Authorสุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์
Titleพระอภัยมณี : การศึกษาในเชิงวรรณคดีวิจารณ์ / สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ = Phra Abhai Mani : a critical study / Suvanna Kriengkraipetch
Imprint 2514
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27043
Descript [8], 211 แผ่น

SUMMARY

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะเด่นของเรื่องพระอภัยมณีในด้านต่างๆ 3 ด้าน ด้วยกัน คือ แก่นเรื่อง ลักษณะตัวละคร ระบบสัญญลักขณ์และภาพพจน์ ในบทที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงสาเหตุที่เลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ว่า เนื่องมาจากความสนใจในวรรณคดีวิจารณ์แผนใหม่ และในงานประพันธ์ของสุนทรภู่ โดยเฉพาะเรื่องพระอภัยมณี ในบทที่ 2 เป็นการศึกษาแก่นเรื่องย่อยซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 แก่น แก่นแรก คือ การเดินทางผจญภัยซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่ตัวเอก เพื่อให้มีลักษณะเป็นบุคคลในอุดมคติทั้งในด้านการดำเนินชีวิตส่วนตัวและส่วนรวม แก่นเรื่องที่ 2 คือการศึกษาวิชา มีความเกี่ยวกันกับแก่นเรื่องแรก โดยเป็นการเตรียมตัวให้แก่ตัวเอกก่อนที่จะออกผจญภัย แก่นเรื่องที่ 3 ว่าด้วยการพลัดพรากของตัวละครและการขาดความอบอุ่นภายในครอบครัวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับแก่นที่ 4 ความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ลูก แก่นที่ 3 และ 4 นี้น่าจะมีผลมาจากชีวิตส่วนตัวสุนทรภู่ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตบางแง่ของตัวละคร แก่นเรื่องย่อยทั้ง 4 นี้ แสดงลักษณะโครงเรื่องของวรรณคดีไทยทั่วๆ ไป และในขณะเดียวกัน ก็มีลักษณะเฉพาะของสุนทรภู่ปรากฏอยู่ด้วย ในบทที่ 3 กล่าวถึงลักษณะเด่นของตัวละคร ได้แก่ พระอภัยมณี ตัวละครหญิง และตัวละครที่เป็นอมนุษย์ ตัวละครเหล่านี้มีลักษณะเด่นที่เป็นตัวของตัวเอง ต่างไปจากตัวละครในเรื่องวรรณคดีอื่นๆ ซึ่งมักจะมีแบบตายตัว โดยเฉพาะพระอภัยมณีนั้น มีลักษณะต่างจากตัวเอกในเรื่องอื่นๆ มาก ซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถจดจำตัวพระอภัยมณีได้ดี ส่วนตัวละครหญิงนั้นก็มีบทบาทที่แปลกและเด่น ซึ่งมีเค้าที่แสดงว่าสุนทรภู่ได้อิทธิพลมาจากบุคคลใกล้ชิดและเหตุการณ์ในสมัยนั้นด้วย บทที่ 4 ศึกษาระบบสัญญลักขณ์และภาพพจน์ อันได้แก่สัญญลักขณ์ของทะเลและเพลงปี่ ซึ่งมีความผูกพันกับลักษณะของตัวละครและแก่นเรื่อง ในแง่ที่ว่าตัวละครมีความว้าเหว่แฝงอยู่ และแก่นเรื่องก็กล่าวถึงการขาดความอบอุ่นในครอบครัว บทที่ 5 เป็นการศึกษาเพื่อกำหนดประเภทของเรื่องพระอภัยมณีผู้เขียนเห็นว่า พระอภัยมณีน่าจะจัดให้อยู่ในประเภทโรมานซ์ตามหลักการแบ่งประเภทวรรณคดีสากล และเรื่องโรมานซ์นี้น่าจะตรงกับศัพท์วรรณคดีไทยว่า เรื่องประโลมโลก
The objective of this thesis is to study the outstanding characteristics of Phra Abhai Mani in three main aspects: theme, characterization, symbolism and imagery. Chapter 1 is concerned with the writer’s interest in the New Criticism, as being applied to the works of Sunthorn Phoo, particularly to Phra Abhai Mani. Chapter 2 traces four sub-themes; they are adventure, pursuit of study, separation of the characters and family conflicts. The characters gain experience from adventure to become ideal persons both in personal and social aspects. The second theme is concerned with the first: that is to prepare the characters for their adventure. The separation of the characters and family conflicts go together, and they are probably influenced by the life of Sunthorn Phoo. Each sub-theme which has close relation to each other shows the characteristics of Thai literature and the notable individuality of Sunthorn Phoo. Chapter 3 is an attempt to point out the typical characteristics which makes the characters in Phra Abhai Mani distinguished from those in other literary works. These characters have their own individuality that makes them real. Chapter 4 is the study of symbolism and imagery that recur in the story. The symbols of the sea and the flute music symbolize desolation and loneliness that have influence on the spiritual background of the characters and themes. The last chapter deals with the classification of Phra Abhai Mani according to the universal classification of literature. The writer of this thesis comes to the conclusion that Phra Abhai Mani should be grouped in the romance category that seems to fit with Thai literary term – Rueng Pralomlok.


SUBJECT

  1. วรรณคดี -- ประวัติและวิจารณ์

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย CHECK SHELVES