Authorพรทิพย์ จุฑาชวกุล, ผู้แต่ง
Titleประสิทธิผลของแผ่นยาชาลิโดเคนที่ผลิตขึ้นเองในประเทศเปรียบเทียบกับเบนโซเคนเจล 20% ในการลดความเจ็บปวดจาการแทงเข็มฉีดยา / พรทิพย์ จุฑาชวกุล = The efficacy of the locally made intraoral lidocaine patch compared with 20% benzocaine gel in reducing pain caused by needle injection / Porntip Chutachavakul
Imprint 2548
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66692
Descript ก-ฏ, 95 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดเริ่มต้นและระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของแผ่นยาชาลิโดเคนรวมถึงต้องการเปรียบเทียบประสิทธิผลของแผ่นยาชาลิโดเคนที่ผลิตขึ้นเองกับเบนโซเคนเจลในการลดความเจ็บปวดจากการแทงเข็มฉีดยาทำการศึกษาในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มีสุขภาพดีจำนวนทั้งสิ้น 30 คนอายุระหว่าง 20 ถึง 58 ปีซึ่งผ่านการทดสอบความเจ็บปวดจากการแทงเข็มภายหลังการแปะแผ่นยาหลอกโดยให้คะแนนวีพีเอส ≥ 2 หรือวีเอเอส ≥ 30 มาทำการทดสอบหาจุดเริ่มต้นและระยะเวลาในการออกฤทธิ์ทางด้านแก้มแทงเข็มแบบถึงและไม่ถึงเยื่อหุ้มกระดูกและทางด้านเพดานปากแทงเข็มแบบไม่ถึงเยื่อหุ้มกระดูกโดยคำนวณจากค่าคะแนนความเจ็บปวดวีพีเอสและวีเอเอสเพื่อนำค่าจุดเริ่มต้นในการออกฤทธิ์ของการแทงเข็มแบบไม่ถึงเยื่อหุ้มกระดูกทั้งทางด้านแก้มและเพดานปากมาทดสอบต่อในการเปรียบเทียบประสิทธิผลกับเบนโซเคนเจล ผลการวิจัยพบว่าทางด้านแก้มจุดเริ่มต้นในการออกฤทธิ์ของแผ่นยาชาลิโดเคนที่ผลิตขึ้นเองจากการแทงเข็มถึงและไม่ถึงเยื่อหุ้มกระดูกมีค่าเท่ากับ 15 และ 1 นาทีตามลำดับและระยะเวลาในการออกฤทธิ์ไม่เกิน 15 นาทีแรกภายหลังการแกะแผ่นยาชาลิโดเคนของการทดสอบทางด้านแก้มทั้งแบบแทงเข็มถึงและไม่ถึงเยื่อหุ้มกระดูกส่วนทางด้านเพดานปากมีจุดเริ่มต้นในการออกฤทธิ์ของแผ่นยาชาลิโดเคนเท่ากับ 10 นาทีและระยะเวลาในการออกฤทธิ์อย่างน้อย 30 นาทีภายหลังการแกะแผ่นยาชิโดเคนและเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของแผ่นยาชาลิโดเคนกับเบนโซเคนเจลทางด้านแก้มพบว่าผู้เขาร่วมโครงการรายงานคะแนนเฉลี่ยของค่าความเจ็บปวดวีพีเอสและวีเอเอสภายหลังจากการแทงเข็มเท่ากับ 0.30±0.54 และ 4.00±6.30 ในตำแหน่งที่ทำการทดสอบด้วยแผ่นยาชาลิโดเคนและเท่ากับ 0.90±0.85 และ 14.00±17.76 ในตำแหน่งที่ทำการทดสอบด้วยเบนโซเคนเจลโดยพบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.002) ระหว่างยาชาที่ทำการทดสอบทั้งสองชนิดทั้งคะแนนวีพีเอสและวีเอเอสส่วนการเปรียบเทียบประสิทธิผลทางด้านเพดานปากพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการรายงานคะแนนเฉลี่ยของค่าความเจ็บปวดวีพีเอสและวีเอเอสภายหลังจากการแทงเข็มเท่ากับ 0.83±0.46 และ11.08±9.75 ในตำแหน่งที่ทำการทดสอบด้วยแผ่นยาชาลิโดเคนและเท่ากับ1.03±0.56 และ 14.10±12.43 ในตำแหน่งที่ทำการทดสอบด้วยเบนโซเคนเจลโดยไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของแผ่นยาชาลิโดเคนที่ผลิตขึ้นเองที่เหนือกว่าเบนโซเคนเจลในการลดความเจ็บปวดจากการแทงเข็มฉีดยาทางด้านแก้ม
The objectives of this study were to determine the anesthetic onset and duration of locally made intraoral patch and to evaluate the efficacy of this patch compared with benzocaine gel in reducing pain caused by needle injection. Thirty healthy participants, aged 20 to 58 years, who were screened by rating VPS≥2 or VAS≥30 to placebo (no medication) patches, were recruited into the study. The onset and anesthetic duration of the lidocaine patch were determined on buccal and palatal sides of premolar regions. On buccal side, each participant received needle insertion with and without contacting periosteum, whereas on palatal side the participants received needle insertion only 2-3 mm depth of the mucosa without periosteum contact. Pain was evaluated by VPS and VAS just before lidocaine patch placement and immediately after each insertion. The onset of the lidocaine patch was then calculated and used for comparing the efficacy with benzocaine gel. The results showed that on buccal side the onset of the lidocaine patch were 15 and 1 minutes for needle insertion with and without periosteum contact respectively. The anesthetic duration lasted no longer than 15 minutes after removal of the patch either with or without periosteum contact. On palatal side, the onset of the lidocaine patch was 10 minutes and the duration was least 30 minutes after removal of the patch. The efficacy of the patches and benzocaine get for needle insertion without periosteum contact were compared using the mean pain scores. On buccal side the VPS and VAS scores were 0.30±0.54 and 4.00±6.30 respectively for the lidocaine patch, which showed statistically significant difference from those of benzocaine gel [0.90±0.85 (VPS) and 14.00±17.76 (VAS)](p=0.002). On palatal side, the mean pain scores of the lidocaine patch were 0.83±0.46 and 11.08±9.75 respectively, which showed no statistically difference from those of benzocaing gel [1.03±0.56 (VPS) and 14.10±12.43 (VAS)]. This study revealed the superior efficacy of the locally made intraoral lidocaine patch in reducing pain caused by needle injection on buccal side when comparing with benzocaine gel.


SUBJECT

  1. ไลโดเคน
  2. ความเจ็บปวด
  3. เบนโซเคน
  4. Lidocaine
  5. Pain
  6. Benzocaine

LOCATIONCALL#STATUS
Dentistry Library : Thesisวิทยานิพนธ์ LIB USE ONLY