Authorสุมาลี รัตนปัญญา
Titleต้นทุนการผลิตปลาดุกเพื่อการค้า / สุมาลี รัตนปัญญา = The cost of production of freshwater catfish for commercial purposes / Sumalee Ratanapunya
Imprint 2525
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22378
Descript ก-ฑ, 117 แผ่น : แผนที่

SUMMARY

ประเทศไทยได้มีการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดมาเป็นเวลาช้านาน ปลาที่เลี้ยงกันโดยทั่วๆ ไป ได้แก่ ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน และปลานิล ในบรรดาปลาน้ำจืดเหล่านี้ปลาดุกเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมาก โดยเฉพาะปลาดุกด้าน เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่าย และระยะเวลาเพาะเลี้ยงสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับปลาชนิดอื่น นอกจากนี้ปลาดุกด้านยังเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะมีรสดีและราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับอาหารโปรตีนจากสัตว์ชนิดอื่น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตและเลี้ยงปลาดุกเพื่อการค้า โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่การเพาะพันธุ์ลูกปลา การอนุบาลลูกปลา และการเลี้ยงเป็นปลาโตในบ่อดิน โดยเลือกทำการศึกษาในท้องที่ตำบลบางเกลือ อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีการผลิต พ.ศ. 2524 และยังได้ศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ณ ภาควิชาเพาะเลี้ยง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการผลิต พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่นำหลักวิชาการเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อลดความเสี่ยงภัยจากโรคปลา การศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม เอกสาร และหนังสือ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงเงินลงทุนเริ่มแรก เงินลงทุนในปัจจุบัน ต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการเพาะเลี้ยง รวมทั้งการเปรียบเทียบต้นทุน และผลตอบแทนระหว่างการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน กับบ่อซีเมนต์ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ผลของการศึกษาการเพาะเลี้ยงปลาดุก พบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกของการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินที่ตำบลบางเกลือ อำเภอบางปะกง ซึ่งทำการเพาะเลี้ยงขนาดเนื้อที่ 90 ไร่ จะใช้เงินลงทุนเท่ากับ 753,808 บาท ถ้าจะลงทุนในปัจจุบันจะต้องใช้เงินทุนเท่ากับ 1,156,810 บาท และการทำฟาร์มเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ของภาควิชาเพาะเลี้ยง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยทำการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ขนาด 19.6 ตารางเมตร จำนวน 10 บ่อ ใช้เงินลงทุนริ่มแรกเท่ากับ 164,400 บาท ซึ่งถ้าลงทุนในปัจจุบันจะใช้เงินลงทุนเท่ากับ 165,400 บาท
การเพาะเลี้ยงปลาดุกจำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมทางภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตที่จะได้รับ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว การเพาะเลี้ยงจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร ลูกปลาจะมีเปอร์เซนต์การตายสูง และปลาดุกที่เลี้ยงจะโตช้า ดังนั้นในช่วงฤดูหนาวผู้ผลิตจะงดการเพาะเลี้ยงไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเพาะพันธุ์ลูกปลาต่อรุ่นจะใช้เวลาประมาณ 20 วัน หนึ่งปีสามารถเพาะพันธุ์ได้ 10-12 รุ่น ลูกปลาที่เพาะพันธุ์ได้เรียกว่า ปลาลูกไร ผลผลิตต่อรุ่นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 5,083,335 ตัว ราคาขายโดยเฉลี่ยต่อร้อยตัวเท่ากับ 50 บาท ส่วนต้นทุนการเพาะพันธุ์ต่อร้อยตัวเท่ากับ 0.32 บาท ปลาลูกไรสามารถนำไปอนุบาลต่อให้ได้ขนาดต่างๆ กันได้ 3 ขนาด ได้แก่ ลูกปลาคว่ำบ่อ ลูกปลาขนาด 3 เซนติเมตร และลูกปลาขนาด 5 เซนติเมตร ซึ่งจะใช้เวลาในการอนุบาล 14, 24 และ 30 วัน ตามลำดับ อัตราการรอดตายในการอนุบาลลูกปลาแต่ละชนิดคิดเป็นร้อยละ 31, 30 และ 25 ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำมาคำนวณหาต้นทุนต่อร้อยตัวได้เท่ากับ 3.01, 3.80 และ 4.97 บาท ตามลำดับ ส่วนรายได้จากจำหน่ายบ่อร้อยตัวเท่ากับ 5.20, 10.40 และ 15.60 บาท ตามลำดับ สำหรับการเลี้ยงเป็นปลาโตผู้ผลิตนิยมเริ่มเลี้ยงจากลูกปลาขนาด 