Authorเกื้อ วงศ์บุญสิน
Titleการศึกษาอัตราคงใช้วิธีคุมกำเนิดและอัตราล้มเหลว โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสองโครงการ ที่มีรูปแบบสอบถามการใช้วิธีคุมกำเนิดต่างกัน / เกื้อ วงศ์บุญสิน วรชัย ทองไทย, และ มินจา คิม โชว์
Imprint กรุงเทพฯ : สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล : East-West Population Institute, East-West Center, 2536
Edition พิมพ์ครั้งที่ 1
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/234
Descript ก-ข, 36 หน้า : แผนภูมิ ; 30 ซม

SUMMARY

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์อัตราคงใช้และล้มเหลวของการใช้วิธีคุมกำเนิด โดยใช้วิธีวิเคราะห์ 2 วิธี คือ วิธีตารางชีพและวัธีตัดขวางแบบปฏิทิน (life table and cross-sectional calendar approach)กับข้อมูลโครงการสำรวจ 2 โครงการคือ โครงการตัวกำหนดและผลกระทบของแบบแผนการใช้การคุมกำเนิดในประเทศไทย (CUPS) และโครงการสำรวจประชากรและการอนามัยในประเทศไทย (TDHS) ซึ่งทั้ง 2 โครงการได้ทำการสำรวจในปีเดียวกันคือ 2530 ผลการวิเคราะห์พบว่า อัตราคงใช้จากข้อมูล CUPS (ซึ่งเป็นการถามในลักษณะปฏิทินการใช้เป็นรายเดือน) ต่ำกว่าของโครงการ TDHS เล้กน้อย ในขณะที่อัตราล้มเหลวของ CUPS มีแนวโน้มสูงกว่าของ TDHS อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างจากการคาดประมาณอัตราคงใช้และล้มเหลวจากข้อมูลทั้ง 2 โครงการมีไม่มากนัก จึงสรุปได้ว่าวิธีการเก็บข้อมูลของ 2 โครงการสามารถใช้แทนกันได้ ค่าคาดประมาณอัตราคงใช้และล้มเหลวด้วยการวิเคราะห์แบบตัดขวาง จะมีความน่าเชื่อถือได้เมื่อช่วงเวลาการศึกษานาน 2 ปีหรือมากกว่า ส่วนข้อมูลจากโครงการ TDHS ก็ให้ค่าประมาณที่น่าเชื่อถือได้และมีข้อยุ่งยากในการเก็บข้อมูลน้อยกว่าของโครงการ CUPS อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแง่ระเบียบวิธีวิจัยแล้ว วิธีปฏิทินน่าจะใช้ได้ง่ายกว่าในกรณีของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้พบว่า ห่วงอนามัยเป็นวิธีที่มีผู้ "ยอมรับ" มากที่สุด ตามด้วยยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด หลั่งภายนอก นับระยะปลอดภัย และถุงยางอนามัย ส่วนวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ ยาฉีดคุมกำเนิด รองลงไปคือ ยาเม็ดคุมกำเนิด และห่วงอนามัยซึ่งมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน รองลงไปอีกคือ ถุงยางอนามัย โดยหลั่งภายนอกและนับระยะปลอดภัยมีประสิทธิภาพต่ำที่สุด
Two approaches. Life-table and Laing cross-sectional calendar approach were applied to two sets of data, the Determinants and Consequences of Contraceptive Use Pattern in Thailand (CUPS) and the 1987 Thailand Demographic and Health Survey (TDHS). Both surveys were taken in the year 1987. The results show that the contraceptive use calendar in CUPS yields slightly lower continuation rates and slightly higher failure rates compared to the results from TDHS. However, the differences in estimated continuation and failure rates are small enough to conclude that either method of data collection can be used to provide those basic rates. The estimated rates for cross-section approach were reliable when the period of observation is two years or more. TDHS type data collection provide reasonable estimates of the rates with moderate effort in data collection. Calendar data is probably more difficult to collect. However, if interview training and data collection are not big obstacles, the calendar method is recommended for more accurate data collection. Furthermore, it is found that among temporary methods IUD was the most acceptable contraceptive method in every period of observation. The second method was pills, followed by injections, withdrawal, rhythm and the least was condom. However, the most effective method was injections while pills and IUD were about the dame level. The least effective methods were withdrawal and rhythm while condom had moderate effectiveness.


SUBJECT

  1. family planning
  2. คุมกำเนิด -- ไทย
  3. การวางแผนครอบครัว -- ไทย

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor)[TAIC] 48711 CHECK SHELVES
Population Information CenterP.94/Z.354/Ke LIB USE ONLY
Central Library (5th Floor)304.666 ก861ก CHECK SHELVES
Central Library (5th Floor)304.666 ก861ก CHECK SHELVES
Asia Study Institute LibraryHQ766.5.T5 ก861ก 2536 CHECK SHELVES
Population Information CenterIPS No.208/36 LIB USE ONLY