100 เรื่องเล่าของผู้หญิงเปลี่ยนโลก : Good night stories for rebel girls

100 เรื่องเล่าของผู้หญิงเปลี่ยนโลก : Good night stories for rebel girls

... เป็นเรื่องสำคัญที่เด็กผู้หญิงต้องเข้าใจอุปสรรคที่รอพวกเธออยู่ และเป็นเรื่องสำคัญพอกันที่พวกเธอต้องรู้ว่าอุปสรรคเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ฝ่าฟันได้ นอกจากจะเอาชนะมันได้แล้ว เรายังกำจัดอุปสรรคเพื่อถางเส้นทางให้คนรุ่นหลังได้ด้วย เหมือนผู้หญิงผู้ยิ่งใหญ่หลายคนได้ทำไว้... (คำนำ)

หนังสือที่ผู้เขียน เอเลนา ฟาวิลลี และ ฟรันเชสกา คาวัลโล นำเสนอ 100 เรื่อง พร้อมภาพประกอบจากศิลปินหญิงเก่ง 60 คนทั่วโลก ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงพลังเปลี่ยนโลกของผู้หญิงด้วยหัวใจที่เชื่อมั่น อาทิ เกรซ ฮ็อปเปอร์ (Grace Hopper)-วิศวกรคอมพิวเตอร์, คัทเธอรีน มหาราชินี (Catherine the Great)-จักรพรรดินี, เคต เชพเพิร์ด (Kate Sheppard)-นักรณรงค์เพื่อสิทธิในการเลือกตั้งของสตรี, โคโค ชาแนล (Coco Chanel)-นักออกแบบเสื้อผ้า, จางเสียน (Xian Zhang)-วาทยากรวงออร์เคสตรา, จินโก (Jingu)-จักรพรรดินี ซอนด็อกแห่งชิลลา (Seondeok of Silla)-ราชินี เนลลี่ บลาย (Nellie Bly)-นักข่าว มาร์กาเร็ต แฮมิลตัน (Magaret Hamilton)-นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)-นางพยาบาล มาติลเด มอนโตยา (Matilde Montoya)-แพทย์ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher)-นายกรัฐมนตรี มารี กูรี (Marie Curie)-นักวิทยาศาสตร์ มาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori)-นักจิตวิทยาและนักการศึกษา เม ซี เจมิสัน(Mae C. Jemison)-นักบินอวกาศและแพทย์ รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก (Ruth Bader Ginsburg)-ตุลาการศาลสูงสุด อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)-นักการเมือง แอน มาโคซินสกี (Ann Makosinski)-นักประดิษฐ์...

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สตรี” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน มีนาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)920.72 ฟ367ห 2560CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)920.72 ฟ367ห 2560CHECK SHELVES

สามมุกงามสกุลซ่ง

สามมุกงามสกุลซ่ง

หนังสือแปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาจีน 2 เล่ม เล่มแรกเป็นภาษาจีนแปลจากหนังสือภาษาอังกฤษ ชื่อ The Soong Dynasty โดย Sterling Seagrave และเล่มที่ 2 หนังสือชื่อ ซ่งซื่อชั้นเจี่ยเม่ย โดย เฉินเอี๋ยนอี นำเสนอชีวประวัติและเรื่องราวของสตรีจีนสามพี่น้องตระกูลซ่งผู้อยู่เบื้องหลังมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ และยังมีบทบาทสำคัญต่อชาติและแผ่นดิน คือ ซ่งอ้ายหลิง ซ่งชิงหลิง และ ซ่งเหม่ยหลิง ซ่งอ้ายหลิงเป็นพี่สาวคนโต แต่งงานกับข่งเสียงซี นายธนาคารมหาเศรษฐีและขุนคลังนามกระเดื่องยุคสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ซ่งชิงหลิงเป็นพี่สาวคนรอง แต่งงานกับ ดร. ซุนยัตเซ็น ผู้ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศจีน และ น้องคนเล็ก ซ่งเหม่ยหลิง แต่งงานกับประธานาธิบดีเจียงไคเช็กแห่งไต้หวัน

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สตรี” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน มีนาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)920.72 ส837ส 2560CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)920.72 ส837ส 2560DUE 05-04-24
Arts LibraryHQ1767 ส246สCHECK SHELVES

ผู้หญิงญี่ปุ่น เพื่อเธอ-เท่าเทียม

ผู้หญิงญี่ปุ่น เพื่อเธอ-เท่าเทียม

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือในชุดโครงการวิจัยและจัดทำหนังสือโมโนกราฟภายใต้โครงการ Contemporary Japanese Studies วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อ สร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และความก้าวหน้าในการวิจัยด้านญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย ผู้เขียนได้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้หญิงญี่ปุ่นนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 และนโยบายของรัฐบาลในการสร้างสังคมที่มีส่วนร่วมของชายหญิงภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีชินโชอาเบะ และอภิปรายให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมญี่ปุ่นที่ดำเนินมาจนถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ คือการส่งเสริมให้ผู้หญิงที่เป็นแม่ยังคงอยู่ในตลาดแรงงาน ซึ่งสวนทางกับแนวคิดที่หยั่งรากลึกในสังคมญี่ปุ่นที่ผ่านมาในอดีตว่า ผู้หญิงที่มีบุตรจะต้องออกจากงานเพื่อทุ่มเทในการเลี้ยงบุตร... (คำนำ)

ผู้เขียนได้นำเสนอเนื้อหา ดังนี้ พัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยโอกาสจ้างงานที่เท่าเทียม สู่การมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมของชายหญิง และปัญหา “มะตะฮะระ”: ความขัดแย้งเมื่อแรงงานเป็นแม่ พร้อมบทสรุป เมื่อสังคมญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ปัญหา มะตะฮะระ

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สตรี” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน มีนาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)331.40952 ป619ผ 2560CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)331.40952 ป619ผ 2560CHECK SHELVES
Arts LibraryHD6197 ป236ผ 2560CHECK SHELVES
Arts LibraryHD6197 ป236ผ 2560CHECK SHELVES

PLAN Z (ไม่มี) ตำแหน่งใหญ่ในบริษัทสำหรับผู้หญิง...?

