Authorชนัญญ์ เมฆหมอก
Titleวัฒนธรรมพระเครื่องเมืองเพชร / ชนัญญ์ เมฆหมอก = Phetburi amulet culture / Chanan Mekmok
Imprint 2556
Descript (12), 166 แผ่น

SUMMARY

งานวิจัยสอบสวนประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของวัฒนธรรมพระเครื่องในสังคมไทย ทั้งโดยภาพรวมและในบริบทเฉพาะตัวของท้องถิ่นเพชรบุรี วัฒนธรรมพระเครื่องในสังคมไทยเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับความเชื่อในเรื่องไสยเวทย์และเครื่องรางของขลัง ซึ่งมีมาในสังคมไทยช้านานแล้ว โดยมากปรากฎภายในรูปลักษณ์ของวัตถุอาถรรพ์ต่าง ๆ เช่น ลูกอม ตะกรุด ผ้าประเจียด ฯลฯ มักหลีกเลี่ยงการสร้างให้เป็นรูปเคารพแทนองค์พระพุทธเจ้าโดยตรง เนื่องจากเป็นของสูงไม่เหมาะจะนำมาพกพาติดตัว การสร้างรูปเคารพขนาดเล็กของพระพุทธเจ้าด้วยแม่พิมพ์ครั้งละจำนวนมาก ๆ ในสมัยโบราณ ที่เรียกว่าพระพิมพ์ เป็นไปเพื่อการบำเพ็ญกุศลและสืบทอดศาสนาเป็นหลัก ต่อภายหลังลงมามากจึงค่อยคลายความหมายกลายมาเป็นพระเครื่อง ความนิยมสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้า ซึ่งภายหลังขยายความรวมถึงรูปเคารพของพระสงฆ์ซึ่งเป็นที่นับถือของมหาชนด้วย ในความหมายแบบเดียวกับเครื่องรางของขลัง คงเพิ่มเริ่มต้นในสังคมไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยเกิดขึ้นที่เมืองหลวงก่อน พบหลักฐานรูปธรรมที่น่าจะเก่าที่สุดคือการสร้างพระกริ่งปวเรศฯ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในสมัยรัชกาลที่สี่ ตามด้วยการสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เทคโนโลยีจากตะวันตกในการสร้างเหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึกต่าง ๆ ซึ่งถูกนำเข้ามาในสังคมไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สี่เช่นกัน ถูกนำมาใช้ในการผลิตพระเครื่องด้วย พร้อมกับวัฒนธรรมการสร้างพระเครื่องได้แพร่ขยายจากเมืองหลวงสู่หัวเมืองต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เนื่องจากพระเครื่องมีคุณค่าทางใจสำหรับผู้ครอบครอง พระเครื่องที่สร้างโดยพระเกจิอาจารย์สำคัญมักมีจำนวนจำกัดและเป็นที่แสวงหากันมาก ทำให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนกระทั่งการปลอมแปลงซึ่งมีมานานแล้ว แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นการสร้างพระเครื่องยุคแรก ๆ ก็มักมิได้มุ่งประโยชน์ทางการค้าหรือแสวงหารายได้เป็นหลัก และยังคงมิได้นับเนื่องอยู่ในกระแสวัฒนธรรมพุทธพาณิชย์เต็มตัวด้วย วัฒนธรรมพระเครื่องแบบพุทธพาณิชย์ที่แท้จริง หมายถึงการสร้างพระเครื่องเพื่อมุ่งหารายได้ที่เป็นตัวเงิน ซึ่งมักต้องอาศัยกระบวนการโฆษณาประชาสัมพันธ์และเทคนิคการตลาดเข้ามาประกอบด้วย น่าจะเริ่มขึ้นอย่างช้าตั้งแต่ราวในปลายทศวรรษ 2490 มีตัวอย่างรูปธรรมคือการสร้างพระเครื่องยี่สิบห้าพุทธศตวรรษโดยรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม วัฒนธรรมพระเครื่องแบบพุทธพาณิชย์ในระยะต่อมามีการแข่งขันมากขึ้น กระบวนการโฆษณาและการตลาด ซึ่งมักมีนายหน้าหรือตัวกลางทางธุรกิจเข้ามาทำหน้าที่แทนวัดและเกจิอาจารย์ ก็เข้มข้นขึ้นเป็นเงาตามตัว มีการสร้างกระแสปั่นราคาพระเครื่อง และตลาดพระเครื่องมีการขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจ การสร้างพระเครื่องโดยเกจิอาจารย์ในเมืองเพชรบุรี ซึ่งเริ่มเมื่อราม พ.ศ. 2460 อยู่ในกระแสวัฒนธรรมพระเครื่องที่ได้แพร่ไปจากเมืองหลวง และได้พัฒนาต่อมาในท้องถิ่นจนเกิดเป็นสำนักวิชาต่าง ๆ ขึ้น ที่สำคัญได้แก่ สำนักวัดเขาบันไดอิฐ สำนักวัดพระนอน สำนักวัดพระทรง สำนักวัดสิงห์ สำนักวัดในปากทะเล สำนักวัดโตนดหลวง และสำนักวัดเขากระจิว เป็นต้น สำนักที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ บางสำนักมีการสืบทอดวิชาโดยเกจิอาจารย์จากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน โดยอาจแบ่งพัฒนาการของสำนักอย่างคร่าว ๆ ได้เป็นสองยุค คือ "บูรพาจารย์" ก่อนหน้ากระแสพุทธพาณิชย์ราว พ.ศ. 2460-2500 และยุค "สืบทอดวิชา" ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2500 ถึงปัจจุบัน ในพัฒนาการยุคหลังนี้ วัฒนธรรมพระเครื่องเมืองเพชรได้เข้าสู่กระแสพุทธพาณิชย์ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมพระเครื่องท้องถิ่นอื่น ๆ ในภาพรวมของสังคม
การสร้างพระเครื่องเมืองเพชร ในยุคพุทธพาณิชย์ หลีกไม่พ้นกระบวนการหาผลประโยชน์จากนายทุนนอกพื้นที่ ซึ่งเชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย มีการสร้างจุดขายด้านการตลาดให้พระเครื่องเมืองเพชรมีอานุภาพคุ้มครองเน้นหนักด้านคงกระพันชาตรี (เหนียว) โดยสัมพันธ์กับบริบทสังคมของท้องถิ่น ที่เพชรบุรีเคยได้ชื่อว่าเป็นเมืองคนดุ หรือเมืองแห่งมือปืนมาก่อน อย่างไรก็ดีการพิจารณาความหมายของพระเครื่องเมืองเพชรในยุคสมัยใหม่ แต่ในแง่มุมของพุทธพาณิชย์ที่เน้นเศรษฐกิจอย่างเดียว ก็อาจทำให้เราละเลยความหมายของพระเครื่องในมิติทางสังคมและวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ของท้องถิ่นไปอย่างน่าเสียดาย งานวิจัยจึงให้ความสำคัญ กับการรับรู้ความหมายของพระเครื่อง ในเชิงคุณค่าด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากเศรษฐกิจ ในความรับรู้ของคนท้องถิ่นในปัจจุบันด้วย โดยข้อมูลจากภาคสนามแสดงให้เห็นว่า คนเมืองเพชรศรัทธาต่อพระเครื่องท้องถิ่น บนพื่นฐานความเชื่อในเรื่องเล่าของความศักดิ์สิทธ์ที่ถ่ายทอดหมุนเวียนอยู่ในท้องถิ่น และยังใช้การครอบครองพระเครื่องซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมไม่ว่าจะเป็นของ "แท้" หรือของ "ปลอม" เพื่อแสดงถึงฐานะทางสังคมของตนเองด้วย
The Buddhist amulet culet was investigated for its history and development in the Thai society, with an emphasis made particularly in the local context of Phetburi province. Having its root stemmed from the old supernatural believes, the amulet culture has existed in the Thai society since the distant past. Sacred amulets coule be made, for the secular purpose of protecting their owners, in various forms, with that of the Buddha icon generally avoided in the old votive tablets in and iconic form of the Buddha, found in various parts of Thailand, probably served different functions for merit accumulation of their donors and for prolonging the Buddha religion. It was not earlier than the Bangkok Period, that making sacred amulets in an iconic forms of the Buddha, and later on of the holy monks as wll, has gained popularity in the Thai society: early evidence includes "Phra-kring (rattled amulet) Pavaret" made by The Supreme Patriarch H.R.H Prince Pavaretvariyalongkorn of Wat Bovornnivet and "Phar-somdet" made by Somdet Phraphutthachan of Wat Rakangkhositaram. Since then, the tradition has spread widely all through the country. The minting technology introduced into Siam in the fourth reign of the Bangkok period made a breakthrough for mass production of Thai amuldts particularly those in the coin form. Being highly prized in the Thai society, rare Buddhist amulets -- particularly those made by the well-known holy figures -- have increasing exchange-prices, causing the amulet market to grow. To reach its full commercial scale, various advertising and marketing techniques and networks have been continuously developed for promotion of the amulet business. Such full-scale development of the commercial Buddhist amulets in Thailand is evident since shortly before the of the 25 Buddhist century, with the production by the Thai government of the Buddhist amulets in commemoration of 25 centuries of Buddhism an eminent exinent example. Increasing roles of private business agencies in systematic production and marketing of the Buddhist amulets are widely obseved nowadays.The Buddhist amulet culture had been markedly developed at Phetburi since around 2460 B.E., probably under the cultural infuence diffused from Bangkok. Various monastic schools for the cult had been established under the authority of several prominent holy monks, for example, the abbots of Wat Khao-bandai-it, Wat Phra-non, Wat Phra-song, Wat Sing, Wat nai-pak-thalae, Wat Tanod-luang and Wat Khao-krachew. Their development can be roughly divided into two phases; that of the founders between 2460-2500 B.E., before flourishing of the commercial amulet business; and that of the followers from 2500 B.E. on, included within is a high of the commercial amulet culture. Generally speaking, the commercial amulet culture of Phetburi follows the pattern observed as well at various other places, i.e. with intense and systematic involvement of private business agencies in production and marketing of the sacred objects, What makes the Phetburi amulet culture distincitiv probably concerns promotion and advertisement for the local amulets to provide the owners with invulnerability to all harms and dangers, which is to certain extent compatible with the local social atmospheric context of Phetburi, previously reputed as "the city of the gunmen". Beside the economic dimension of the amulet culture at Phetburi, this study also provides the cultural meanings of the Phetburi Buddhist amulets as revealed by folklores and social usages associated with them.


SUBJECT

  1. เพชรบุรี
  2. พระเครื่อง

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวิทยานิพนธ์ต่างสถา CATALOGING