การใช้จุลสาหร่ายร่วมกับตะกอนจุลชีพในการบำบัดน้ำเสีย
การใช้จุลสาหร่ายร่วมกับตะกอนจุลชีพในการบำบัดน้ำเสีย

การใช้จุลสาหร่ายร่วมกับตะกอนจุลชีพในการบำบัดน้ำเสีย

งานวิจัยนี้ ศึกษาการบำบัดซีโอดีโดยจุลสาหร่ายร่วมกับตะกอนจุลชีพในสภาวะที่มีแสงและไม่มีแสงเดินระบบด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ที่ความเข้มข้น 1,000 มก.ซีโอดี/ล. ผลการทดลองพบว่า ค่าซีโอดีลดลงตามปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง ซึ่งอัตราการบำบัดของจุลสาหร่ายร่วมกับตะกอนจุลชีพที่สภาวะให้แสง มีอัตราการบำบัดสูงสุด (k1) 0.76 ต่อวัน โดยไม่มีซีโอดีคงเหลือในระบบ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการบำบัดซีโอดีโดยจุลสาหร่ายร่วมกับตะกอนจุลชีพที่สภาวะไม่ให้แสง 0.45 ต่อวัน ดังนั้นการใช้จุลสาหร่ายช่วยบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย จะทำให้ซีโอดีในระบบลดลงจนหมดในสภาวะที่มีแสง แต่ในสภาวะที่ไม่มีแสงจะยังคงมีซีโอดีเหลืออยู่ในระบบ แสดงให้เห็นว่าแสงเป็นปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโตของจุลสาหร่ายซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดี จากการศึกษาผลของการบำบัดซีโอดีที่ความเข้มข้น 50 100 200 500 และ 1,000 มก.ซีโอดี/ล. โดยจุลสาหร่ายร่วมกับตะกอนจุลชีพในสภาวะที่มีแสง พบว่าอัตราการบำบัดซีโอดีเท่ากับ 128.0 158.4 352.0 657.8 และ 1547.5 มก.ซีโอดี/ล./วัน ตามลำดับ มีแนวโน้มของอัตราการบำบัดซีโอดีตามปฏิกิริยาอันดับหนึ่งคือ 0.99 ต่อวัน และอัตราการบำบัดจำเพาะของจุลสาหร่ายและตะกอนจุลชีพคือ 0.0282 วัน ผลการทดลองของระยะเวลากักเก็บน้ำ พบว่า ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีที่ระยะเวลากักเก็บ 1 2 4 และ 8 วัน เท่ากับร้อยละ 70.52±3.80 83.49±2.59 90.63±2.48 และ 92.53±2.84 ตามลำดับ ซึ่งระยะเวลากักเก็บที่ 4 วัน น่าจะเหมาะสมที่สุด (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63649

หนังสือเล่มหนึ่งจากหนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์สิ่งแวดล้อม” เดือน มิถุนายน 2563

updated by Sumal Chausaraku

views 596