Authorชาญวุฒิ วัชรพุกก์
Titleประชาธิปไตยแบบไทย : บทศึกษาผลการนำแนวคิดและกลไกระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในเมืองไทย / ชาญวุฒิ วัชรพุกก์ = Thai democracy : A study on institutional transfer of democratic concept and mechanism to Thailand / Chanvut Vajrabukka
Imprint 2526
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25741
Descript [25], 446 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

ประชาธิปไตยแบบไทยเป็นเทคโนโยลีทางสังคม (social techonology) ที่นำเข้ามาในลักษณะของการโยกย้ายแนวคิดและกลไกของระบอบประชาธิปไตยตะวันตก ผลของการนำเข้าในเชิงการโยกย้ายสถาบัน (Institutional Transfer) ในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมามักจะมีการแก้ไขดัดแปลงทั้งด้านแนวคิดและกลไกเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองไทย การแก้ไขดัดแปลงดังกล่าวย่อมทำให้ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยเบี่ยงเบนไปจากประชาธิปไตยตะวันตก จุดมุ่งหมายของการศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ก็เพื่อค้นหาว่า ประชาธิปไตยแบบไทยมีลักษณะอย่างไร ลักษณะดังกล่าวมีการคลี่คลายมาในแต่ละห้วงเวลาที่ผ่านมาอย่างไร และมีเหตุปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดลักษณะและการคลี่คลายของประชาธิปไตยแบบไทยเช่นนั้น การศึกษาด้านเหตุปัจจัยเหล่านี้ได้ศึกษาทั้งทางด้านโครงสร้างส่วนบน และโครงสร้างส่วนล่างควบคู่กันไป และผลของการศึกษาได้ค้นพบประเด็นที่สำคัญที่อาจสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะทั่วไปที่สำคัญที่สุดของประชาธิปไตยแบบไทย คือการเปิดโอกาสให้กลุ่มข้าราชการประจำเข้าครอบครองอำนาจทางการเมือง ซึ่งมีผลทำให้การนำระบอบประชาธิปไตยเข้ามาใช้ในเมืองไทยได้รับการเบี่ยงเบนทั้งแนวคิดและกลไกของระบอบประชาธิปไตยกล่าวคือ ก. ในด้านความคิด ปรากฏว่าอำนาจอธิปไตยมิได้ตกถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง สิทธิเสรีภาพของประชาชนยังขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปกครองในแต่ละยุคสมัย การตัดสินแก้ไขปัญหาทางการเมืองมิได้ใช้หลักประสานประโยชน์หรือแก้ไขตามหลักรัฐธรรมนูญนิยม แต่มักใช้การรัฐประหารเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในระหว่างกลุ่มผู้นำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่กลุ่มข้าราชการประจำด้วยกันเอง ข. ในด้านกลไกปรากฏว่า มีการนำสถาบันการเมืองต่าง ๆ เข้ามาใช้ในประเทศไทยเพียงรูปแบบโดยปราศจากเนื้อหาสาระในตัวของสถาบันเอง
เช่น วุฒิสภาพซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารมักจะได้แก่ข้าราชการประจำและมิได้ทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” ให้กับสภาผู้แทนราษฎร แต่กลับเป็นฐานอำนาจทางการเมืองของกลุ่มผู้ปกครองประเทศ สภาผู้แทนราษฎรจะมีบทบาทมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโครงสร้างของรัฐธรรมนูญที่กลุ่มผู้ปกครองประเทศเป็นผู้กำหนด ผู้นำฝ่ายบริหารอันได้แก่นายกรัฐมนตรีเกือบทุกคนเท่าที่ผ่านมามิได้มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่การจะดำรงตำแหน่งได้และมีฝ่ายบริหารที่เข้มแข็งมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากสถาบันข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันกองทัพไม่ใช่การสนับสนุนจากสถาบันทางการเมือง 2. การคลี่คลายเปลี่ยนแปลงลักษณะประชาธิปไตยแบบไทยในแต่ละห้วงเวลาที่ผ่านมาได้ค้นพบว่า ก. ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2475 ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ได้มีกระแสแนวความคิดเฉพาะเพียงการนำกลไกบางอย่างของระบอบประชาธิปไตยเข้ามาปฏิรูปการปกครอง ผลของการเปลี่ยนแปลงมีเพียงการปรับปรุงทางด้านเทคนิคการบริหารราชการและการทดลองกลไกบางอย่างภายใต้โครงสร้างของระบอบการปกครองดั้งเดิม ข. การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ปรากฏว่า คณะราษฎรมีแนวคิดระบอบประชาธิปไตยเพื่อใช้เป็นรากฐานอุดมการณ์ทางการเมืองไม่ชัดเจน เป้าหมายหลักของการเปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่ที่การลดบทบาททางการเมืองของฝ่ายเจ้าลงไป ค. ผลของการขาดอุดมการประชาธิปไตยที่ชัดเจนร่วมกัน ทำให้ห้วงระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2500 เป็นห้วงเวลาของการช่วงชิงอำนาจในระหว่างกลุ่มผู้นำทางการเมือง โดยมิได้สร้างเสริมให้แนวคิดประชาธิปไตยตะวันตกหยั่งรากลึกลงในสังคมไทย ถึงกระนั้นก็ตามการรัฐประหารเพื่อล้มอำนาจของผู้นำทางการเมืองมิใช้เป็นรัฐประหารเพื่อล้มระบอบการปกครอง กลไกทางการเมือง เช่น รัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสภา ยังคงเป็นสถาบันทางการเมืองที่ปล่อยให้มีบทบาทอยู่เสมอ ง. รัฐประหารในปี พ.ศ. 2501 ทำให้แนวคิดและกลไกระบอบประชาธิปไตยที่มีอยู่อย่างฉาบฉวยได้ยุติลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ถึง 2512 เป็นเวลาถึง 11 ปี ประเทศไทยปลอดจากการมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภาที่แท้จริง
