Authorปิยนาถ บุนนาค
Titleการวิเคราะห์โอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคม ในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2394) : รายงานผลการวิจัย / โดย ปิยะนาถ บุนนาค
Imprint กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาฯ, 2528
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2755
Descript ก-ฏ, 320 หน้า ; 23 ซม

SUMMARY

งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งเน้นศึกษาการเลื่อนชั้นทางสังคมของบุคคลในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2325-2394) โดยเน้นศึกษาการเลื่อนชั้นทางสังคมในระบบราชการซึ่งเป็นวิถีทางที่บุคคลจะได้เลื่อนชั้นทางสังคมมากที่สุด ทั้งนี้โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 5 บท นอกเหนือจากบทนำซึ่งกล่าวถึงแนวความคิดเบื้องต้นทางด้านสังคมวิทยาเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นทางสังคมแล้ว ได้แก่บทที่ 1 ว่าด้วยการจัดช่วงชั้นทางสังคมของสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น และแนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลื่อนชนชั้นทางสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บทที 2 เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของบ้านเมืองที่ส่งผลต่อสถานการณ์ในการเลื่อนชั้นทางสังคม บทนำและสองบทแรกนี้เป็นพื้นฐานและแนวทางสำหรับการศึกษาการเลื่อนชั้นทางสังคมในสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมืองซึ่งเป็นเกณฑ์และขอบเขตในการศึกษาการเลื่อนทางสังคมในงานวิจัยนี้ คือ ในสถานการณ์เมื่อพระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์ ในสถานการณ์บ้านเมืองปกติ และในสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ ในบทที่ 3 และบทที่ 4 และบทที่ 5 ตามลำดับ ทั้งนี้สามบทหลังนี่จะพิจารณาถึงประเภทของบุคคลท่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมในแต่ละสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลื่อนชั้นทางสังคม แบบและลักษณะของการเลื่อนชั้นทางสังคม ตลอดจนผลต่อสังคมไทยโดยส่วนรวมผลการศึกษาพบว่า การจัดช่วงชั้นทางสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นแบ่งบุคคลออกเป็นสองชนชั้นใหญ่ คือ ชนชั้นผู้ปกครองซึ่งได้แก่ ไพร่ กับทาส นอกจาก นี้ยังมีกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะพิเศษไปจากสองชนชั้นดังกล่าว ได้แก่บุคคลนอกระบบไพร่คือชาวจีน กับชาวตะวันตกประเภทหนึ่ง และสมณชีพราหมณ์อีกประเภทหนึ่ง ปรากฏว่าบุคคลที่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมเป็นจำนวนมากในทุกสถานการณ์ คือ กลุ่มเจ้า และขุนนางเช่นเดียวกับพระสงฆ์ซึ่งแม้จะมีจำนวนผู้ได้เลื่อนชั้นทางสังคมไม่มากเท่าบุคคลสองกลุ่มแรกแต่ก็เป็นพวกที่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมในทุกสถานการณ์ ส่วนไพร่เพิ่งปรากฏการเลื่อนชั้นทางสังคมอย่างชัดเจนในภาวะบ้านเมืองปกติ เช่นเดียวกับบุคคลนอกระบบไพร่ทั้งชาวจีนและชาวตะวันตก
สำหรับทาสนั้น ไม่ปรากฏการเลื่อนชั้นทางสังคมให้เห็นเป็นตัวบุคคลทั้งๆที่กฎหมายเปิดโอกาสให้มีการเลื่อนชั้นทางสังคมได้ นอกจากนี้เจ้าและขุนนางเมืองประเทศราชได้เลื่อนชั้นทางสังคมเป็นจำนวนมากในสถานการณ์บ้านเมืองมาปกติอันเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองภายนอก สำหรับสตรีนั้นปรากฏว่าการเลื่อนชั้นทางสังคมมีบ้าง แต่น้อยกว่าบุรุษมาก การเลื่อนชั้นทางสังคมมีทั้งการเลื่อนขึ้นซึ่งเป็นการเลื่อนข้นแบบปกติกับการเลื่อนขึ้นแบบข้ามขั้น และการเลื่อนลง ซึ่งได้แก่การถูกถอดออกจากบรรดาศักดิ์ และตำแหน่งลงเป็นไพร่ ถูกจำคุกหรือประหารชีวิต การเลื่อนขึ้นและการเลื่อนลงนี้ส่งผลกระทบต่อครอบครัวและเครือญาติด้วย ปรากฎว่าการเลื่อนชั้นทางสังคมในแนวตั้งและเป็นการเลื่อนขึ้นมากกว่าเลื่อนลง นอกจากนี้มีบุคคลจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มขุนนางได้เลื่อนชั้นทางสังคมในทางขึ้นและลงภายในชั่วอายุของตนหลายครั้ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเลื่อนชั้นทางสังคมระหว่างชั่วอายุของบุคคลกับบิดาแล้ว เท่าที่พบ ขุนนางกลุ่มนี้ได้เลื่อนขั้นทัดเทียมกับบิดา สำหรับการจะเลื่อนข้นหรือลงในลักษณะอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยต่างๆทั้งภายนอกและภายในประกอบกัน ผลจากการศึกษาเรื่องนี้ทำให้ได้ข้อสรุปว่าการเลื่อนชั้นทางสังคม ในลักษณะดังกล่าวส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมเปิดที่บุคคลกลุ่มและประเภทต่างๆ คือชนชั้นผู้ปกครองและถูกปกครองซึ่งอยู่ในระบบไพร่ บุคคลนอกระบบไพร่ สมณชีพราหมณ์ ตลอดจนสตรีได้มีโอกาสเลื่อนชั้นทางสังคมแม้ว่าโอกาสของชนชั้นผู้ปกครองจะมีมากกว่าก็ตาม
