Authorสุพรรณี วราทร
Titleบทแนะนำหนังสือในวารสารไทย (พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2523) : รายงานการวิจัย / สุพรรณี วราทร, ตรีศิลป์ บุญขจร
Imprint กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ, 2525
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2752
Descript 149 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม

SUMMARY

งานวิจัยเรื่อง "บทแนะนำหนังสือในวารสารไทย (พ.ศ. 2521-พ.ศ 2523) ผู้วิจัยได้ศึกษา ลักษณะของการแนะนำหนังสือในวารสารไทยระหว่าง พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2523 โดยวิเคราะห์บทแนะนำหนังสือจากวารสารที่คัดเลือกเป็นประชากร 26 ชื่อ มีจำนวนบทแนะนำหนังสือ 4138 บท และศึกษาทัศนคติของผู้อ่านบทแนะนำหนังสือ ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับหนังสือและบทแนะนำหนังสือ 4 กลุ่ม ได้แก่ นิสิตนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย อาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาไทย นักประพันธ์ และบรรณารักษ์เป็นประชากรทั้งสิ้น 225 คน การวิจัยสรุปผลได้ว่าการแนะนำหนังสือในวารสารไทยระหว่าง พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2523 ยังมีจำนวนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนหนังสือที่พิมพ์ในประเทศไทยในช่วงเวลานี้ หนังสือที่ได้รับการแนะนำมีทุกประเภท ทุกหมวดวิชา ส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่แต่งเป็นภาษาไทย และมีสารคดีและวิชาการมากกว่าบันเทิงคดี แม้ว่าหนังสือที่ได้รับการแนะนำจะมีสัดส่วนแตกต่างกันมากแต่ก็อยู่ในลักษณะที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้อ่าน คอลัมน์แนะนำหนังสือในวารสารไทยส่วนใหญ่ไม่มีแบบแผนการแนะนำที่แน่นนอนแต่มักแนะนำแบบกึ่งวิชาการด้วยสำนวนภาษาเขียนหรือแบบการสนทนา นอกจากนี้มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบแจ้งข่าวหนังสือ การให้ข้อมูลในบทแนะนำหนังสือมีความแตกต่างกัน ระหว่างวารสารทั่วไปและวารสารวิชาการ และระหว่างการแนะนำหนังสือสารคดีและวิชาการกับบันเทิงคดี บทแนะนำหนังสือส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่เป็นการแนะนำหรือใช้ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือแต่ขาดข้อมูลเชิงประเมินค่าหนังสือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้อ่านให้ความสำคัญมาก ผูอ่านส่วนใหญ่จึงได้รับประโยชน์จากการอ่านบทแนะนำหนังสือในระดับปานกลาง และเห็นว่าควรมีการปรับปรุงการแนะนำหนังสือในด้านปริมาณ ความสมดุลย์ และความทันสมัยของสิ่งพิมพ์ที่แนะนำ และสาระในบทแนะนำ วารสารที่ผู้อ่านชอบอ่านบทแนะนำ 3 ชื่อแรกคือ โลกหนังสือ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และฟ้าเมืองไทย ตามลำดับ ผลการวิจัยได้เสนอเป็น 5 บท บทที่ 1 เป็นบทนำกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ ขอบเขต และข้อจำกัดของการวิจัย ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และนิยามศัพท์ที่ใช้ บทที่ 2 เป็นข้อมูลด้านลักษณะทั่วไปของบทแนะนำหนังสือ ซึ่งกล่าวถึงความหมาย ประวัติพัฒนาการ เนื้อหา ประเภท ลักษณะที่ดีของบทแนะนำหนังสือ และแนวในการประเมินค่าบทแนะนำหนังสือ บทที่ 3 และบทที่ 4 เป็นการวิเคราะห์ลักษณะบทแนะนำหนังสือในวารสารไทย และความเห็นของผู้อ่านที่มีต่อบทแนะนำหนังสือในลักษณะของการเปรียบเทียบ และบทที่ 5 เป็นสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงการแนะนำหนังสือในวารสารในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเพิ่มข้อมูลเชิงประเมินค่าหนังสือ ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนับตั้งแต่ผู้จัดพิมพ์วารสาร ผู้แนะนำหนังสือ ผู้อ่าน บรรณารักษ์ นักประพันธ์ และนักวิชาการ ให้ความสำคัญแก่บทแนะนำหนังสือมากขึ้น และดำเนินการต่างๆ เพื่อให้มีการแนะนำหนังสือที่ดีมีคุณค่ายิ่งขึ้น และควรมีการวิจัยลักษณะของการแนะนำหนังสือในช่วงเวลาต่อไปเพื่อทราบแนวโน้มของการแนะนำหนังสือในประเทศไทย และควรศึกษาเรื่องการแนะนำและวิจารณ์หนังสือในรูปแบบอื่นๆ ด้วย
This research is a study of book reviews in two aspects, the book reviews published in Thai periodicals during 1977-1980, and the attitude of the readers towards the book reviews. The study of the books reviews in Thai periodical is done through an analysis of the 4,138 book reviews from 26 selected periodicals. The attitude of the readers is gained from the study of the questionnaires answered by 225 representatives of those whose work concern books or book reviews. This group of persons consists of university students who major in Thai, college and university insturctors of Thai language, writers, and librarians. The research results show that the number of the book reviews in Thai periodicals is small compared to the number of the books published in Thailand during the time studied. The books reviewed cover all types and subjects, most of which are written in Thai. Although the number of the books that are reviewed varies from type to type, the book reviews are in line with the reading interest of the readers. Most of the book reviews do not have fixed forms. They are usually written in informal style with the use of both written and spoken language. Many of them are in the form of a book report. There are differences between the presentation of data of book reviews in general journals and in subject journals, and between fiction and non-fiction. Most of the reviews give general information about the book but lack the evaluative information which the readers consider very important. The readers gain advantage from reading the book review at a moderate degree and suggest many ways of improving book reviews: the number of the reviews, the balance of types and subjects and the currentness of the book reviewed. The research work is organized into 5 chapters. The first chapter is an introduction stating the problem, the purpose, the scope, the limitation, and the use of the study, and the method used in the study. The second chapter gives general information about a book review, stating the characteristics, thecontent, and the types of book reviews, and the history of book reviewing. The third chapter is a comparative study of book reviews in various aspects. The fourth chapter deals with the attitudes of the readers towards book reviews. The fifth chapter is the recapitulation of the results and the recommendations. The researchers recommended that the reviewing of books in Thai periodicals should be improved. There should be more evaluative information in the book reviews. The persons whose work concerns book reviews and the reviewing of books: publishers, reviewers, readers, librarians, and scholars should now realize the importance of book reviews more than before, and should promote book reviewing. There should be studies of book reviews in Thai periodicals to the present day, and studies of the reviewing of books in other media.


SUBJECT

  1. การวิจารณ์หนังสือ
  2. วารสารไทย

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Special CollectionW PN98.B7 ส246บ LIB USE ONLY
Arts Library : Research Collectionว PN98.B7 ส246บ LIB USE ONLY
Arts LibraryPN98.B7 ส246บ CHECK SHELVES
Arts LibraryPN98.B7 ส246บ CHECK SHELVES