AuthorWeena Arjharn, author
TitleRelationship between the structure and immunogenicity of ceftriaxone / Weena Arjharn = ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเซฟไตรอะโซน / วีณา อาจหาญ
Imprint 2015
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61308
Descript xvi, 131 pages : illustrations, charts

SUMMARY

This study focused on the relationship between the chemical structure and immunogenicity of ceftriaxone. Twelve tested compounds were selected and prepared, including ceftriaxone, another member of cephalosporins with or without an identical R1 side chain as ceftriaxone, a ring nucleus of cephalosporins, R1 and R2 side chain moieties, degradation products, and octalysine conjugate. Two degradation products and an octalysine-ceftriaxone conjugate were synthesized with yield values of 53.8%, 60.5% and 4.4%, respectively. The structure and purity (greater than 95%) for all tested compounds were characterized and determined, respectively, prior to their immunogenicity evaluation. The immunogenicity was evaluated by using interferon-gamma enzyme-linked immunosorbent spot (ELISPOT IFN-γ). Peripheral blood mononuclear cells (PBMC) obtained from three subjects allergic to ceftriaxone were tested with the tested compounds. A number of IFN-γ SFC/106 PBMC greater than 2SD of the mean values in ten control subjects was defined as a positive response. The results suggested that the ring nucleus together with R1 side chain could play a role in ceftriaxone allergic response more than the ring nucleus or R1 side chain alone. We found that octalysine conjugate can enhance the ELISPOT response. However, due to limitations on our allergic sample, a greater population of PBMC, obtained from subjects allergic to ceftriaxone without other factors related to allergic reaction, is needed in further study
การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางเคมีกับความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเซฟไตรอะโซล โดยทำการศึกษาสารทดสอบจำนวน 12 สาร ประกอบด้วยเซฟไตรอะโซล, เซฟาโลสปอรินที่มีหรือไม่มีหมู่โซ่ข้าง R1 ที่เหมือนกับเซฟไตรอะโซล, วงแหวนนิวเคลียสของเซฟาโลสปอริน, หมู่โซ่ข้างอิสระ R1 และ R2, ผลิตภัณฑ์จากการเสื่อมสลาย, และคอนจูเกทระหว่างออคตะไลซีนกับเซฟไตรอะโซล ในการศึกษานี้ได้ทำการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากการเสื่อมสลายสองสาร และคอนจูเกทระหว่างออคตะไลซีนกับเซฟไตรอะโซล การสังเคราะห์ให้ปริมาณผลิตภัณฑ์เท่ากับ 53.8%, 60.5% และ 4.4% ตามลำดับ สารทดสอบทั้งหมดได้รับการยืนยันโครงสร้างและตรวจวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ก่อนนำไปทดสอบ โดยสารทดสอบทั้งหมดมีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 95% ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของสารทดสอบถูกประเมินโดยการตรวจวัดอินเตอร์เฟอรอนแกมมาด้วยวิธีอิไลสปอต เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวเคลียสเดี่ยวจากอาสาสมัครผู้มีประวัติแพ้เซฟไตรอะโซลจำนวน 3 คนถูกนำมาทดสอบกับสารทดสอบ โดยประเมินผลจากจำนวนสปอตจากการตอบสนองด้วยการหลั่งอินเตอร์เฟอรอนแกมมาต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนหนึ่งล้านเซลล์ จำนวนที่มากกว่า 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่าเฉลี่ยที่ได้จากอาสาสมัครกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คนถูกประเมินผลเป็นการตอบสนองเชิงบวก ผลการศึกษาบ่งบอกว่าโครงสร้างของวงแหวนนิวเคลียสของเซฟาโลสปอรินร่วมกับหมู่โซ่ข้าง R1 มีบทบาทในปฏิกิริยาการแพ้เซฟไตรอะโซลมากกว่านิวเคลียสหรือหมู่โซ่ข้างเดี่ยว นอกจากนี้ผลการศึกษายังโน้มน้าวให้เชื่อว่าคอนจูเกทของออคตะไลซีนสามารถเพิ่มการตอบสนองของอิไลสปอตได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวอย่างทดสอบ จำนวนตัวอย่างทดสอบที่มากขึ้นจากอาสาสมัครผู้มีประวัติแพ้เซฟไตรอะโซลและไม่มีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการแพ้เป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษาต่อไป


SUBJECT

  1. Ceftriaxone
  2. Cephalosporins
  3. Drug allergy
  4. เซฟไทรอะโซน
  5. เซฟาโลสปอริน
  6. การแพ้ยา

LOCATIONCALL#STATUS
Pharmaceutical Sciences Library : Thesisวพ58/1723 CATALOGING