AuthorJune Cheancharadpong
TitleBrand equity of H&M x balmain as co-brand alliance and perception of facebook users in Vietnam / June Cheancharadpong = คุณค่าตราสินค้าของพันธมิตรตราสินค้า H&M x balmain และการรับรู้ของผู้ใช้เฟชบุ๊กในประเทศเวียดนาม / จูน เจียรจัสพงศ์
Imprint 2018
Descript xi, 155 leaves illustration

SUMMARY

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างตราสินค้าร่วมกัน ระหว่าง H&M และ Balmain ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการตลาดในการเพิ่มคุณค่าตราสินค้าให้กับแบรนด์ H&M โดยศคกษาจากการสื่อสารระหว่างตราสินค้ากับผู้บริโภคบรช่องทางสื่อดิจิทัล งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของพันธมิตรตราสินค้าในประเทศเวียดนาม โดยอาศัยแบบจำลองการสร้างตราสินค้าให้แข็งแกร่งดดยใช้ลูกค้าเป็นเกณฑ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเชิงวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งเนื้อหาและข้อมูลที่ได้มาจะถูกวิเคราะห์ ตีความ และใส่รหัสข้อมูลโดยใช้วิธีกำหนดรหัสแบบตรงตามคำของผู้พูด จากผลการศึกษาสามารถอธิบายได้ว่า การสื่อสารระหว่างองค์กรของตราสินค้าและเนื้อหาที่สร้างจากผู้ใช้งานเฟชบุ๊กจริงในประเทศเวียดนามนั้น จะต้องมีการรักษามาตรฐานอย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งสามารถอธิบายได้จากการตระหนักรู้ตราสินค้าและการเชื่อมโยงตราสินค้าและการเชื่อมโยงตราสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังอธิบายให้เห็นถึงความคิดเห็นของผู้ใช้เฟชบุ๊กในประเทศเวียดนาม ที่ชี้ให้เห็นถึงแกนหลักของการสร้างตรสินค้าร่วมกันและคำวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ส่วนแนวคิดสำคัญในเรื่องของทัศนคติซึ่งได้แก่ การชื่นชมแสดงถึงทัศนคติที่มีความพอใจหรือชื่นชอบ ส่วนทัศนคติที่ไม่พอใจมาจากการได้รับความผิดหวัง และแนวคิดสุดท้ายคือ ความตั้งใจซื้อสามารถสังเกตได้จากความพยายามที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ และร้านสัญลักษณ์ของแบรนด์ ในขณะที่พฤติกรรมซื้อจริงจะทราบได้จากการที่ผู้ใช้เฟชบุ๊กใส่สินค้า ทั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า พันธมิตรตราสินค้าระหว่าง H&M และ Balmain นั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี และคุณค่าตราสินค้าของ H&M ประสบความสำเร็จในการสร้างการรับรู้และความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มผู้บริโภคชาวเวียดนาม
the objective of this research is to study the co-branding between H&M x Balmain, in which is analyzed as a marketing tool in enriching the brand equity of H&M throung its firm-based communication in digital space. the impacts of the co-branding alliance in Vietman are wxamined throung keller's consumer-based brand equity (CBBE) pyramid. This research is conducted through a qualitative research approach of content analysis, in which the data retrieved was analyzed, interpreted andcoded by the methods of in vivo coding in accordance to the context of vietman. The results of this research explains that a sufficient level of brand consistency must be achieved between the firm-based communication and user-generated content of fackbook users in Vietnam, in which are exemplified throung prominent key themes of brand awarness and brand associations. furthermore, the results also demonstrate the opinions of fackbook users in Vietnam through the key themes that indicates the core of the co-branding alliance, as well as criticisms, in regards to attitudes, the most prominent key themes include praises depicting a favorable attitude, while unfavorable attitude largely derives from the key theme of disappointment. And lastly the intention to purchase can be observed through the key thems of consumers exerting efforts to purchase the products through the H&M wesite and flagship stores, while the behavior of purchase buing key theme of fackbook users wearingthe products from the collection. in conclusion, the co-branding alliance between H&M and Balmain successful and is well-received in Vietnam where the enriched brand equity of H&M has successfully instilled a favorable perception among Vietnamese consumers


LOCATIONCALL#STATUS
Communication Arts Library : Thesis3618 CHECK SHELVES