Authorณัฐณิชา ศิวกาญจน์
Titleประสิทธิผลของการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคไตร่วมด้วย ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า / ณัฐณิชา ศิวกาญจน์, กมลชนก หาญศึกษา และ พิมพ์สุภางค์ น้อมจุ้ย
Imprint กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรรมปฏิบัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Descript 1 เล่ม

SUMMARY

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ระหว่างการใช้ชนิดเดียวและการใช้ร่วมกันหลายชนิด อีกทั้งยังศึกษาความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดตามแนวทางเวชปฏิบัติ โดยเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคไตร่วมด้วย ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จากการคัดเลือกผู้ป่วยที่มีการสั่งใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทานที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทานมาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน โดยประเมินจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แสดงถึงระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเก็บข้อมูล ณ 2 จุดเวลา ห่างกันอย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือนที่เข้ารับการรักษา ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 - 31 ธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS 22.0 โดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 149 คน ผลการวิจัยพบว่าการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดเดียว คือ metformin และยากลุ่ม sulfonylureas พบว่าสามารถลดระดับ A1C ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจากการใช้ยาเพียงกลุ่มเดียวและต้องใช้ร่วมกัน 2 กลุ่มพบว่า การใช้ยากลุ่ม sulfonylureas ร่วมกับ thiazolidinediones หรือ metformin สามารถลดระดับ A1C ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดร่วมกันมากกว่า 2 ชนิดเมื่อใช้ metformin ร่วมกับยากลุ่ม sulfonylureas และยา กลุ่ม thiazolidinediones สามารถลดระดับ A1C ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การใช้ยา metformin ทั้งชนิดเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยาอื่น จะมีผลเพิ่มระดับ serum creatinine และลดระดับ eGFR ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
The purposes of this study were to compare the effectiveness of monotherapy and combination of oral antidiabetic drugs for lowering blood sugar level. We also would like to perform retrospective study on proper drug selection according to the standards of medical care in diabetes. One hundred fourty-nine diabetic patients with chronic kidney disease who received oral antidiabetic therapy at Phramongkutklao Hospital between 1st Jan 2015 and 31st Dec 2017 were retrospectively analyzed. Patients above 18 years old and taken oral antidiabetic drugs for at least 3 months were enrolled in this study. Blood glucose levels were collected twice which have at least 3 months spacing. Statistical analysis was carried out using IBM SPSS Statistics version 22. The results showed that using metformin or sulfonylureas as a monotherapy significantly reduced A1C level at p-value 0.01 while using 2 classes of antidiabetic drugs which are sulfonylureas with thiazolidinediones or metformin were significantly reduced A1C level at p-value 0.05. In addition, using more than 2 classes of antidiabetic drugs, metformin plus sulfonylureas together with thiazolidinediones, can reduce A1C level significantly (p<0.05). Furthermore, this research also found that metformin can increase serum creatinine level and eGFR significantly (p<0.05) compared to the levels before drug treatment. Base on the findings


SUBJECT

  1. ไต -- โรค
  2. Kidneys -- Diseases

LOCATIONCALL#STATUS
Pharmaceutical Sciences Library : Projectsepr 1.6/60 LIB USE ONLY