5 เซนติเมตร ในกรณีที่เพาะพันธุ์และ อนุบาลลูกปลาเอง ก็จะเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงเป็นปลาโต การเลี้ยงในบ่อดินจะเสียต้นทุนต่อกิโลกรัมเท่ากับ 16.54 บาท จากการใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 5 เดือน ขายได้ราคาเฉลี่ย 25.33 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ผู้เลี้ยงได้ซื้อลูกปลาจากแหล่งอื่นมาเลี้ยงในระยะเวลา 3 เดือน จะเสียต้นทุนต่อกิโลกรัมเท่ากับ 17.68 บาท และขายได้ราคา 24 บาท เนื่องจากปลากมีขนาดเล็กกว่า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานในตลาดด้วย จะเห็นได้ว่าต้นทุนการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์จะสูงกว่าการเลี้ยงในบ่อดินเท่ากับ 1.14 บาทต่อกิโลกรัม สาเหตุก็เนื่องจากการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ใช้อาหารสำเร็จรูป และซื้อลูกปลาจากแหล่งอื่นมิได้ทำการเพาะพันธุ์เอง ส่วนกำไรสุทธิต่อกิโลกรัมถึงแม้จะน้อยกว่าการเลี้ยงในบ่อดิน แต่ก็ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นกว่า จึงทำให้เลี้ยงได้หลายรุ่นใน 1 ปี เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนจากเงินลงทุนในระยะเวลา 1 ปี ระหว่างการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ จะแสดงให้เห็นว่า ผลตอบแทนจากเงินลงทุนเท่ากับ 427.46%
และผลตอบแทนจากเงินลงทุนจากการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์เท่ากับ 47.43% แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์จะสะดวกในการควบคุมโรคปลาได้ง่ายขึ้น ปัญหาที่พบในการเพาะเลี้ยงปลาดุก คือ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง โรคระบาด และความไม่แน่นอนของราคาปลาดุกในท้องตลาด รวมถึงค่าอาหารที่มีราคาแพงมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อเสนอแนะในการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาดุกด้าน มีดังนี้ 1. ควรพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งให้ใกล้แหล่งน้ำ และมีบ่อพักน้ำเก็บไว้ใช้เมื่อ ต้องการ 2. บ่ออนุบาลลูกปลาที่ขุดควรเป็นแบบบ่อไข 3. ควรลงทุนหรือขยายกิจการ โดยเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกปลาในบ่อดินแล้วนำ 4. ลูกปลามาเลี้ยงต่อในบ่อซีเมนต์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสได้กำไรสูงขึ้นเพราะการเสี่ยงภัยจากโรคระบาด 5. รัฐควรให้ความสนับสนุนผู้เพาะเลี้ยงและผู้เลี้ยงปลาดุกทางด้านวิชาการ เช่น เทคนิคการเลี้ยง การผสมอาหาร และป้องกันโรคปลา 6. รัฐควรให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อเพื่อการผลิตในระยะสั้นแก่ผู้ผลิต 7. ควรมีการรวมกลุ่มผู้เพาะเลี้ยง เพื่อมีอำนาจในการต่อรองและช่วยเหลือระหว่างสมาชิกได้
Aquaculture has long been practiced in Thailand. The species commonly cultured are catfish (Clarias spp.), stripped catfish (Pangasius striatus), snakehead fish (Ophiocephalus striatus) and tilapia (Sarothero-don niloticus). Among these species, catfish (Clarias batrachus), has been particularly popular because it is easy to culture, fast growing, and the crop turn-over time is relatively short when compares to other species. Moreover, there is a strong demand for catfish because it is tasty and the price is relatively low comparing to other sources of animal protein. The objective of this thesis was to study cost and return of commercial catfish production starting from seed fish operations to grow-out fish culture in the earth ponds. The study was carried out in Tambon Pang Klua, Amphoe Bang Pa Kong of Changwat Chacherng sao in 1981. In addition, cost and return of catfish culture in concrete tanks of Department of Aquaculture, Faculty of Fisheries, Kasetsart University during the same period were also investigated. This new method of cultivation has reduced risk caused by disease. Primary data were obtained from the farmer of the farm investigated and secondary data were reviewed from literatures in order to analyze capital investment at the beginning of the operation, present investment and cost and return of seed stock operations. Cost and return of grow-out catfish culture in earth ponds and concrete tanks were compared. Finally, problems confronting fish farmers were also studied. The result of the study indicated that seed stock operations in the area of 90 rai started with the capital investment of baht 753,808 or at the present investment of baht 1,156,810 while the capital investment of 10 concrete tanks cost 164,400 or baht 165,400 if constructed at present.
