Authorปราณภา โหมดหิรัญ, ผู้แต่ง
Titleผลของโปรแกรมอบรมครูเพื่อสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL ที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และการนำความรู้ไปใช้ในกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษของครูภาษาอังกฤษมัธยมศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย : รายงานการวิจัย / ปราณภา โหมดหิรัญ, เขียน
Imprintกรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62949
Descript ก-ฌ, 363 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมอบรมครูเพื่อสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL ที่มีต่อความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและแนวคิด CLIL ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมอบรม 2) ศึกษาทัศนคติต่อการสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL และ 3) ศึกษาผลการนำความรู้ไปใช้ในกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษ ประชากร คือ ครูสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้แบ่งตามการดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะอบรมโปรแกรมการสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 269 คน และระยะการติดตามผลการใช้ความรู้ในการสอนภาษาอังกฤษ มีครูผู้สมัครใจให้ข้อมูลเป็นตัวอย่างในการวิจัยระยะนี้จำนวน 20 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบทดสอบและแบบสอบถามในการศึกษาระยะที่ 1 จากนั้นวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยายและสถิติอ้างอิง ในระยะที่ 2 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูที่เข้าอบรมโปรแกรมมีผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและแนวคิด CLIL ก่อนและหลังอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเข้ารับการอบรม (X̅=13.04) มากกว่าก่อนอบรม (X̅=9.79) 2) ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL โดยประเมินความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและแนวคิด CLIL อยู่ในระดับปานกลาง และครูมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเข้ารับการอบรมอยู่ในระดับสูง โดยมีทัศนคติเชิงบวกต่อความรู้ของวิทยากรมากที่สุด รองลงมาเป็นวิธีการนำเสนอของวิทยากรและการนำความรู้ไปใช้จริง ตามลำดับ และ 3) ครูนำความรู้เกี่ยวกับอาเซียนไปใช้ในการสอนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 90 รองลงมาคือการนำเนื้อหาอาเซียนมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ 85 ในขณะที่นำเนื้อหาอาเซียนมาออกแบบบทเรียนและเขียนแผนการสอนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 ส่วนการนำแนวคิด CLIL ไปใช้ พบว่า ครูใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาเป็นการนำเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด CLIL ไปใช้ คิดเป็นร้อยละ 65 และมีการนำแนวคิด CLIL ไปใช้ในการออกแบบบทเรียนและเขียนแผนการสอนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามครูมีความต้องการให้อบรมด้านการประยุกต์ใช้แนวคิด CLIL เพิ่มเติม
The objectives of this research were to investigate: 1) the effects of the teacher training program on the knowledge of ASEAN content and the CLIL approach; 2) the attitudes towards teaching English with ASEAN content and the CLIL approach; and 3) the application of the knowledge in English language teaching. The population comprised the secondary English teachers of the Thailand Local Administration. The two sample groups involved in the two research phases of this study included 269 participants in Phase 1 – the teacher training program for teaching English with ASEAN content and the CLIL approach and 20 volunteers in Phase 2 – the follow-up study of the application of the learned knowledge in their English language teaching. Descriptive and referential statistics were used to analyze quantitative data from the tests and questionnaires in Phase 1. Follow-up quantitative data were analyzed. Content analysis was used to systematically compress the qualitative data from focus group discussion in Phase 2. The results revealed that: 1) the teachers attending the training program manifested the knowledge of ASEAN content and the CLIL approach in pre- and post-test significantly differed at the level of 0.05, with the mean scores of 9.79 and 13.04, respectively; 2) the teachers had positive attitudes towards teaching English with ASEAN content and the CLIL approach, rating the gained knowledge and understanding at the moderate level, while rating satisfaction with the training as the top 3 ranks including the knowledge and the presentation of the trainer and the true applicability of the training content at the high level; and 3) the teachers applied the learned knowledge in their English language teaching at the high level – with 90% using ASEAN content in their teaching, 85% using it to organize classroom activities, and 40% using it to design lessons and write lesson plans – with 80% using the CLIL approach to organize classroom activities, 65% using it in their teaching, and 50% using it to design lessons and write lesson plans, and the teachers required additional training about the application of the CLIL approach.


CONTENT

มโนทัศน์ที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน -- มโนทัศน์ที่เกี่ยวกับแนวคิดการสอนภาษาอังกฤษด้วย CLIL -- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL -- การประเมินการเรียนรู้ที่ได้จากโปรแกรมอบรม และการประเมินทัศนคติต่อโปรแกรมอบรม


SUBJECT

  1. ครูภาษาอังกฤษ -- การฝึกอบรม
  2. ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
  3. ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- โปรแกรมกิจกรรม

LOCATIONCALL#STATUS
Education Library : Research Collection420.7 ป444ผ CHECK SHELVES