PLAN Z (ไม่มี) ตำแหน่งใหญ่ในบริษัทสำหรับผู้หญิง...?

หนังสือที่ผู้เขียน ชเว มย็องฮวา (Choi Myoungwha) กรรมการบริษัทผู้หญิงที่อายุน้อยที่สุดของแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริหารหญิงคนแรกของฮุนได มอเตอร์ และ ที่ปรึกษา ผู้บริหารระดับสูง ของหลาย ๆ บริษัท บอกเล่าประสบการณ์ในการทำงาน เคล็ดลับการใช้สมองและสัญชาตญาณความเป็นผู้หญิง เพื่อประสบความสำเร็จในการทำงานและชีวิตอย่างสง่างาม อาทิ กำหนดเป้าหมายสุดท้ายแห่งการบรรลุความสำเร็จในการทำงาน เข้าใจกฎเกณฑ์ของสนามต่อสู้ ปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน เปิดเผยตัวเองอย่างมีกลยุทธ์ ทำให้เกิดการสนับสนุนจากรอบข้าง และออกแบบชีวิตและงาน

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สตรี” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน มีนาคม 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor)158.1 ม189พ 2562CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)158.1 ม189พ 2562CHECK SHELVES

การศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับสตรี : เอกสารคำสอนรายวิชา 2750282

การศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับสตรี : เอกสารคำสอนรายวิชา 2750282

เอกสารคำสอน รายวิชา 2750282 การศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับสตรี นี้ ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา มีวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนรายวิชาดังกล่าวได้ใช้ประกอบการเรียน เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทั่วไป ปัญหา และความต้องการด้านการศึกษาของสตรี บทบาทและความสำคัญของสตรี การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้แก่สตรีโดยหน่วยงานต่าง ๆ และผู้เขียนมองถึงประโยชน์เอกสารคำสอนนี้ต่อทั้งผู้เรียนและผู้สนใจการศึกษานอกระบบโรงเรียนด้วย (คำนำ)

เอกสารคำสอนฉบับอิเล็กทรอนิกส์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63968

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สตรี” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน มีนาคม 2563


“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) อธิบายพัฒนาการการปฏิบัติการทางสังคมของกลุ่มผู้หญิงคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 2) สังเคราะห์ความหมายของสันติภาพของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 3) วิเคราะห์การทำงานของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพที่สัมพันธ์กับมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Security Council: UNSC) หมายเลข 1325 และ 4) วิเคราะห์เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและที่ท้าทายการดำเนินกิจกรรมเพื่อสันติภาพของกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมในนามของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ผลการศึกษาพบว่า คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ก่อตัวขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายที่เกิดขึ้นทั้งก่อนสถานการณ์ความไม่สงบระลอกใหม่ในปี 2547 ผ่านการชักจูงของเจ้าหน้าที่แหล่งทุนและการเชิญชวนปากต่อปากของพวกเธอในช่วงเวลาที่สุกงอมเพื่อสร้างเวทีเชิงประเด็นของผู้หญิงที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา งานด้านสันติภาพและความหมายสันติภาพของพวกเธอเติบโตจากสันติภาพประเด็นเย็น เช่น งานเยียวยาไปสู่งานสันติภาพ ประเด็นร้อนคือ ประเด็นความมั่นคงสะท้อนจากผลลัพธ์การทำงานของพวกเธอ นั่นคือข้อเสนอพื้นที่สาธารณะปลอดภัยและข้อเสนอสภาวะที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ การทำงานของพวกเธอเมื่อพิจารณาตามมติ 1325 พบว่า ต้องเจอกับข้อท้าทายมากมายทั้งข้อท้าทายภายในองค์กร และอีกทั้งยังพบว่า พวกเธอต้องทำงานต่อรองกับนโยบายระดับชาติด้านความมั่นคงที่เลี่ยงการเรียกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยคำว่าพื้นที่ขัดแย้งทางกำลังอาวุธและปัญหาการขาดความตระหนักรู้มิติความสัมพันธ์หญิงชายในพื้นที่ แต่ด้วยข้อสนับสนุนหลาย ๆ ประการและการเรียนรู้ที่จะประนีประนอมกับข้อท้าทายต่าง ๆ ทำให้พวกเธอได้ก้าวออกมาจากการทำงานสันติภาพแบบไม่เป็นทางการซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่อยู่วงนอกของกระบวนการสันติภาพ มาเป็นตัวแสดงที่กำลังเคลื่อนที่เข้าสู่วงในของกระบวนการสันติภาพ (บทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63112

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “สตรี” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน มีนาคม 2563


Collection