Authorสุภรณ์ วัชรศิริธรรม
Titleความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อของครู กับการยอมรับแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม / สุภรณ์ วัชรศิริธรรม =Relationship between teacher's communication exposure and the adoption of insturctional activity organized according to implementation guidance of the elementary schools curriculum B.E.2521 in amphoe Nakhon Chaisi, Changwat Nakhon Pathom / Suporn Wacharasiritham
Imprint 2526
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26707
Descript ก-ต, 170 แผ่น

SUMMARY

การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรระดับประถมศึกษามาใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปโครงสร้าง ระบบ และกระบวนการทางการศึกษา ตามหลักการของแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของคนในสังคม ซึ่งต้องพบกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันว่าการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างมากในกระบวนการใช้หลักสูตร และตามแนวทางใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ได้กำหนดไว้ว่า “การเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้ คือ การที่ครูและนักเรียนร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางของความสนใจ” ซึ่งกำหนดไว้ค่อนข้างชัดเจนว่าการใช้หลักสูตรที่แล้วๆ มา อาจถือว่าแนวคิดในหลักสูตรเป็นความคิดใหม่ แนวปฏิบัติใหม่ หรือนวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องเผยแพร่ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูประจำการซึ่งเป็นผู้ที่จะทำให้การใช้หลักสูตรมีผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง การยอมรับนวัตกรรมดังกล่าวในขั้นลงมือปฏิบัติซึ่งจะมีผลไปถึงผู้เรียนโดยตรงน่าจะเป็นดัชนีที่สำคัญ (key indicator) อย่างหนึ่งที่จะบอกได้ว่าการใช้หลักสูตรมีผลเพียงใด นวัตกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและรวดเร็วให้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศ ทั้งในชนบทและเขตเมือง โดยอาศัยเครื่องมือและวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การสื่อสาร (Communication) ถ้ามีการมานิเทโศบาย (Communication Strategy) ไปใช้ในการวางแผน และมีการเลือกใช้สื่อแต่ละชนิดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างของสังคมและเป็นไปตามขั้นตอน อันเป็นการนำหลักการของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศหรือนิเทศศาสตร์พัฒนาการ (Development Communication) มาใช้ ก็อาจจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้งานที่มีขอบเขตกว้างขวางบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และมีสัมฤทธิผลมากขึ้น การวิจัยเรื่องนี้ต้องการค้นคว้าสื่อและปัจจัยที่เป็นสถานภาพที่มีความสำคัญต่อการยอมรับของครูต่อการยอมรับนวัตกรรม โดยอาศัยแนวความคิดและทฤษฎีทางการสื่อสารนวัตกรรม (Communication of Innovation) และตั้งสมมติฐานไว้ว่า 1. การเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรม
2. สถานภาพของผู้รับนวัตกรรม ได้แก่ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน มีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 320 คน เลือกสุ่มอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จากครูประจำการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม และศึกษาเพิ่มเติม โดยวิธีการสังเกตอย่างมีระบบ (systematic observation) จากตัวอย่าง 30 ตัวอย่าง จากจำนวน 320 ดังกล่าว ที่ทำการสอนในกลุ่มโรงเรียนกลุ่มนครชัยศรี และกลุ่มบางแก้ว รวม 10 โรง แล้วนำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ Pearson Product-Moment Correlation Coefficients การวิเคราะห์ Stepwise procedure ค่าสหพันธ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) และการทดสอบ x² สรุปผลการวิจัย การเปิดรับสื่อของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง การเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ มีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกัน การเปิดรับสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมมากที่สุด รองลงมา คือ การเปิดรับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคล ตามลำดับ สื่อมวลชนจึงเป็นสื่อที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้เพื่อการเผยแพร่นวัตกรรมในสังคมที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านทางสังคมมากกว่าสื่อประเภทอื่น การเปิดรับสื่อแต่ละประเภทมีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมของกลุ่มตัวอย่างไม่มาก แต่เมื่อรวมการเปิดรับสื่อทุกประเภท พบว่า มีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมของกลุ่มตัวอย่างพอสมควร ปัจจัยที่เป็นสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อน้อย วุฒิการศึกษามีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมมากที่สุด ส่วนอายุและประสบการณ์ในการสอน
มีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรม รองลงมา แต่อายุมีความสัมพันธ์เป็นปฏิภาคกลับการยอมรับนวัตกรรม มีแนวโน้มว่าผู้ที่มีอายุมากจะรับนวัตกรรมน้อยลง ส่วนการศึกษาสภาพการเปิดรับสื่อตามขั้นตอนตามแบบจำลองกระบวนการตัดสินรับนวัตกรรมในขั้นตอนต่างๆ คือ ขั้นความรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ และขั้นการยืนยัน ในการรับนวัตกรรม พบว่า การเปิดรับสื่อตามขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่เป็นสถานภาพ แต่ได้พบแนวโน้มว่า ในขั้นตอนของความรู้ ผู้มีวุฒิการศึกษาจะเปิดรับสื่อมากขึ้น และในขั้นการยืนยัน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอนจะเปิดรับสื่อมากขึ้นด้วย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยอมรับนวัตกรรมน้อย ผลการศึกษากลุ่มผู้รับนวัตกรรมมาก ผู้รับนวัตกรรมปานกลาง และกลุ่มผู้รับนวัตกรรมน้อย ยอมรับนวัตกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามและการสังเกต ปรากฏว่า สอดคล้องกัน กล่าวคือ กิจกรรมทุกกิจกรรมตามแนวการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ซึ่งถือเป็นนวัตกรรม มีผู้ยอมรับขั้นลงมือปฏิบัติทุกกิจกรรม แต่บางกิจกรรมมีผู้ยอมรับน้อย ซึ่งน่าจะต้องมีการรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ ให้มีผู้ยอมรับโดยลงมือปฏิบัติให้มากขึ้น
To change from former Elementary Curriculum to the Present Curriculum B.E. 2521 is a part of reformation of education structure, system and process to comply with the National Scheme of Education B.E. 2520 in order to serve people who have to survive in the present economic and social crisis. It is generally accepted that learning and teaching are very important activities in the process of curriculum implementation. The implementation of the Elementary School Curriculum B.E. 2521 designated that “Learning and teaching according to this Curriculum is that teachers and students conduct the learning activities together on child centered basis”. This new curriculum might be considered as new educational idea or innovation that has to be diffused to authorities and people who deal with the implementation of this curriculum, especially, the teachers in-service who use the curriculum. Such adoption at this level which will effect directly the student behavior should be one of the key indicators of how effectively and efficiently the curriculum was implemented. This educational innovation has to be diffused extensively and rapidly to the target group who works in all over the country by using efficient communication techniques. This research aims at finding the most import medium for effective and efficient innovation diffusion and adoption and there were the relationship between levels of innovation adoption and the demographic variables. The hypothesis are as follows 1. There were relationships between media (mass, specific and interpersonal) exposure and innovation adoption.
2.There were relationships between demographic variables and adoption of innovation. A sample of 320 teachers was selected by purposive sampling technique from 571 in-service teachers in the elementary schools of the Office of the National Primary Education Commission in Amphoe Nakhon Chaisi, Changwat Nakhon Pathom. Data were collected by means of mailing questionnaires and systematic observation technique to observe 30 cases cut of the same group of 320 teachers who are teaching in 10 schools of Nakhon Chaisi School Group and Bangkaew School Group to confirm and assure that in real practice the new curriculum learning activities have been adopted. The data were processed by SPSS computer program using various statistical techniques : Pearson Product-Moment Correlation Coefficients, Stepwise Regression and x² test to analyze the data. Findings 1. Most teachers were exposed to communication media at medium level. 2. Mass media exposure was significantly related to the adoption of innovation the most, followed by the specific media and personal media exposure respectively. In other word mass media is the most appropriate media for diffusion of innovation in transitional society. 3. Almost all teachers’ demographic data were significantly related to the adoption of innovation at very low level, except, educational background. There was a tendency that those who have high educational background would adopt more the innovation. 4. There was no correlation between demographic variables and media exposure at stages of the knowledge, persuasion, decision and confirmation. However, there was a tendency that at the stage of knowledge, those who were highly educated would expose more to the media. At the stage of confirmation, there was a tendency that those who have more teaching experience would expose more to media. The data collected from questionnaires and systematic observation technique were consistent, that is all activities according to guidance for implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 which are considered as innovation were adopted at teaching level but some activities were adopted by only few teachers. Hence there should be much more campaign to motivate these teachers to adopt more of these activities.


SUBJECT

  1. สื่อมวลชนกับการศึกษา
  2. International relations

LOCATIONCALL#STATUS
Communication Arts Library : Thesis55 (CD) LIB USE ONLY