AuthorNattaya Ruangrajitpakorn
TitleStrategic Plan for the M.R.T. Chalong / Nattaya Ruangrajitpakorn=แผนกลุยทธ์สำหรับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม /ณัชพล วิชัยธนารักษ์
Imprint 2019
Descript - หน้า, ตาราง

SUMMARY

This independent study proposes a strategic plan for the M.R.T. Chalong Ratchadham Line (MRT Purple Line). The main purpose is to study and analyze factors that influence the selection of transportation for commuting in order to formulate an effective marketing strategy, operation strategy, and financial strategy. The strategic plan could be used to strengthen the current strategy and leads to the profitable and sustainable growth of MRT Purple Line. From the consumer behavior analysis, product and place factors are the most important factors that motivate customers to select transport for their journey. Thus, those factors are analyzed and used to create the new positioning of MRT Purple Line, which is reliability and metro life changer. The 7C model is used to design the marketing strategy that could satisfy customer needs and strengthen the positioning. Base on the operational strategy, the service blueprint of MRT Purple Line service is developed to visualize the service design process of MRT Purple Line in order to improve the service process. The adjustment of the processes within the organization could lead to a more effective decision-making process, faster response, and more flexibility to changes. From the financial strategy, MRT Purple Line project is attractive for the investment, but it will require a long period to generate profitablity, which is possible for the mass rapid transit business due to a massive amount of expenses for the operation and maintenance. Based on the forecast, MRT Purple Line might require approximately 31 years from the inauguration to generate profitability.
โครงการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ได้จัดทำแผนกลุยทธ์สำหรับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกใช้ระบบขนส่งสำหรับเดินทาง เพื่อจัดทำแผนการตลาด แผนการดำเนินงาน และแผนการเงิน ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาแผนของรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปัจจุบันได้ เพื่อนำไปสู่การเติบโตที่มีกำไรและยั่งยืน จากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านสถานที่มีส่วนสำคัญมากที่สุดสำหรับจูงใจลูกค้าในการเลือกใช้ระบบขนส่งเพื่อเดินทาง ปัจจัยดังกล่าวจึงถูกนำมาวิเคราะห์และใช้เพื่อกำหนดตำแหน่งทางการตลาดใหม่ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ (Reliability) และผู้เปลี่ยนชีวิตคนเมือง (Metro Life Changer) กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 7 ด้าน (7C model) ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ตำแหน่งทางการตลาด ด้านแผนการดำเนินงาน พิมพ์เขียวการบริการถูกใช้เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทั้งหมด ส่งผลให้สามารถปรับปรุงการบริการได้ตรงจุด การปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในองค์กรสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้น ในส่วนของแผนการเงิน รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีความน่าสนใจในการลงทุน เพียงแต่ต้องอาศัยระยะเวลานานในการทำกำไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในธุรกิจระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและซ่อมบำรุงที่สูง จากการประมาณการ รถไฟฟ้าสายสีม่วงอาจใช้เวลา 31 ปี หลังจากเปิดให้บริการในการทำกำไร


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project60818960 LIB USE ONLY