Authorชวน เพชรแก้ว
Titleการวิเคราะห์และเลือกผลงานของนักเขียนบทร้อยกรองร่วมสมัย มาใช้ในการสอนแต่งคำประพันธ์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ชวน เพชรแก้ว = Analysis and selection of Thai verses in teaching versification at the upper secondary education level / Chuan Petkaew
Imprint 2519
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25555
Descript ก-ฐ, 264 แผ่น

SUMMARY

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและวิเคราะห์บทร้อยกรองร่วมสมัยในด้านแนวความคิด และกลวิธีในการเขียน เพื่อที่จะนำผลที่ได้มาเสนอในการปรับปรุงการเรียนการสอนแต่งคำประพันธ์ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้เหมาะกับยุคสมัยยิ่งขึ้น วิธีดำเนินการค้นคว้าและวิจัย 1. นำผลการค้นคว้าเกี่ยวกับบทร้อยกรองเด่นๆของนักเขียนบทร้อยกรองร่วมสมัย ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของนางสาวนัยนา สุทธิธรรม มาคัดเลือกนักเขียนบทร้อยกรองร่วมสมัยสืบต่อไป 2. สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับนักเขียนบทร้อยกรองร่วมสมัย โดยมีตัวอย่างผลงานของนักเรียนประกอบให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 ท่านซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนภาษาไทย ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย ฯลฯ แสดงความคิดเห็น และให้อันดับความเชื่อถือที่มีต่อนักเขียนบทร้อยกรองร่วมสมัย 3. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อคัดเลือกนักเขียนบทร้อยกรองร่วมสมัยที่ได้รับความเชื่อถือสูงที่สุด 4 คน 4. ศึกษาวิเคราะห์บทร้อยกรองของนักเขียนทั้ง 4 คน ในด้านแนวความคิดและกลวิธีในการเขียน (ชนิดรูปแบบคำประพันธ์ และศิลปการประพันธ์) 5. เปรียบเทียบแนวความคิดและกลวิธีในการเขียนที่วิเคราะห์ได้กับนักเขียนบทร้อยกรองร่วมสมัย 4 คนซึ่งปรากฏในผลงานวิจัยของนางสาวนัยนา สุทธิธรรม 6. ศึกษาหลักสูตรการสอนแต่งคำประพันธ์ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 7. เสนอแนะวิธีสอนแต่งคำประพันธ์ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยอาศัยผลที่วิเคราะห์ได้ ผลการวิจัย 1. นักเขียนบทร้อยกรองร่วมสมัย 4 คน ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้ทรงคุณวุฒิ คือ “ทีปกร”, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, จินตนา ปิ่นเฉลียว, และ “ทวีปวร” 2. จากการวิเคราะห์บทร้อยกรองของนักเขียนร่วมสมัยทั้ง 4 คนปรากฎว่านักเขียนบทร้อยกรองทั้ง 4 คน มีแนวความคิดกว้างขวางในเรื่องต่างๆที่แตกต่างกันมาก ส่วนแนวความคิดร่วมที่มีเหมือนๆกันคือ แนวความคิดเกี่ยวกับสภาพสังคมและการเมืองและการจรรโลงสังคม ส่วนกลวิธีในการเขียน นักเขียนบทร้อยกรองทั้ง 4 คนยึดถือฉันทลักษณ์โบราณอยู่ บางคนพยายามดัดแปลงโดยไม่จำกัดคณะหรือสัมผัสที่เคร่งครัดนัก และใช้คำประพันธ์หลายชนิดมาแต่งสลับกัน ในบางบทได้นำเอาเพลงพื้นบ้าน หรือบทร้อยกรองจากวรรณคดีเก่าๆ ซึ่งมีชื่อเสียงมาผสมผสานกับความคิดใหม่ ทางด้านการใช้คำ พบว่ามีทั้งการใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา การใช้คำอ่อนหวานเลือกสรรคำอย่างประณีต การใช้คำรุนแรง หรือคำไม่สุภาพ แนวการเขียนส่วนใหญ่มีทั้งผู้แต่งในลักษณะ “ศิลปเพื่อศิลป” และ “ศิลปรเพื่อชีวิต” อย่างไรก็ตามผู้วิจัยพบว่าแง่มุมการเขียน เน้นการสะท้อนภาพสังคมและการเมือง ในแง่มุมต่างๆกว้างขวาง และลึกซึ้งยิ่งขึ้น และมีแนวความคิดหลายประการที่แตกต่างจากแนวความคิดของนักเขียน ในผลงานของนางสาวนัยนา สุทธิธรรม ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรภาษาไทย ที่เกี่ยวข้องกับการนเรียนการสอนแต่งคำประพันธ์ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และดได้เสนอแนะการสอนแต่งคำประพันธ์ในหัวข้อต่งๆ คือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบทร้อยกรอง และการดำเนินการสอนแต่งบทร้อยกรองโดยเน้นการเตรียมคำ การศึกาแนวความาคิดของนักเขียนบทร้อยกรองที่มีชื่อเสียง การลำดับแนวความคิด การเลือกฉันทลักษณ์ให้สัมพันธ์กับเนื้อหาที่นำมาแต่ง การใช้ถ้อยคำในบทร้อยกรอง การขึ้นต้นบทร้อยกรอง การจบบทร้อยกรอง การตั้งชื่อเรื่อง กิจกรรมและอุปกรณ์การสอนและการวัดผล