ผู้นำทางการเมืองใช้ระบบข้าราชการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรากฐานอำนาจทางการเมือง ซึ่งปรากฏว่ายิ่งมีการใช้ระบบข้าราชการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมมากเพียงใด ยิ่งทำให้เกิดปัญหาทางด้านการพัฒนาทางการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยมากเพียงนั้น จ. ภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2512 ได้มีการนำหลักการขัดกันระหว่างตำแหน่งรัฐมนตรีกับสมาชิกรัฐสภามาใช้ ผลก็คือกลไกเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับแนวคิดระบอบประชาธิปไตยทางรัฐสภา และไม่อาจจะสร้างเสถียรภาพทางการเมืองได้อย่างแท้จริง เพราะที่มาของตำแหน่งรัฐมนตรีทั้งหมดขาดจากรากฐานในเรื่องความชอบธรรมทางการเมืองซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่เรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ฉ. ภายหลังจากเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 แนวคิดและกลไกของระบอบประชาธิปไตยตะวันตกก็ยังไม่อาจาจะเจริญเติบโตในห้วงเวลานี้ได้ เนื่องจากการขาดสถาบันหลักในทางการเมืองที่จะรองรับการตื่นตัวในระดับสูงของประชาชนได้ ประกอบกับกลุ่มพลังทางการเมืองส่วนใหญ่มิได้มีเป้าหมายของการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตย แต่กลับใช้คำว่าประชาธิปไตยเป็นเพียงฉากบังหน้าเพื่อซ่อนเร้นเป้าหมายของกลุ่มที่แท้จริง ช. ในท่ามกลางความผันผวนและสับสนต่อแนวคิดของระบอบประชาธิปไตยกลุ่มอนุรักษ์นิยมสามารถดึงเอาประชาชนที่สับสนกลับเป็นฝ่ายเดียวของตนได้ รัฐประหารในปี พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2520 เป็นเหตุการณ์ที่เปิดทางให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมกลับมามีอำนาจและบทบาททางการเมืองอย่างเปิดเผยอีกครั้งหนึ่งภายใต้กรอบ “ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งหมายความว่า กลุ่มข้าราชการโดยเฉพาะกลุ่มทหารยังคงครอบครองอำนาจทางการเมืองต่อไปพร้อม ๆ กับการเปิดโอกาสให้มีเวทีทางการเมืองสำหรับนักการเมืองอื่น ๆ ภายใต้กลไกการเลือกตั้งและกลไกทางรัฐสภา 3. สำหรับเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดลักษณะและการคลี่คลายของประชาธิปไตยแบบไทยดังกล่าวสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ก. ในด้านโครงสร้างส่วนบน ปรากฏว่ารัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีโครงสร้างยอกย้อน เพื่อดึงอำนาจอธิปไตยจากประชาชนกลับมาสู่กลุ่มข้าราชการ ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดจากโครงสร้างของรัฐเดิมมีสถาบันข้าราชการประจำที่เข้มแข็งกว่ากลไกทางการเมืองอื่น ๆ และการนำเข้ามาของแนวคิดประชาธิปไตยในด้านอุดมการนั้นก็ไม่ชัดเจนพอที่จะเป็นพลังต่อต้านสภาพเดิมที่เป็นอยู่ ข. ในด้านโครงสร้างส่วนล่าง เดิมการก่อตัวของชนชั้นกลางอย่างเป็นอิสระยังเป็นไปด้วยความลำบาก ภายใต้โครงสร้างระบบการผลิตแบบศักดินา พลังของชนชั้นกลางจึงยังไม่เป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยที่จะผลักดันระบอบประชาธิปไตยตะวันตกให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ อย่างไรก็ตามผลของการเร่งระดมทุนจากต่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา ในห้วงระยะเวลาหลังนี้ปรากฏว่าพลังของกลุ่มนายทุนและชนชั้นกลางได้เริ่มเติบโตขึ้นมาอย่างอิสระได้บ้างแล้ว 4. ผลของการค้นพบลักษณะประชาธิปไตยและเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดลักษณะและการคลี่คลายของประชาธิปไตยแบบไทยดังกล่าว ทำให้เกิดข้อคิดในเชิงนโยบาย (policy implication) เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย และข้ออภิปรายต่อนัยความหมายทฤษฎีประชาธิปไตย (theoretical discussion and implication) ดังต่อไปนี้ ก. ข้อคิดในเชิงนโยบายพัฒนาประชาธิปไตย 1) สิ่งที่ไม่ควรกรทำต่อไปในอนาคตก็คือ การกำหนดโครงสร้างของรัฐธรรมนูญที่ให้กลุ่มข้าราชการเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือกำหนดโครงสร้างของรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก ทั้งนี้เพราะจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงของพัฒนาการทางการเมืองไทยทั้งในด้านโครงสร้างส่วนบนและโครงสร้างส่วนล่าง 2) สิ่งที่ควรกระทำในอนาคตก็คือ การสร้างความสมดุลย์ระหว่างการคงแนวคิดและกลไกระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้กลุ่มข้าราชการและกลุ่มพลังการเมืองอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างชอบธรรม เช่น การจัดให้มีอาณัติ (mandate) จากประชาชนต่อผู้ปกครอง และการใช้เทคนิคของกลไกทางการเมืองอื่น ๆ ที่เปิดช่องให้กลุ่มพลังต่าง ๆ เข้ามามีบทบาททางการเมืองได้อย่างทั่วถึงเป็นต้น
ข. ข้ออภิปรายต่อนัยความหมายทฤษฎีประชาธิปไตย 1) การโยกย้ายสถาบัน (Institutional Transfer) ประชาธิปไตยมายังประเทศโลกที่สาม มักจะพบปัญหาในเรื่องความแตกต่างของสภาพแวดล้อมในด้านอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มข้าราชการการโยกย้ายสถาบันควรจะดำเนินการโยกย้ายทั้งในด้านแนวคิดและกลไกควบคู่ไปด้วยกัน มิฉะนั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 2) กรณีการโยกย้ายสถาบันประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศไทยแม้จะประสบกับปัญหาและความขัดแย้งดังกล่าวข้างต้น แต่วิวัฒนาการคลี่คลายทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยประมาณครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี้ ทำให้กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มการเมืองอื่น ๆ ไม่อาจปฏิเสธต่อแนวคิดและกลไกประชาธิปไตยตะวันตกอย่างสิ้นเชิง ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นความเชื่อแบบมายาคติทางการเมือง (political myth) ซึ่งมีผลทำให้แนวคิดและกลไกระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นหนทางโดยบังเอิญที่ทุก ๆ ฝ่ายทั้งฝ่ายมีอำนาจและไม่มีอำนาจในปัจจุบัน ต่างก็ไม่มีทางเลือกอื่นที่จะแสดงนอกเสียจากทางเลือกหรือเวทีนี้เท่านั้น
Thai democracy is an imported social technology from Western society. The importation in term of institutional transfer has created changed both on concept and mechanism of democracy. Such changes are the adaptation to Thai sociopolitical and economic setting. Therefore, Thai democracy, conceptually and mechanically, is a deviation from Western democracy. The objectives of this study are : to investigate on the characteristics of Thai democracy by focusing on what are they look like, how have they evolved from then to now, and which factors cause the formation and the evolution of Thai democracy thus, the method of study on the causal factors employs the political economy approach which emphasizes upon the concept of superstructure and substructure. The findings are as follow:- 1. The prominent general characteristics of Thai democracy is to open a chance for bureaucracy to enter and dominate political scene. Such entering and dominating have resulted in the deviation of democratic concept and mechanism: Conceptually: Sovereignty is not handed down to the people. Right and freedom still depend on the ruling elites. Decision making on political affairs does not rely on constitutionalism. Coup d’etat is used as means of struggle among elites, especially the bureaucrats, for political power. Mechanically: the importation of political institutions appears in “form without content”. The Upper House is assumed to be the “care-taker” of the House of Representative. But, in reality, it serves as a power base of the ruling elite in checking and balancing the power of the House of Representative. Most Prime Ministers as the head of the executive do not come from election or the House of Representative. But being appointed and supported by the bureaucracy especially the military. 2. The evolution of characteristics of Thai democracy in each period is found in this study as follow: a) Prior to B.E. 2475 under the rule of absolute monarchy, democratic mechanism was employed to improve the administration of monarchial governmental structure. b) Leading members of the People’s Party who led the 1932 revolution were lack of democratic political ideology. Their main objective was to curtail the power of the royalists. c) Consequently, the lack of conspicuous political ideology resulted in the manner of power struggle among elites during the year B.E. 2500 without any attempts to root Western democratic concept into Thai society. As already mentioned, coup d’etat had been used for power struggle, and some political mechanisms, for instances, the constitution, M.P. ‘s election as well as political parties were allowed to exhibit their roles in some extent to legitimize the ruling of the elites.
