Authorนิภาภรณ์ ถิรเศรษฐ์
Titleศิลปะการประพันธ์บทละครของนาตาลี ซาร์โรต / นิภาภรณ์ ถิรเศรษฐ์ = Ecriture theatrale de Nathalie Sarraute / Nipaporn Tirasait
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24835
Descript x, 235 แผ่น

SUMMARY

ละครของนาตาลี ซาร์โรตมุ่งเน้นที่บทเจรจาในวงสนทนาแบบเป็นกันเองระหว่างญาติมิตร และเพื่อนฝูง เมื่อพิจารณาอย่างผิวเผิน จะรู้สึกว่าเป็นบทสนทนาทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน วกวนไปมา และจับเนื้อหาสาระหรือเหตุการณ์สำคัญไม่ได้ในแง่นี้ ซาร์โรตอธิบายไว้ว่าเป็นกลวิธีการประพันธ์บทเจรจาแบบ ซ้อนกันเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับพื้นผิว จุดเด่นของกลวิธีการประพันธ์ตัวบทเจรจาอยู่ที่การสร้างบทสนทนา แบบไม่ลงรอยกันระหว่างตัวละครสองฝ่าย และสิ่งที่ถกเถียงกันเกิดจากเรื่องที่แลดูไม่มีความสำคัญในการสื่อ ภาษา เช่น การเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน น้ำเสียง การออกเสียง และความเงียบ เป็นต้น แต่ในระดับ ’'ทรอปิสม์’' นาตาลี ซาร์โรตแสดงให้เห็นว่ารายละเอียดเล็กๆ น้อยๆในระดับพื้นผิวที่เกิดขึ้นระหว่างการสนทนา นอกจากจะ สามารถสื่อความหมายได้หลายนัยแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีความหมายในระดับลึกซ่อนอยู่ กล่าวคือมี ความแวบไหวเกิดขึ้นในจิตส่วนลึกที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังคำพุด และวิธีสื่อความหมายของตัวละครฝ่ายหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง ความแวบไหวของจิตแบบนี้จะปรากฏขึ้นอย่างฉับพลัน และเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วในอาณาจักรอันลึกล้ำที่มีอยู่ก่อนจิตสำนึก ดังนั้น บทละครของนาตาลี ซาร์โรตจึงไม่ ต้องอาศัยเนื้อหา แก่นเรื่อง หรือเหตุการณ์สำคัญอื่นใดในการดำเนิน “เรื่อง” ไม่ต้องระบุเวลา และสถานที่ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับฉาก นอกจากนี้ ตัวละครก็ไม่จำเป็นต้องมีความสมจริงตามหลักจิตวิทยา ไม่มีอัตลักษณ์ หรือมีลักษณะเด่นเป็นแบบฉบับ และตัวละครส่วนใหญ่ไม่มีแม้กระทั่งชื่อเฉพาะ เนื่องด้วยผู้ประพันธ์มุ่งเน้น ลักษณะสากลในฐานะมนุษย์ซึ่งสามารถรับรู้ความแวบไหวที่ปรากฏอยู่ภายในจิตส่วนลึกได้เป็นสำคัญ กล่าวโดยสรุปคือ ศิลปะการประพันธ์บทละครของนาตาลี ซาร์โรต มีความโดดเด่นในการนำ เสนอกลวิธี และรูปแบบการประพันธ์ละครแนวใหม่ ซึ่งถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการละครแบบ “วจี นาฏกรรม” ให้เป็นที่ยอมรับและนิยมกันอย่างแพร่หลายในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้อาจกล่าวได้ ว่า นาตาลี ซาร์โรต ยังสามารถรักษาเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในแง่ที่มุ่งสื่อให้ผู้ชมเข้าใจ และมีส่วนร่วมใน “นาฏกรรมเบื้องลึก” ระดับ “ทรอปิสม์” ซึ่งเป็นนาฏกรรมอันแท้จริง ที่โลดแล่นอยู่ภายในอาณาจักรอันลี้ลับของ จิตมนุษย์
Les six pieces de Nathalie Sarraute se focalisent particulièrement sur le drame de la parole. Si la dramaturge a choisi la conversation banale de la vie quotidienne, de la sphère privée, des cercles familiaux et amicaux, c’est pour montrer que la conversation anodine est plus complexe qu’elle n’apparaît au premier abord. Chez N. Sarraute, le dialogue se situe sur les deux plans: celui de l’apparence et celui des tropismes. Sur le plan de l’apparence, les personnages sarrautiens sont simplement en contact avec les autres dans l’esprit d’une conversation amicale et familiale. Mais sur le plan des tropismes, il existe toujours les drames interieurs chez ses personnages: quelque chose de genant, de mena^ant, d’angoissant commence à se produire, soit parce que certains mots ont été prononcés, so it parce qu’ils sont restés dans le silence. Sans fable, ni action, ni personnage identifié, les conflits se nouent au coeur de l’activite langagière. Et la réflexion de la dramaturge sur le psychisme renouvelé et inanalysable nous permettrait d’apporter un regard nouveau, le plus profond, le plus vrai du moi et du monde. Notre recherche est ainsi centree sur l’art de N. Sarraute qui vise à sensibiliser le lecteur-spectateur à cette vie souterraine, à travers le dialogue sur des riens.


SUBJECT

  1. ซาร์โรต
  2. นาตาลี
  3. ค.ศ.1902-1999 -- การวิจารณ์และการตีความ
  4. ซาร์โรต
  5. นาตาลี
  6. ค.ศ.1902-1999 -- แนวการเขียน
  7. บทละครฝรั่งเศส -- บทวิจารณ์
  8. Sarraute
  9. Nathalie
  10. 1902-1999 -- Criticism and interpretation
  11. Sarraute
  12. Nathalie
  13. 1902-1999 -- Style
  14. French drama -- 20th century
  15. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
  16. อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. French LIB USE ONLY
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis471903 LIB USE ONLY