Purpose of the Study The purpose of this research is to analysis the contemporary Thai verse writers on their various ideas, arts and styles of writing in order to find ways and means to improve the method of teaching versification in the present upper secondary education level. Procedures On the procedures of this research, the researcher: 1. Selected the distinguish works of the contemporary Thai - verse - writers, other than the group analyzed by Miss Naiyana Suthitham. 2. Constructed the questionnaire to inquire 18 acknowledged persons such as Thai language instructors and specialists etc. to give their opinion on the contemporary verse writers together 'if with their works, ranking in the reliability order. 3. Selected the four most popular contemporary verse-writers, gained from the analytical data. 4. Studied and analyzed the works of the four selected writers in the aspects of forms and styles of writing. 5. Compared ideas, forms and styles of this contemporary group and the group analyzed by Miss Naiyana Suthitham. 6. Studied the secondary school curriculum concerning with the teaching of versification. 7. Proposed the methods of teaching versification in the secondary school level according to the result of this analysis. Results 1. The four selected Thai-verse-writers were; " Teepakorn, '' " Naowarat Pongpaiboon,” " Jintana Pinchaliew” and “Taweepworn." 2. The result of this analysis indicated that these four contemporary Thai-verse-writers were much different in their ideas of various things. However, they had similar opinions on social circumstances, politics and the way to improve our societies. They still used the tradition forms of writing. Nevertheless some had made some changes in their forms of writing for example:- using unlimited words or unstricted rhyme scheme. Some even use different kinds of versification in the same writing such as adapting the folk songs or the versification of the old literary works integrated with their new ideas. Their choices of words used in their works are widely various. There were straightness, tenderness, satire or even rudeness found in their works. Most of their works were both concerning with Arts for Art's Sake " and " Arts for Life " containing in their writing. Their writing styles also emphasized and reflected social political images in various dimensions. There were many more different ideas being discussed among this group of contemporary Thai-verse-writers other than the group, analyzed by Miss Naiyana Suthithum. Recommendation The researcher had also studied Thai language curriculum concerning with the teaching of versification writing in the secondary school and suggested on the teaching of versification in the following item:- the basic knowledge of versification, teaching procedures of the versification emphasised on selecting of the words, studying of ideas and styles of the wellknown verse-writers, arranging the order of ideas and thoughts, selecting the patterns of words according to contents, using of the verse, giving the prelude, ending of the verse, giving the title, activities and teaching aids and evaluation.