The aim of this research is to study the social mobility of individuals in Thai society during the Early Ratanakosin Period, that is, from the reign of King Rama I to the reign of King Rama III (1786-1851), with emphasis on social mobility within the system of government services, the means by which most individuals became socially mobile, In addition to the Introduction, which presents basic sociological concepts concerning social mobility, the study comprises five chapters. Chapter One deals with the social stratification of Thai society, relation ships between the classes, and basic concepts concerning social mobility during the Early Ratanakosin Period. Chapter Two concerns the socio-political conditions the affected the circumstances of social mobility. The Introduction and the first two chapters provide a basis and guidelines for studying social mobility in the various socio-political circumstances which in turn provide the criteria and scope for the study undertaken in this research. Theses circumstances include the ascendency of a new king to throne, normal socio-political circumstances (times of peace), and abnormal socio-political circumstances (time of war) Chapters 3, 4 and 5 respectively deal with the categories of individuals who became socially mobile in each of the circumstances, the causes and factors affecting social mobility, the types and characteristics of social mobility as well as the effects on Thai society as a whole. Form the findings of this study the social stratification of Thai society in the Early Ratanakosin Period shows a division into two large classes, the ruling class comprised of princes and nobles and the ruled comprised of commoners (phrai) and slaves. In addition, there were other groups of individuals with special characteristics differentiating them from the former to classes. These latter groups included individuals outside the phrai system, namely, Chinese and Westerners on one category and members of religious orders in another. It appears that princes and nobleshad high rates of social mobility in all circumstances; likewise, priests experienced social mobility in all circumstances although in smaller numbers than princes and nobles. Commoners, as well as Chinese and Westerners, who were outside the phrai system, seem to have clearly achieved social mobility only in peace time. As for slaves there appear to have been no individual cases of social mobility even though laws provided opportunities for such mobility. In addition, the prices and nobles of tributary townships had high rates of social mobility in times of war, which arose from external political conflicts. Finally, women seem to have achieved some social mobility but less than that of men. Social mobility consisted of both upward mobility-either a normal rise in rank and position or a cross-rank rise-and downward mobility-removal of one's titular rank and removal from one's government position to the status of commoner, imprisonment or execution. In either case, the effects were felt by the individual'sfamily and relatives. It appears that most social mobility was vertical and that most there was more upward mobility than downward mobility. In addition, a number of individuals, nobles in particular, managed to both rise and lower their status several times within their lifetime. Comparison of the social mobility of these nobles within their lifetime with that of their fathers shows that their upward mobility was equivalent to that their fathers. Upward and downward social mobility were dependent on various causes and factors, both external and internal. It can be concluded from this study that the aforementioned features of social mobility resulted in Thai society being an open society. The various groups and categories of individuals-the ruling phrai system members of religious orders, as well as women-all had opportunities for social mobility even of the opportunities of the ruling class were greater.


SUBJECT

  1. ชนชั้นทางสังคม
  2. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์
  3. 2325-2394
  4. ไทย -- ภาวะสังคม

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library : Stack (Contact Staff)305.5 ป36ร 2528 CHECK SHELVES
Education Library : Research Collection305 ป365ก CHECK SHELVES
Political Science Library305.5 ปก CHECK SHELVES
Political Science Library305.5 ปก CHECK SHELVES
Political Science Library305.5 ปก CHECK SHELVES
Thai Studies Libraryวจ.305.5 ป236ร CHECK SHELVES
Population Information Centerย.143/ปก LIB USE ONLY
Scientific and Technological Research Equipment Centre Library : Government PublicationJQ1749 ป619 2528 CHECK SHELVES
Arts Library : StackDS578 ป236ร 2528 CHECK SHELVES