Authorอนุชยาน์ มนทการติวงค์
Titleเมื่อถึงคราวต้องเล่า; กลวิธีการใช้คำอ้างอิงถึงในเรื่องเล่าภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย / อนุชยาน์ มนทการติวงศ์ = When it comes time to tell a story : Thai learners' referential strategies in telling a story in English
Imprint 2554
Descript ก-จ, 26 แผ่น

SUMMARY

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้คำอ้างถึง (referential form) ในการเล่าเรื่องเป็นภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างเทศ (EFL Learners) และมีความสามารถทางภาษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคำถามวิจัย คือ ผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศใช้กลวิธีอ้างถึงอย่างไร รูปของคำอ้างถึงสอดคล้องกับบริบท (discourse context) และเป็นไปตาม PAS: Preferred Argument Stucture Constraints (Du Bois, 1987) หรือไม่และอย่างไร ผู้วิจัยใช้ข้อมูลเสียงเรื่องเล่าหนังสือภาพที่ไม่มีถ้อยคำประกอบ เรื่อง "Frog, Where Are You?" (Mayer, 1969) ที่ได้จากการให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเล่าเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยมุ่งแระเด็นหลักไปที่ (1) รูปคำ (Lexical, Pronominal, Null (2) บริบทที่เกิดของคำอ้างถึง (New, Old, Active, Previous Subject) และ (3) หน้าที่ทางไวยากรณ์ (S: intransitive subject, A: transitive subject, O: transitive object) ผลการวิจัยพบว่าผู้เรียนชาวไทยใช้คำนามรูปเต็มเมื่อแนะนำตัวละครใหม่และกล่าวถึงตัวละครที่เคยกล่าวถึงไปแล้ว ในขณะที่รูปสรรพนามจะใช้ในการอ้างถึงประธานของประโยคที่เคยเป็นประธานในประโยคก่อนหน้า นอกจากนี้ข้อมูลยังเป็นไปตามกฎ PAS คือ ผู้เข้าร่วมการวิจัยหลีกเลี่ยงการใช้คำนามรูปเต็มมากกว่า 1 รูปในประโยค ไม่แนะนำข้อมูลใหม่มากกว่า 1 ข้อมูลต่อประโยค และไม่แนะนำตัวละครใหม่ในตำแหน่ง A อย่างไรก็ดี ข้อมูลไม่เป็นไปตาม Non-Lexical A Constraint ที่ให้หลีกเลี่ยงการใช้คำนามรูปเต็มในตำแหน่ง A การศึกษาครั้งนี้จึงชี้ให้เห็นว่าแม้ผู้เรียนจะสามารถใช้กลวิธีการอ้างถึงในการเล่าเรื่องได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา แต่ก็ยังเผชิญกับข้อจำกัดบางประการที่ขัดขวางไม่ให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเล่าเรื่องได้อย่างเต็มที่ ซึ่งขึอจำกัดดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งการถ่ายโอนภาษา (language transfer) ความต้องการเน้นย้ำข้อมูลบางอย่างของผู้เล่า (over-explicitness) และความไม่ต่อเนื่องของหัวข้อในเรื่องที่เล่า (topic discontinuity)
The purpose of the present study is to examine how first-year Thai undergraduate students who learn English as a Foreign Language (EFL) use referential forms in telling a coherent story in English. Participants were at intermediate level of English proficiency. The study aims to discover the referential strategies the Thai EFL learners adopt to achieve discourse cohesion and find out whether or not the referential forms used correspond to the discourse context and Du Bois' (1987) preferred Argument Structure (PAS). Using Mayers' wordless picture book "Frog, Where Are You?" (1969) as prompts, the participants were asked to tell the story in English. The narratives were tape-recorded and later analyzed. The data were coded on three criteria: (1) referential forms (Lexical, Pronominal, Null); (2) discourse contxts (New, Old, Active, Previous Subject); and (3) grammatical functions (S: intransitive subject, A: transitive subject, A: transitive subject, O: transitive object). The result of the study demonstrates that Thai EFL learners use a full noun phrase when referring to a character first introduced in the story and one already mentioned when a pronoun is used if the referent is the subject of the previous clause. This finding corresponds to the PAS. Narrators avoid more than one lexical argument per clause, more than one new argument per clause, and new A's. However, the Non-Lexical A constraint (avoid lexical A's) is violated, suggesting that, the Thai participants are limited in their linguistic ability to achieve complete discourse cohesion in English storytelling, despite using almost the same referential strategies as native English speakers. Limiting factors observed include language transfer, over-explicitness, and topic discontinuity.


SUBJECT

  1. อักษรศาสตรบัณฑิต
  2. ภาษาอังกฤษ
  3. การเล่าเรื่อง
  4. ชาวไทย

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisปพ. ภาษาศาสตร์ LIB USE ONLY