Authorสิรินมาศ ศรีดาชาติ
Titleการรับรู้ร่างกายตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองด้านร่างกายและทัศนคติต่อการกินอาหารของนักศึกษาหญิง / สิรินมาศ ศรีดาชาติ = Body perception, body-esteem, and eating attitudes of female university students / Sirinmas Sridachati
Imprint 2553
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29466
Descript ง-ฏ, 122 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ร่างกายตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองด้านร่างกายและทัศนคติต่อการกินอาหารของนักศึกษาหญิง กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตหญิงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 432 คน จำแนกตามดัชนีมวลกาย 3ระดับ จากสาขาวิชาที่เรียน 4สาขาวิชา (นิสิต 108 คนในแต่ละกลุ่ม) กลุ่มตัวอย่างตอบมาตรวัดการรับรู้ร่างกายตนเอง (Stunkard, Sorensen, & Schulsinger, 1983) มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเองด้านร่างกาย (Mendelson, Mendelson & White, 2001) และมาตรวัดทัศนคติต่อการกินอาหาร (Garner, Olmsted, Bohr & Garfinkel, 1982) ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.นักศึกษาหญิงที่รับรู้ร่างกายตนเองผอมเห็นคุณค่าในตนเองด้านร่างกายในระดับที่สูงกว่านักศึกษาหญิงที่รับรู้ร่างกายตนเองสมส่วนและนักศึกษาหญิงที่รับรู้ร่างกายตนเองอ้วน และนักศึกษาหญิงที่รับรู้ร่างกายตนเองสมส่วนเห็นคุณค่าในตนเองด้านร่างกายในระดับที่สูงกว่านักศึกษาหญิงที่รับรู้ร่างกายตนเองอ้วน 2.นักศึกษาหญิงที่มีการรับรู้ร่างกายตนเองอ้วนมีคะแนนทัศนคติต่อการกินอาหารสูงกว่านักศึกษาหญิงที่มีการรับรู้ร่างกายตนเองผอมและนักศึกษาหญิงที่มีการรับรู้ร่างกายตนเองสมส่วน แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างนักศึกษาหญิงที่มีการรับรู้ร่างกายตนเองผอมและสมส่วน 3.การเห็นคุณค่าในตนเองด้านร่างกายในด้านความรู้สึกทั่วไปเกี่ยวกับลักษณะทางร่างกายที่ปรากฏ (BE-Appearance) และด้านความพึงพอใจในน้ำหนัก (BE-Weight) มีความสัมพันธ์ทางลบกับทัศนคติต่อการกินอาหาร (p < .01) 4.การเห็นคุณค่าในตนเองด้านร่างกายทั้ง 3 ด้านช่วยพยากรณ์ทัศนคติต่อการกินอาหารของนักศึกษาหญิงได้ (p < .001) โดยสามารถทำนายทัศนคติต่อการกินอาหารในนักศึกษาหญิงได้ร้อยละ 21
The purpose of this research was to investigate body perception, body esteem and eating attitudes of female university students. Participants were 432 females students from Chulalongkorn Univeristy classified by three levels of body mass index from 4 fields of study (108 students in each groups). The research instruments were Body Perception (Stunkard, Sorensen & Schulsinger, 1983), Body-Esteem (Mendelson, Mendelson & White, 2001) and Eating Attitudes (Garner, Olmstod, Bohr & Garlinkel, 1982). A One-way ANOVA analysis and Multiple Regression Analysis were used to analyze the data. The major findings as follows: 1.Female students whose body perception was thin had higher body- esteem than those whose perceptions were slender and fats. 2.Female students whose body perception was fat had higher score of eating attitudes than those whose perceptions were slender and thin. There were not significant in eating attitudes between female students whose body perception was slender and thin. 3.Significant and negative correlation were found between BE-Appearance and BE-Weight (p < .01) 4.For the predictive abilities, all predictors together accounted for 21 percent of the variance in predicting eating attitudes.


SUBJECT

  1. ภาพลักษณ์ร่างกาย
  2. ภาพลักษณ์ร่างกายในวัยรุ่น
  3. วัยรุ่น
  4. ความภูมิใจแห่งตนในวัยรุ่น
  5. การรับรู้ตนเองในวัยรุ่น
  6. การกินผิดปกติ
  7. Adolescence
  8. Self-esteem in adolescence
  9. Body image
  10. Body image in adolescence
  11. Self-perception in adolescence
  12. Eating disorders

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis531606 LIB USE ONLY