนทร = An analysis of the Thai award-winning books for children from 1977 to 1980 / Vannee Sirisunthorn
Imprint 2527
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21004
Descript ก-ณ, 202 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์หนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กชนะการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520-พ.ศ.2523 จำนวน 46 เรื่อง ทั้งทางด้านเนื้อหา ภาพประกอบ และการใช้ภาษา โดยการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ผู้วิจัยได้กำหนดขึ้น และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กที่มีต่อหนังสือที่ได้รับรางวัล วิธีดำเนินการศึกษาวิจัย คือ 1. สร้างเกณฑ์ทางวิเคราะห์และแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็ก โดยการศึกษาจากตำราและเอกสารอ้างอิงต่างๆ 2. โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหนังสือสำหรับเด็กจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการวิเคราะห์ในครั้งนี้ 3. เขียนบรรณนิทัศน์หนังสือสำหรับเด็ก 46 เรื่อง 4. ทำการวิเคราะห์หนังสือเหล่านั้น และให้ค่าระดับคะแนนตามเกณฑ์ด้านเนื้อหา ภาพประกอบ และการใช้ภาษาผลการวิเคราะห์มีดังต่อไปนี้ หนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กเริ่มหัดอ่าน (ระดับอนุบาล) ประเภทบันเทิงคดีจำนวน 13 เรื่อง มีเนื้อหาส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี มีภาพประกอบอยู่ในระดับดีและดีมากใกล้เคียงกัน และมีการใช้ภาษาอยู่ในระดับดีมากที่สุด เมื่อพิจารณาทั้งสามด้านปรากกฎว่ามีหนังสือที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 5 เรื่อง และอยู่ในระดับดี 8 เรื่อง หนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กระดับประถมศึกษา ประเภทบันเทิงคดี 17 เรื่อง มีเนื้อหา ภาพประกอบ และการใช้ภาษา อยู่ในระดับดี มากที่สุด เมื่อพิจารณาทั้งสามด้านปรากฏว่ามีหนังสือที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2 เรื่อง และ อยู่ในระดับดีมาก 15 เรื่อง หนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ระดับเด็กก่อนวัยรุ่น) ประเภทบันเทิงคดี จำนวน 9 เรื่อง และสารคดี 7 เรื่อง มีเนื้อหา ภาพประกอบ และการใช้ภาษา อยู่ในระดับดี มากที่สุด เมื่อพิจารณาทั้งสามด้านปรากฏว่าหนังสือที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากเพียง 1 เรื่อง (สารคดี) และอยู่ในระดับดี 15 เรื่อง (บันเทิงคดี 9 เรื่อง, สารคดี 6 เรื่อง) ผลการวิเคราะห์ตามเกณฑ์เนื้อหา ภาพประกอบ และการใช้ภาษา ของผู้วิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับความคิดเห็นของเด็กเกือบทุกเรื่อง ข้อเสนอแนะ 1. พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ควรสนับสนุนให้เด็กอ่านหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็ก ให้มากที่สุดเท่าที่มีจะเป็นไปได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาต่างๆ มากขึ้น และส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน 2. บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชน ควรจะได้ติดตามความเคลื่อนไหวในวงการหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็ก และอาจจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่านของเด็ก เช่น จัดประกวดการเล่าเรื่องจากหนังสือ จัดนิทรรศการหนังสือสำหรับเด็ก เป็นต้น 3. หนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กในระดับเริ่มหัดอ่านควรให้มีภาพประกอบสีหลายสีเพราะเด็กๆ สนใจภาพสีหลายสีมาก และจำเนื้อเรื่องของหนังสือที่ปรากฏอยู่บนหน้านั้นๆ ได้โดยอัตโนมัติ 4. ควรให้เด็กได้เข้ามามีส่วนเริ่มแสดงความคิดเห็นในการตัดสินการประกวดหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กๆ บ้าง 5. ควรจะได้รับการวิจัยหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กฉบับชนะการประกวดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ในช่วงระยะเวลาต่อจากที่ผู้วิจัยได้ศึกษามาแล้ว 6. ควรจะได้มีการวิจัยหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็กฉบับชนะการประกวดอื่นๆ บ้าง
The objectives of this research arc to analyze the 46 titles of Thai award-winning books for children from 1977 to 1980 with respect to content, illustration, and usage of language, and to study the children's point of views towards the Thai award-winning books for children. The processes of this analysis were : 1. to set the criteria for the analysis and the questionnaires by studying through various sources ; 2. to revise those criteria through the advice of three specialists in children's literature ; 3. to annotate 46 children's books ; 4. to analyze those books and assigned scores with respect to the designed scale : content, illustration, and usage of language. The results of the analysis are : Thirteen titles of fiction for the beginning readers (kindergarten) are rated as follows : most of their contents are good, their illustrations are equally good and very good, and most of their usages of language are very good. Considering the three criteria as a whole, it was found that 5 titles are rated very good and 8 titles arc rated good. Seventeen titles of fiction for the elementary pupils are as rated that most of their contents, illustrations and usages of language are good. Considering the three criteria as a whole, it was found, that 2 titles are rated Very good And 15 titles are rated good. Nine titles of fiction and seven titles of non-fiction for the secondary pupils are as rated that most of their contents, illustrations and usages of language are good. Considering the three criteria as a whole it was found that only one of the non-fiction books is rated very good and the rest are rated good. Comparing the results of this analysis to the children's point of views, they are consistent for almost all titles. Recommendations : 1. Parents, guardians and teachers should encourage children to read as many Thai children's books as possible. This will assist in promoting their knowledge and understanding of various contents and creating a habit of reading. 2. Librarians of school and public libraries should be well-informed about children's books publishing and distribution. This information will help selecting books for children. Libra- rians may hold varieties of activities to draw children's interests in reading for example : a book-talk contest and Children book exhibition. 3. Children's books for beginning readers should be colorfully illustrated as all children are attracted to the colours. Moreover, the colours help them automatically to remember the stories on the page. 4. The children should be allowed and encouraged to participate in giving their own opinions on the book contests. 5. Researches of similar nature should be done for other Thai award-winning books for children but in different period beyond this study. 6. There should be researches on other book contest events.


SUBJECT

  1. วรรณกรรมสำหรับเด็ก

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES