Authorสมภาร พรมทา
Titleกาลและอวกาศในพุทธปรัชญาเถรวาท / สมภาร พรมทา = Space and time in theravadn buddhist philosophy / Somparn Promta
Imprint 2531
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37896
Descript ก-ฎ, 142 แผ่น

SUMMARY

คำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศในพุทธปรัชญาเถรวาทอาจแบ่งออกเป็นสองลักษณะกล่าวคือ คำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศทางกายภาพ กับคำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศทางจิตวิทยา คำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศทางกายภาพเกี่ยวด้วย เรื่องธรรมชาติของกาลและอวกาศโดยตรง ส่วนคำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศทางจิตวิทยาเกี่ยวด้วยเรื่องการรับรู้กาลและอวกาศของมนุษย์ วิทยานิพนธ์นี้จะศึกษาเฉพาะคำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศทางกายภาพเท่านั้น ข้อมูลในการศึกษาคำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศในพุทธปรัชญาเถรวาทที่ใช้ในวิทยานิพนธ์นี้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ข้อมูลชั้นที่หนึ่งกับข้อมูลชั้นที่สอง ขัอมูลชั้นที่หนึ่งได้แก่พระไตรปิฎก ข้อมูลชั้นที่สองได้แก่ อรรถกถา, ฎีกา, และตำราที่ท่านผู้รู้พุทธศาสนาเรียบเรียงไว้ จากการศึกษาข้อมูลข้างต้นพบว่า อวกาศในพุทธปรัชญาเถรวาทจัดเป็นอสังขตธรรมอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่คงอยู่ชั่วนิรันดร ส่วนกาลเป็นชื่อเรียกความเปลี่ยนแปลงของสังขตธรรม อวกาศเป็นสิ่งที่มีอยู่ แต่เวลาไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ เป็นที่เข้าใจกันมานานในหมู่ชาวพุทธเถรวาทบางส่วนว่า หลักคำสอนที่ไม่เกี่ยวกับการดับทุกข์ในชีวิตมนุษย์ไม่ใช่หลักคำสอนของพุทธศาสนา หลักธรรมในพุทธศาสนาในความคิดของชาวพุทธที่ว่านี้ต้องสามารถนำมาปฏิบัติเพื่อขจัดทุกข์ในชีวิตจริงได้ มิใช่สักแต่ว่าเป็นเพียงแนวความคิดทางปรัชญาล้วนๆ อันไม่อาจก่อผลในทางปฏิบัติ การที่หลักคำสอนนั้นๆ สามารถนำมาปฏิบัติได้ถือกันว่าเป็นเกณฑ์ตรวจสอบว่าหลักคำสอนใดเป็นหลักธรรมของพุทธศาสนาหรือไม่ ความเข้าใจตามที่กล่าวมานี้ แม้จะมีหลักฐานในพระไตรปิฎกบางแห่งรองรับให้คิดไปเช่นนั้นก็ตาม กระนั้นก็ยังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่ หลักคำสอนของพระพุทธองค์นั้นจำแนกออกเป็นสองส่วนหลักๆ กล่าวคือ ส่วนที่เป็นหลักคำสอนทางจริยปฏิบัติ กับหลักคำสอนส่วนที่เป็นอภิปรัชญา ในจำนวนหลักธรรมทั้งสองส่วนนี้
ส่วนที่เป็นหลักจริยปฏิบัติหรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าหลักธรรมส่วนที่นำผู้ปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์ในชีวิตต้องอาศัยหลักธรรมส่วนที่เป็นอภิปรัชญาเป็นฐานรองรับ หลักคำสอนส่วนที่เป็นอภิปรัชญานี้ไม่อาจนำมาปฏิบัติให้เกิดผลกล่าวคือการดับทุกข์ในชีวิต แต่มันคือรากฐานทางปรัชญาของหลักคำสอนส่วนที่สามารถนำผู้ปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ในชีวิตได้ หากปราศจากหลักคำสอนส่วนที่เป็นอภิปรัชญา หลักคำสอนส่วนที่เป็นหลักจริยปฏิบัติย่อมปราศจากรากฐานรองรับ ไม่ต่างจากต้นไม้ไร้รากยึดเกาะฉะนั้น หลักคำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศในพุทธปรัชญาเถรวาทจัดอยู่ในส่วนของคำสอนที่เป็นอภิปรัชญา หลักคำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศนี่เองคือรากฐานสำหรับการค้นหาคำตอบต่อคำถามบางคำถามที่หลักจริยปฏิบัติไม่อาจตอบได้ เช่นปัญหาเกี่ยวกับการกำเนิดของเอกภพ และปัญหาเกี่ยวกับปฐมเหตุของเอกภพ เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอคำตอบว่า อวกาศหรือที่เรียกว่าอากาสะในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทคือปฐมเหตุและต้นกำเนิดของเอกภพ โดยที่การตอบคำถามเหล่านี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องอาศัยวิธีการเชิงเทวนิยม หากแต่ใช้วิธีการแบบอเทวนิยมของพุทธศาสนานั่นเอง
Space-time teachings in Theravada Buddhist philosophy can be divided into two aspects; physical and psychological. The teachings of physical space and time concern the nature of space and time. The teachings of psychological space and time concern Man’s perception of space and time. In this thesis only the first aspect will be studied. The sources of space-time teachings in Theravada Buddhist philosophy, being used in this thesis, are divided into two levels; primary and secondary. The primary source is the Pali Scripture. The secondary source is the commentaries, the sub-commentaries and other works of contemporary Buddhist scholars. Space in Theravada Buddhist philosophy, according to these sources, is unconditioned, unchanging and eternal. Time is a name of the change of conditioned things. Space is an entity, but time is not. It is traditional among some people call themselves Theravada Buddhists to make the assumption that any doctrine that does not lead to the cessation of human suffering is not a doctrine of Buddhism. The teachings of the Buddha, in their concepts, are practical, not unpractically philosophical or purely speculative thoughts. Practicability in ordinary life is a criterion to judge which principles are teachings of Buddhism and which are not. This idea, though seemingly supported by some contents of the Pali Scripture, is false. The teachings of the Buddha, as presented in this thesis, are divided into two groups; ethical and metaphysical. Of these teachings ethical doctrines, namely the doctrines which lead to the cessation of human suffering, are based on metaphysical doctrines. These metaphysical teachings are not directly practical in ordinary life, but they are the philosophical foundations of the practical teachings. Without these foundations ethical teachings in Buddhism must be baseless as tree without roots. Space-time teachings in Theravada Buddhist philosophy belong to its metaphysics. By these doctrines the answer to the question of the origin of the universe is constructed, and the problem of the first cause, which is unsolved by its ethical principles, is solved. This thesis shows that space,. Or akasa as called in Theravada Buddhist texts, is the first cause and the origin of the universe. This answer is arrived at, not by a theistic solution, but by an atheistic approach.


SUBJECT

  1. เวลา -- แง่ศาสนา
  2. อวกาศ -- พุทธศาสนา -- แง่ศาสนา
  3. พุทธปรัชญา
  4. ปฏิจจสมุปบาท
  5. จักรวาลวิทยาพุทธศาสนา

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. ปรัชญา LIB USE ONLY
Dharma Centre Libraryพ.50-10 LIB USE ONLY