Authorสุวรรณา สุภิมารส
Titleการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้เพื่อการส่งออก : รายงานการวิจัย / โดย สุวรรณา สุภิมารส, พันธิพา จันทวัฒน์, นินนาท ชินประหัษฐ์
Imprint [กรุงเทพฯ] : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6305
Descript ก-ฉ, 90 หน้า : ภาพประกอบ, แผนภูมิ ; 30 ซม

SUMMARY

ผลไม้ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นสินค้าออกที่ทำเงินให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีรสชาติดี มีหลายชนิดหมุนเวียนตลอดปี และไม่มีคู่แข่งในตลาดโลก แต่ตลาดสินค้าออกสำหรับผลไม้จากประเทศไทยยังประสบปัญหาอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะการเสื่อมเสียด้านคุณภาพ จึงควรมีการศึกษาเพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการที่จะทำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถควบคุมผลไม้ที่ส่งออกให้มีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของลูกค้า โครงการวิจัยนี้ได้ศึกษารวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผลไม้โดยตรง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตผลแต่ละชนิด และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตลาด รวมทั้งการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ศึกษาหาอัตราการหายใจ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและองค์ประกอบทางเคมี ศึกษาการเสื่อมเสียเนื่องจากความเย็นของผลไม้บางชนิด เป็นต้น ข้อมูลที่รวบรวมได้ชี้ให้เห็นว่าการเพาะปลูกผลไม้มีแหล่งกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาลผลิตของผลไม้แต่ละชนิดโดยเฉลี่ยจะนานประมาณ 1-2 เดือน โดยมีช่วงเวลาการผลิตแตกต่างกัน หมุนเวียนไปตลอดทั้งปี ผลไม้ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน กล้วย มะละกอ องุ่น และมะม่วง ประเทศผู้รับซื้อที่สำคัญเรียงตามลำดับ คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยมูลค่าของการส่งออกในแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า การใช้อุณหภูมิต่ำเก็บรักษาผลไม้อาจเป็นทางหนึ่งที่ช่วยรักษาคุณภาพได้ดีและง่าย แต่จะต้องใช้อุณหภูมิที่ไม่ต่ำจนทำให้เกิดการเสื่อมเสีย ซึ่งมีลักษณะอาการและอุณหภูมิที่ทำให้เกิดในผลไม้แต่ละชนิดแตกต่างกันไป และอาจใช้เทคนิคในการเก็บรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้ที่จะให้ผลดีที่สุดคือ ต้องมีการควบคุมคุณภาพให้ครบทุกขั้นตอนตั้งแต่ผู้เพาะปลูกจนถึงมือผู้บริโภค
Although exportation of fresh fruits has become an important foreign exchange earner for Thailand, export market for Thai fruits still faces various problems especially the low quality of fruits. Research studies to find out apprepriate ways to use technologies for controlling the export fruit of a quality and standard that consumers demand, are thus indispensable. This study is divided into two parts. The first part is to collect data about several parameters of Thai fresh fruit industry such as factors involved fruits' qualities, their production source and season, and fruit marketing. In the second part of the project, determination of respiration rate, postharvest physiological changes, and chilling injuries of some fruits were carried out in the laboratory. The collecting data indicated that Thai fruit production sources depend on the varieties and distribute to every region of the country, the production time of each variety on the average will delay from one to two months, but varieties of them supply in year-round. The fruits which have maximum export value are longan, durian, banana, papaya, grape and mango respectively. For foreign market, Hongkong is the most important with Singapore and Malaysia be the second and third. The Thai fruit export value also has tendency to increase annually. Experiments revealed that using of low temperature could be the easiest way to extend the fruits' shelf-life, but the temperature should be high enough to prevent chilling injury which are different from one kind to another. However, the only and the best way to control improve qualities of fruit for export is to control their qualities from the very early stage i.e. from the hands of the planters to the hands of the consumers.


SUBJECT

  1. ผลไม้ -- ไทย -- แง่เศรษฐกิจ
  2. ผลไม้ -- ไทย -- การเก็บและรักษา

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library : Stack (Contact Staff)338.174 ส873ร CHECK SHELVES
Central Library : Stack (Contact Staff)338.174 ส873ร CHECK SHELVES