d) The B.E. 2501 Coup had put an end to the subtle democratic concept and mechanism but the abolishment of Thailand’s parliamentary system for 11 year. Ruling elites exploited bureaucratic system to legitimize their political power under the claim for national development. It was clearly realized that the more the bureaucracy was employed as a hand for economic and social development, the more the problems of political development arose. e) Under the structure of B.E. 2512 Constitution, the rule of being cabinet memberships without being parliament membership was initiated. This controversial rule or mechanism was neither concordant with parliamentary democratic concept nor create any political stability. f) Even after October B.C. 2516 which was assumed the most democratic period, the concept and mechanism of Western democracy could not fully develop owing to the lack of political institutionalization to carry on the political activeness of the people. Concurrently, the objectives of most of power groups did not aim toward democratic development but exploited the term “democracy” to cover their surreptitious destination. g) Finally, amidst the confusion of democratic line, the conservative group was able to organize and mobilize confusing mass to support them. Coup d’etats in the year B.E. 2519 and 2520 were the turning point enabling conservative group to resume its political power and role under the frame of “a half page democracy” which allows the bureaucrats and the militants to retain their political powers as well as gives some apportunity to other politicians through electoral and parliamentary mechanism.
3. The causal factors that create the afore-mentioned characteristics and evolution of Thai democracy are as follow: - a) Referring to the concept of superstructure, almost every constitution contains complicated structure aiming to pull sovereignty from the people to the bureaucratic group. Such phenomenon is the legacy from the existing state structure that bureaucratic institution is stronger than other political groups. Moreover, the concept of an imported democratic ideology has not been clarified enough to be employed to counter the existing situation. b) Referring to the concept of substructure, historically under the feudal mode of production, the formation of an independent middle class met with difficulties. Therefore, the middle class was unable to be a potentially political condition or factor to establish Western democratic system in Thai society. Nevertheless, the accumulation of foreign and Thai investment for economic development since the regime of Field Marshall Sarit Thanarat has brought about the development of an independent middle class. 4. The afore-mentioned finding on characteristics of Thai democracy and its causal factors lead to the following suggestion on policy implication and theoretical discussion about democracy in Thailand and the Third World. Suggestions on policy for democratic development: a) An effort should not be made to set and unrealistic constitutional structure in Thai politics that allows only the bureaucratic group to control political power or to set the constitution in the Western pattern which is not accommodated with the development of Thai politics in both superstructure and substructure. b) A balance between maintaining democratic concept and mechanism and opening the opportunity to bureaucratic and other political group to participate in politics is needed, for examples a provision of popular mandate, a use of other techniques of political mechanism, etc.
Discussions on theoretical implication of democracy: a) Institutional transfer of democracy to the Third World countries usually faces the problem of contradictory between popular sovereignty and sovereignty of some groups, especially the bureaucrats. Thus, it should be transferred in both concept and mechanism in order to meet successfulness. b) Although institutional transfer of democracy to Thailand has faced such above problem, the evolution of Thai political history in the last half of the century creates some acceptance of Western democratic concept and mechanism. Such acceptance is not base on the intention of parties involved, it is an accident or a “venue of coincidence” that the parties involved seem to have no other alternative.


SUBJECT

  1. ประชาธิปไตย
  2. คณะราษฎร์
  3. เสรีภาพ
  4. อำนาจอธิปไตย
  5. ปัจเจกนิยม
  6. สถาบันการเมือง
  7. ไทย -- การเมืองและการปกครอง
  8. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวด 3 LIB USE ONLY