Authorชูเวช ชาญสง่าเวช
Titleการศึกษาปัญหาในโรงงานขนาดย่อยและขนาดกลาง (อุตสาหกรรมรถไถนา) / ชูเวช ชาญสง่าเวช
Imprint กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ, 2526
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6348
Descript 75 หน้า

SUMMARY

สถิติเมื่อปี 2521 แสดงว่าโรงงานที่จัดได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางมีอยู่ถึงร้อยละ 99 ของโรงงานในประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทนี้ จึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่งยวด จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าฝ่ายจัดการของโรงงานขนาดย่อมและขนาดกลางจำนวนไม่น้อยยังขาดการอบรม ประสพการณ์ และความชำนาญในการปรับปรุงระบบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องการรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐบาล สถาบันการศึกษา และสถาบันเอกชนต่างๆ หากมีการติดต่อใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น งานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะสนองตอบความต้องการดังกล่าว โดยมุ่งความสนใจมาที่อุตสาหกรรมรถไถนา เนื่องจากโรงงานส่วนใหญ่ในกว่าร้อยโรงงานที่ประกอบกันเป็นอุตสาหกรรมชนิดนี้ มีลักษณะที่ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโรงงานขนาดย่อมและขนาดกลางที่มีการบริหารแบบครอบครัวในประเทศไทย และอุตสาหกรรมนี้ยังประสบกับมรสุมปัญหาอยู่เป็นอย่างมากในขณะนี้ด้วย จึงต้องการความช่วยเหลือร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างทันท่วงที วัตถุประสงค์ในการวิจัยก็เพื่อศึกษาปัญหาและวางแนวทางในการปรับปรุง และส่งเสริมโรงงานขนาดย่อมและขนาดกลางในอุตสาหกรรมรถไถนา ในด้านที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต การประหยัดพลังงาน การตลาด และการเงิน งานวิจัยแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม และส่วนที่สอง เป็นการปฏิบัติการภาคสนามในโรงงานที่คัดเลือกขึ้นมาจำนวนหนึ่ง เพื่อเสาะหาแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงที่เหมาะสมที่สุด ในบรรดาข้อเสนอแนะที่ได้ ข้อที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งได้แก่ ข้อเสนอที่ให้มีการกำหนดแบบห้องเกียร์ขึ้นใช้เป็นมาตรฐานอันเดียวกันเพื่อจะได้ทำการผลิตและใช้ร่วมกัน โดยโรงงานประกอบรถไถนาทั่วประเทศนอกจากนั้นมีข้อเสนอแนะอื่นๆซึ่งครอบคลุมถึงปัญหาการผลิต พลังงาน การตลาด และการเงินที่พบโดยผู้ประกอบการโรงงานรถไถนา โดยทั่วไป และในตอนท้ายเป็นแนวทางที่เสนอแนะให้ภาครัฐบาลดำเนินการในอันที่จะช่วยเหลือและส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทนี้ต่อไป
A 1978 survey shows that 99 percent of the factories in Thailand may be regarded as small to medium-size industry. The development of these factories is therefore vital to the country. However, previous studies find that management of the typical small to medium-size factory unfortunately lacks the training and expertise to improve its operation and would welcome outside help from government agencies, educational institutions and others. This study is part of the efforts to fulfill such needs. It focuses on the tractor industry since most of the 100 or so factories in this industry are typical of the family-owned small to medium-size factories in Thailand, and the industry is currently plagued with a myriad of problems and needs immediate attention from all concerned. The aim is to study the problems and set the guidelines for the improvement of the tractor factories in the areas of productively improvement, energy saving, marketing and finance. The study is divided into two parts. The first part is conducted through the use of a six-page questionnaire, while the second part consists of field visits to a number of selected factories to iron out the most appropriate suggestions for improvement. Among the numerous recommendations, the most important one is the suggestion that the housing for gears be standardized and manufactured centrally for use by all tractor assemblers throughout the country. Other suggestions for improvement are listed covering production, energy conservation, marketing and financial problems that are encountered by the entrepreneurs. Last, but not least, are the guidelines for the public sector to follow in its attempt to assist and promote this type of industry.


SUBJECT

  1. อุตสาหกรรมรถไถนา
  2. รถไถนา

LOCATIONCALL#STATUS
Engineering Library : StackTL233 ช648 CHECK SHELVES
Engineering Library : StackTL233 ช648 CHECK SHELVES