ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: มิติเสียงสังเคราะห์แห่งวงซิมโฟนี
ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: มิติเสียงสังเคราะห์แห่งวงซิมโฟนี

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: มิติเสียงสังเคราะห์แห่งวงซิมโฟนี

(รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563: รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีเด่น)

ผลงานวิจัยสร้างสรรค์ด้านการประพันธ์เพลง ประกอบด้วยบทประพันธ์เพลงสองบทคือ “Ripples” สำหรับวงดนตรีขนาด 7 คน และ “Fertile” สำหรับวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ขนาด 86 คน โดยมีขนาดย่อสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตราขนาด 19 คนอีกชิ้นหนึ่ง เป็นบทประพันธ์เพลงที่นำเสนอมิติสีสันเสียงที่หลากหลาย สังเคราะห์เสียงโดยใช้เครื่องดนตรีในวงออร์เคสตรา บทประพันธ์เพลงทั้งสองบทนี้เป็นนวัตกรรมทางเสียงใหม่ในแง่ของการนำเสนอดนตรีที่มีมิติความลึก ความหนาแน่นของพื้นผิวเสียง เทคนิคพิเศษของเครื่องดนตรี นอกจากนี้ยังผสมผสานคุณลักษณะของเสียงแบบตะวันออก ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลงชุดนี้ นำลักษณะสำคัญในดนตรีตะวันออกคือ ชีพจรความต่อเนื่องทางเสียงในดนตรีไทย โน้ตสะบัด โน้ตลากยาว เอื้อน รวมทั้งการบรรเลงที่ให้คุณลักษณะของเสียงคล้ายคลึงกับการด้นสด ลูกล้อลูกขัด รวมทั้งจังหวะซับซ้อนต่าง ๆ บทประพันธ์เพลง Ripples นี้ได้นำออกแสดงเผยแพร่โดยวงดนตรีในระดับนานาชาติ กลุ่ม Friends of MATA Ensemble ในเทศกาลดนตรีร่วมสมัยนานาชาติ MATA festival 2017 ณ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และแสดงอีกครั้งในรายการเดียวกับบทประพันธ์เพลง “Fertile” ขนาดย่อสำหรับ 19 คน โดยวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ ที่หอแสดงดนตรี ดร.ถาวร พรประภา สถาบันดนตรียามาฮ่า กรุงเทพ ผลงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์โดยวารสารดนตรีมหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนี้ทั้งสองบทประพันธ์เพลงนี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์โน้ตเพลงร่วมสมัยประเทศฝรั่งเศส Babelscores (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61464


LOCATIONCALL#STATUS
Fine & Applied Arts Library : DFA ThesisR ว.พ. ส729ด 2561LIB USE ONLY

updated by Sumal Chausaraku

views 757