Authorณัฐพงษ์ วงษ์อำไพ, ผู้แต่ง
Titleวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยเด็กอายุ 6-7 ปี ซึ่งพูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ : การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้ / ณัฐพงษ์ วงษ์อำไพ = The Bangkok Thai tones produced by Pattani Malay children of 6-7 years old : an acoustic and perception study / Natthapong wong-ampai
Imprint 2552
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59089
Descript ก-น, 225 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบระบบวรรณยุกต์และลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ในภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยกลุ่มเด็กอายุ 6-7 ปี ซึ่งพูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร (MBKK) และในจังหวัดปัตตานี (MPTN) รวมทั้งทดสอบการรับรู้วรรณยุกต์ของคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อได้ยินการออกเสียงวรรณยุกต์ของเด็กทั้ง 2 กลุ่มนั้น ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ที่ศึกษา ได้แก่ ค่าความถี่มูลฐาน พิสัยของค่าความถี่มูลฐาน และค่าระยะเวลาของวรรณยุกต์ ที่ปรากฏในคำพยางค์เดียว ในบริบทคำพูดเดี่ยว จากผู้บอกภาษากลุ่มละ 5 คน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาพฤติกรรมของค่าดังกล่าวข้างต้นของผู้พูดภาษาไทยกรุงเทพฯ เป็นภาษาแม่ (TBKK) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการอ้างอิงด้วย ในการทดสอบการรับรู้ ใช้การทดสอบแบบ Identification task โดยสร้างคำเร้าการรับรู้จากข้อมูลเสียงของกลุ่มเด็กที่พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ทั้ง 2 กลุ่ม แบ่งแบบทดสอบการรับรู้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบทดสอบการรับรู้แบบ 3 ตัวเลือก และ 5 ตัวเลือก ผู้เข้าร่วมการทดสอบการรับรู้ เป็นผู้ใช้ภาษาไทยกรุงเทพฯ ในชีวิตประจำวัน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมของค่าความถี่มูลฐาน แสดงให้เห็นว่าสัทลักษณะของวรรณยุกต์เอก โท และ จัตวา มีลักษณะคล้ายกัน ส่วนสัทลักษณะของวรรณยุกต์สามัญของกลุ่มผู้บอกภาษา MBKK ที่แตกต่างจากกลุ่มผู้บอกภาษา TBKK คือ กลางระดับตกตอนท้าย ส่วนกลุ่มผู้บอกภาษา MPTN มีสัทลักษณะเป็นเสียงกลางค่อนข้างต่ำระดับและกลางระดับตกตอนท้าย วรรณยุกต์ตรีของกลุ่มผู้บอกภาษา MBKK มีสัทลักษณะเป็นเสียงกลางขึ้นตก กลุ่มผู้บอกภาษา MPTN เป็นเสียงกลางขึ้นตก และกลางขึ้น
นอกจากนี้ พบว่า วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับมีพิสัยค่าความถี่มูลฐานกว้างกว่าวรรณยุกต์คงระดับ พฤติกรรมของค่าระยะเวลามีความสัมพันธ์กับระดับเสียงสูงต่ำของวรรณยุกต์ โดยวรรณยุกต์ที่มีระดับเสียงที่สูงในช่วงท้าย (ตรี จัตวา) จะมีค่าระยะเวลาของวรรณยุกต์ที่มากกว่าวรรณยุกต์ที่มีระดับเสียงที่ต่ำในช่วงท้าย (เอก โท) สำหรับความแตกต่างระหว่างวรรณยุกต์คงระดับ (สามัญ เอก) ที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาทั้ง 2 กลุ่มมีค่าความถี่มูลฐานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติไม่ชัดเจน ความแตกต่างของพิสัยค่าความถี่มูลฐาน และค่าระยะเวลาของวรรณยุกต์สามัญกับวรรณยุกต์เอก ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ (โท จัตวา) พบว่า ค่าความถี่มูลฐาน และ ค่าระยะเวลาของวรรณยุกต์ในผู้บอกภาษาแต่ละกลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการทดสอบการรับรู้ พบว่า จากแบบทดสอบทั้ง 2 ลักษณะ ผู้ฟังสามารถจำแนกหน่วยเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 หน่วยเสียงที่ออกเสียงโดยผู้พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ทั้ง 2 กลุ่มได้ ผู้ฟังสามารถแยกวรรณยุกต์ตรีออกจากวรรณยุกต์คงระดับอื่นๆ ได้ดี แต่มีความสับสนในการจำแนกวรรณยุกต์สามัญออกจากวรรณยุกต์เอก รวมทั้งจำแนกความแตกต่างระหว่างวรรณยุกต์โทและวรรณยุกต์จัตวาซึ่งเป็นวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับออกจากกันและออกจากวรรณยุกต์อื่นๆได้ดี
The objectives of this thesis are to investigate and compare the acoustic characteristics of Bangkok Thai tones produced by Pattani Malay children of 6-7 years old living in the provinces of Bangkok (MBKK) and Pattani (MPTN) and also to test the perceptual efficiency of tones produced by those two groups of speakers by Bangkok Thai native speakers. The acoustic characteristics studied in this thesis are the fundamental frequency (F0), the F0 range, and the duration. The data was collected from 10 speakers, 5 speakers in each group. The five tones produced by Bangkok Thai native speakers were also studied in order to be used as references. The task used in the perception study was an identification task. The tones produced by those two groups of Pattani Malay children were used as the stimuli by using two types of test, the three-choice test and the five-choice test. The behavior of F0 shows that the F0 shapes of Tone2 (low), Tone3 (falling), and Tone5 (rising) of the three groups of speakers were not significantly different. The shape of Tone1 (mid) of the MBKK group was mid-falling, in the MPTN group was lower-mid and also mid-falling. The shape of Tone4 (high) of the MBKK group was mid-rising-falling and the shape of Tone4 of the MPTN group was mid-rising-falling and mid-rising. Furthermore, it was also found that the F0 range of the contour tone was wider than that of the level tone. There was a relationship between the behavior of duration and the F0 height of the tone, i.e. the duration of the tone with increasing values at the end (Tone4, Tone5) was longer than that of the tone with decreasing values at the end (Tone2, Tone3). The differences between the F0, F0 range and duration of Tone1 and Tone2 were not statistically significant in both of the MBKK group and the MPTN group. The F0 and duration of Tone3 and Tone5 in each group were significantly different. In the perception test, 30 listeners were able to correctly identify all five tones produced by two groups of Pattani Malay children in both of the three-choice test and the five-choice test. The listeners could identify Tone4 from the others in the level tone group but there was confusion between Tone1 and Tone2 and they could identify Tone3 and Tone5 in the contour tone group from each other and the other tones.


SUBJECT

  1. ภาษาไทย -- สัทศาสตร์
  2. ภาษาไทย -- การออกเสียง
  3. Thai language -- Phonetics
  4. Thai language -- Pronunciation

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis520476 LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาศาสตร์ LIB USE ONLY