Authorเฉลิมชล เกษจุโลม, ผู้แต่ง
Titleการใช้ประโยชน์จากกากถั่วเหลืองและกลูเตนจากข้าวโพดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนสำหรับปลากะพงแดง Lutjanus argentimaculatus วัยรุ่น / เฉลิมชล เกษจุโลม = Utilization of soybean meal and corn gluten meal as alternative protein sources for juvenile red snapper Lutjanus argentimaculatus / Chalermchon Katejulom
Imprint 2541
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68675
Descript ก-ญ, 81 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

ศึกษาการใช้ประโยชน์จากกากถั่วเหลืองและกลูเตนจากข้าวโพดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนสำหรับ ปลากะพงแดง Lutjanus argentimaculatus วัยรุ่น เพื่อให้มีการเติบโตและอัตรารอดสูงสุดโดยออกแบบการทดลองแบบสุ่มตลอด การทดลองแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การทดลองที่ 1 ศึกษาอัตราส่วนโปรตีนต่อไขมัน ที่เหมาะสมต่อการการเติบโตของปลากะพงแดงวัยรุ่นน้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 7.78 ± 0.15 กรัม ทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ โดยใช้อาหารที่มีโปรตีนต่อไขมัน 6 สูตรอาหาร (25/10, 35/10, 45/10, 35/5, 35/15 และ 35/20) (%น้ำหนักต่อน้ำหนัก) เลี้ยงปลาในตู้กระจกขนาด 30 X 60 X 30 ลบ.ซม.ตู้ละ 12 ตัว ทำการทดลอง 2 ซ้ำต่อ 1 สูตรอาหาร ผลการทดลองปรากฏว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร 35/5 ให้การเติบโตดีที่สุด (น้ำหนักตัวตอนสิ้นสุดการทดลอง 27.74 ± 2.03 กรัม) แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร 35/10 และ 45/10 (น้ำหนักตัวเฉลี่ย 23.29 ± 2.11 กรัม และ 22.41 ± 2.47 กรัม ตามลำดับ) การทดลองที่ 2 ศึกษาการใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองและกลูเตนจากข้าวโพดทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอาหารปลากะพงแดงวัยรุ่น น้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 7.83 ± 0.09 กรัมโดยใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนต่อไขมัน 35/10 มีสัดส่วนปลาป่นต่อกากถั่วเหลืองต่อกลูเตนจากข้าวโพด (ส่วนต่อส่วนต่อส่วน) 8 สูตรอาหาร (1/0/0, 1/1/1, 2/1/0, 2/0/1, 2/2/1, 2/1/2, 2/1/1 และ 3/1/1) ผลการทดลองพบว่าอาหารสูตร 1/0/0 ให้การเติบโตสูง (น้ำหนักเฉลี่ย 20.1 ± 2.2 กรัม) แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับปลาที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหาร 3/1/1 (น้ำหนักตัวเฉลี่ย 20.0± 0.3 กรัม) นอกจากนี้อาหารสูตร 3/1/1 ให้อัตราการเติบโตสัมพัทธ์สูงสุด (0.05 ± 0.01 ต่อวัน) และมีอัตรารอด 100 % ดังนั้นการใช้กากถั่วเหลืองและกลูเตนจากข้าวโพดทดแทนปลาป่น 40 % ทำให้ปลากะพงแดงเติบโตสูงสุด
Utilization of soybean meal and com gluten meal as alternative protein sources on growth and survival of juvenile red snapper Lutjanus argentimaculatus was conducted using a completely randomized design. The study was divided in to 2 experiments. The first experiment was designed to evaluate optimal protein and lipid ratio for growth. Fish at 7.78 ± 0.15 g initial average body weight were used in the experiment. Six experimental diets with protein per lipid ratio s of 25/10, 35/10, 45/10, 35/5, 35/15 and 35/20 (% w/w) were evaluated. All fish were fed to satiation for 9 weeks. Twelve fish raised in 30 x 60 x 30 cm³ aquaria were considered as a replicate. Each experiment group was done in duplication. The result showed that fish fed 35% protein and 5% lipid die t gave the highest growth (average individual weight 27.74 ± 2.03 g) but it was not significantly different from fish fed 35/10 and 45/10 diet (23.21 ± 2.11 g and 22.41 ± 2.47 g, respectively). In the second experiment soybean meal and com gluten meal was used to substitute fish meal in order to study their effect on growth of juvenile red snapper (initial weight 7.83 ± 0.09 g). This experiment was done in the same manner as the first one. Protein per lipid ratios used was 35/10 (% w/w). Eight experimental diet using different fish meal per soybean meal per com gluten meal ratios (1/0/0, 1/1/1, 2/1/0, 2/0/1, 2/2/1, 2/1/2, 2/1/1 and 3/1/1) were evaluated. The result showed that fish fed 1/0/0 diet gave the maximum growth rate (average individual weight 20.1 ± 2.2 g) but was not different from fish fed 3/1/1 diet (average individual weight 20.0 ± 0.3 g). The fish fed 3/1/1 diet gave the best dialy relative growth rate (0.05 ± 0.01) and highest survival rate 100%. Thus using soybean meal and com gluten replacing fish meal may recommended at 40 %


SUBJECT

  1. กากถั่วเหลือง
  2. กลูเตน
  3. ข้าวโพด
  4. โปรตีน
  5. โปรตีนจากพืช
  6. ปลากะพงแดง -- การเจริญเติบโต
  7. Soybean meal
  8. Gluten
  9. Corn
  10. Proteins
  11. Plant proteins
  12. Red snapper -- Growth