Authorรัตนา เตชามหาชัย
Titleการทำบัตรรายการและจัดหมู่โสตทัศนวัสดุ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย / รัตนา เตชามหาชัย = Classification of audio-visual materials in university libraries in Thailand / Ratana Techamahachai
Imprint 2528
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25160
Descript ก-ฌ, 319 แผ่น

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับคู่มือที่แต่ละห้องสมุดมหาวิทยาลัย 13 แห่ง ในประเทศไทยใช้ในการทำบัตรรายการและจัดหมู่โสตทัศนวัสดุ 2) เพื่อศึกษากฎเกณฑ์ในการลงรายการต่าง ๆ ของบัตรรายการโสตทัศนวัสดุ 3) เพื่อศึกษาปัญหาในการทำบัตรรายการ และจัดหมู่โสตทัศนวัสดุในห้องสมุดมหาวิทยาลัยดังกล่าวแล้ว และ 4) เพื่อเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการทำบัตรรายการและการจัดหมู่โสตทัศนวัสดุ สมมติฐานของการวิจัยมี 2 ประการ คือ 1) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์การทำบัตรรายการและการจัดหมู่โสตทัศนวัสดุแตกต่างกัน และ 2) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีปัญหาในงานด้านนี้ของห้องสมุดแตกต่างกัน ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์ประกอบแบบสอบถามผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการทำบัตรรายการและจัดหมู่โสตทัศนวัสดุจำนวน 14 คน ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 13 แห่ง และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ การหามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบพาค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์การทำบัตรรายการแตกต่างกันคือ ใช้ AACR 2 8แห่ง รองลงมาใช้ AACR 1 5 แห่ง ห้องสมุดบางแห่งใช้หลักเกณฑ์และคู่มือการทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุหลายเล่มประกอบกัน ระบบจัดหมู่โสตทัศนวัสดุที่ห้องสมุดทุกแห่งใช้เหมือนกัน คือ การให้รหัสหรืออักษรย่อแสดงประเภทของโสตทัศนวัสดุรวมกับเลขทะเบียนของโสตทัศนวัสดุประเภทนั้น ๆ คู่มือการให้หัวเรื่องโสตทัศนวัสดุภาษาต่างประเทศที่ห้องสมุดทุกแห่งใช้คือ คู่มือการให้หัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
ส่วนคู่มือการให้หัวเรื่องโสตทัศนวัสดุภาษาไทยที่ห้องสมุดส่วนใหญ่ใช้คือ คู่มือการให้หัวเรื่องของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยและคู่มือการให้หัวเรื่องของห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจะใช้ทั้ง 2 เล่ม ประกอบกันด้วย เนื่องจากคู่มือการให้หัวเรื่องแต่ละเล่มยังครอบคลุมเนื้อหาของโสตทัศนวัสดุไม่เพียงพอ 2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยประสบปัญหาการทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุแตกต่างกันที่ df = 22 ค่าระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 ปัญหาที่ห้องสมุดประสบมากคือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลที่ใช้ในการพรรณนาบัตรรายการและความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาหรือฝึกอบรมการทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุมีไม่เพียงพอ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยควรใช้หลักเกณฑ์ AACR 2 ในการทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุ และ ใช้รหัสหรืออักษรย่อแสดงประเภทโสตทัศนวัสดุที่ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 3 กลุ่มโสตทัศนศึกษากำหนดขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 2. ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรจัดการฝึกอบรมการทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุตามเกณฑ์ AACR 2 แก่บรรณารักษ์ที่ทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุ 3. ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มโสตทัศนศึกษาควรกำหนดแบบฟอร์มสำหรับการกรอกข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพรรณนาบัตรรายการโสตทัศนวัสดุแต่ละประเภทที่ห้องสมุดผลิตขึ้นเอง 4. ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อาจารย์ที่สอนวิชาการทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุ อาจารย์ที่สอนเกี่ยวกับวิชาโสตทัศนวัสดุ หรือนักวิชาการโสตทัศนวัสดุ ควรได้ร่วมกันกำหนดคำศัพท์ภาษาไทยที่จำเป็นสำหรับการพรรณนาบัตรรายการโสตทัศนวัสดุ 5. บรรณารักษ์ที่ทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุควรมีวุฒิการศึกษาทางบรรณารักษศาสตร์และควรมีประสบการณ์การทำบัตรรายการสิ่งพิมพ์มาก่อน 6. บรรณารักษ์ควรทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางบรรณารักษศาสตร์
The purpose of this thesis was, firstly, to study the cataloguing and classifying manuals of 13 university libraries in Thailand used for audio-visual materials, secondly, study the rules of cataloguing entries for describing audio-visual materials, thirdly, to study the problems of cataloguing and classifying audio-visual materials in the university libraries and, fourthly, to present viewpoints and recommendations for cataloguing and classifying those materials. The hypothesis which served as a guide for this study were: 1) the university libraries in Thailand used different rules in cataloguing and classifying audio-visual materials. 2) the university libraries in Thailand had different problems in this technical work. The methodology used in this study included methods of interview schedule and questionnaires completed by 14 authorities in charge of cataloguing and classifying audio-visual materials in 13 university libraries. The data gathered were analysed by using frequencies, means, standard deviation and a Chi-Square test. The condlusions drawn from the study are: 1. The university libraries in Thailand use different cataloguing rules. Eight of them use the AACR 2 and five of them use the AACR 1. Some university libraries use several cataloguing rules and manuals together for audio-visual materials. The classification method which every university library use to sort audio-visual materials are coding and accession number. The English namual for subject headings is The Library of Congress Subject Headings, while The Thai manuals which most libraries use are the manuals of Thai Library Association and Thammasat University Library, as neither of them cover enough subject headings for audio-visual materials. 2. The University libraries in Thailand face some problems in cataloguing audio-visual materials with degree of freedom at 22 and there is a significant difference at the .05 level. The problems mostly faced are the incompleteness in information for cataloguing entries and the lack of sufficient knowledge and background in this field. In summary, the following major recommendations emerged from this study are: 1. The university libraries in Thailand should use the AACR2 and code of audio-visual materials determined by Academic Librarian Group as a Standard for all university libraries in their resources sharing. 2. Academic Librarian Group should provide a training program for librarians in audio-visual materials cataloguing according to AACR2. 3. Academic Librarian Group should determine the fromat for necessary information in describing audio-visual materials that were produced by the libraries. 4. Academic Librarian Group, instructors of audio-visual materials cataloguing, instructors of audio-visual materials, or audio-visual materials academics should determine necessary technical description for the audio-visual materials cataloguing. 5. Cataloguers of audio-visual materials should have the degree in Library Science plus some experiences in printed materials cataloguing beforehand. 6. Audio-visual materials should be catalogued according to the appropriate rules in Library Science.


SUBJECT

  1. การทำบัตรรายการ
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. โสตทัศนวัสดุ
  4. Cataloging
  5. Classification
  6. Audio-visual materials

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ IN REPAIR