A successful seed stock operation requires proper circumstances and climate. Farmers usually stop operating for a few months during winter time because of high mortality rate and slow growth. It takes 20 days to produce on crop of larvae with the average of 10 to 12 crops per year. On the average, the farm investigated produces 5,083,335 units of larvae per crop, selling at baht 0.50 per 100 units. The cost of production was baht 0.32 per 100 units. Larvae can be stocked in the nursing pond up to three stages namely fry and fingerlings of 3 and 5 centimeters in length with the nursing period of 14, 42 and 30 days and the survival rate of 31, 30 and 25 percent respectively. The cost of production of the three stages were baht 3.01, 3.80 and 4.97 per 100 units with the selling price of baht 5.20, 10.40 and 15.60 respectively. The grow-out fish farmers prefer 5 cm fingerlings to the smaller stages. Using own seed stock reduces cost of production. The cost of production of catfish in the earth ponds for the period of 5 months was bath 16.54 per kilogram, selling at baht. 26.33 per kilogram. Culturing catfish in the concrete tanks for 3 months cost baht 17.68 per kilogram, selling at baht 24.00 per kilogram. Selling price of the latter was lower because they were smaller in size and also due to the condition of the supply-demand of the product in a certain period. It can be observed that cost of production per kilogram of catfish cultured in the concrete tanks was baht 1.14 higher than in the earth ponds partly because of the cost of manufactured feed used and partly because of not having own seed stock. Net profit was also lower in concrete tank rearing. Even though concrete tank rearing required shorter cultural period which enabled cultivation of 3-4 crops per year, the comparison of the rates of return per annual on capital employed in earth pond rearing and concrete tank rearing revealed that the rate of return on investment in concrete tank rearing is 47.43 percent while that of the earth pond rearing is 427.46 percent.
The difference in the rates of return is due to the high cost of the concrete tank construction and the higher cost of concrete tank rearing as mentioned above. However it is easier to control disease in the concrete tanks. Major problems in seed stock operations and catfish culture were insufficient water during summer, disease, uncertainty in market prices and the escalating input prices. Recommendations for seed stock operations and grow-fish culture were as follow : 1. Hatchery field should be located close to the canal with storage pond to store water. 2.Nursing pond should be of draining type. 3. In expansion of the business one should consider producing own seed stock and culture in the concrete tank which will give a better opportunity of obtaining higher income due to lower risk from disease. 4. Government should help support fish farmers by providing technical knowledge such as cultural technique, feed mix and disease control. 5. Government should provide short term loan to fish farmers. 6.Fish farmers should organize producer’s association in order to enhance their bargaining power and help each other.


SUBJECT

  1. ปลาดุก

LOCATIONCALL#STATUS
Veterinary Science Library : Thesisวพ/สพ SH151 .ส836ต 2525 LIB USE ONLY