แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กภายใต้ความคิดครอบครัวนิเวศ
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กภายใต้ความคิดครอบครัวนิเวศ

แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กภายใต้ความคิดครอบครัวนิเวศ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลาง และวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไข ตามความคิดครอบครัวนิเวศเพื่อการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในครอบครัวแหว่งกลาง รวมทั้งนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กภายใต้ความคิดครอบครัวนิเวศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods) ผลการวิจัยพบว่า 1. ครอบครัวแหว่งกลางมีความรู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในระดับปานกลาง ทั้งด้านการเป็นพ่อแม่ ด้านการดูแลตัวเองของปู่/ย่า/ตา/ยาย ด้านการจัดการทรัพยากรครอบครัว และด้านกฎหมาย แม้ครอบครัวแหว่งกลางจะยังขาดความรู้ด้านกฎหมาย และด้านการจัดการทรัพยากรครอบครัว แต่ครอบครัวกลับมีความต้องการอย่างมากที่จะเรียนรู้ในด้านการเป็น พ่อแม่ และด้านการดูแลตัวเองของปู่/ย่า/ตา/ยาย ส่วนผู้ทำหน้าที่จัดการเรียนรู้สำหรับครอบครัวแหว่งกลางที่สำคัญที่สุด ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โทรทัศน์ วิทยุ และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) วิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครอบครัวแหว่งกลางที่สำคัญที่สุด คือ การไปรับข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองที่หน่วยบริการทางสังคมในชุมชน เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อบต. และพบว่า วิธีจัดการเรียนรู้สำหรับครอบครัวแหว่งกลางที่มีช่องว่างมากที่สุด 3 วิธี ได้แก่ (1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการในเครือญาติและชุมชน (2) สื่อในชุมชน หอกระจายข่าวและวิทยุชุมชน และ (3) สื่อออนไลน์ เช่น สมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ตตำบล สำหรับปัญหาในการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็ก จำแนกได้เป็น 6 ประเด็น ได้แก่ (1) ลักษณะครอบครัวแหว่งกลาง (2) สุขภาพของปู่ ย่า ตา ยายในครอบครัวแหว่งกลาง (3) เศรษฐกิจของครอบครัวแหว่งกลาง (4) ความสัมพันธ์ในระบบครอบครัวนิเวศของครอบครัวแหว่งกลาง (5) สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยีและสื่อ และ (6) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวแหว่งกลาง 2. ปัจจัยในการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในครอบครัวแหว่งกลางครอบคลุม (1) รายได้รวมของครอบครัว (2) การอยู่ร่วมกันของพ่อแม่ (3) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวแหว่งกลาง (4) ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับชุมชน (5) ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวแหว่งกลางกับชุมชน และ (6) ความอยู่ดีมีสุขของปู่ ย่า ตา ยาย (บางส่วนจากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58114

updated by Sumal Chausaraku

views 823