Authorภาวินี ลาภสุขกิจกุล
Titleการทดสอบทฤษฎีโครงสร้างเงินทุนตามแนวคิด Trade-Off Theory ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) / ภาวินี ลาภสุขกิจกุล=Testing the trade-off theory of capital structure: Evidence from listed firms in Market for Alternative Investment (MAI) /Pavinee Lapsukkitkul
Imprint 2559
Descript ก-ช : 64 หน้า, ตาราง

SUMMARY

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะของบริษัทที่มีผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ตามแนวคิด Trade-off Theory รวมถึงทดสอบว่าบริษัทมีการปรับโครงสร้างเงินทุนไปยังโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง 2559 วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การวิเคราะห์สมการถดถอย Panel data regression และ Partial adjustment model เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และการปรับโครงสร้างเงินทุน ผลการศึกษาพบว่าค่ามัธยฐานของอัตราส่วนหนี้สินแต่ละอุตสาหกรรมไม่มีความแตกต่างกัน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของบริษัทกับอัตราส่วนหนี้สินในภาพรวมพบว่า
ขนาดบริษัท ความมีตัวตนของสินทรัพย์ และความสามารถในการทำกำไรมีความสัมพันธ์เชิงบวก ในขณะที่ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายมีความสัมพันธ์เชิงลบ ส่วนการเติบโตและความผันผวนของรายได้ไม่สอดคล้องกับทฤษฎี Trade-off อาจเป็นเพราะการพิจารณาอนุมัติกู้ยืมจะพิจารณาจากความสามารถในการชำระดอกเบี้ย และความสามารถในการชำระหนี้จากผลการดำเนินงานรายปี จึงทำให้ความ ผันผวนของรายได้ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างเงินทุน อย่างไรก็ดีผลการศึกษาในระดับอุตสาหกรรมกลับพบว่าความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ แตกต่างจากผลการศึกษาในภาพรวม นอกจากนี้บริษัทยังมีแนวโน้มปรับโครงสร้างเงินทุนไปสู่โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมตามทฤษฎี Trade-off
Abstract The purpose of this study is to investigate the relationship between firm characteristics and capital structure of listed firms in Market for Alternative Investment (MAI) according to Trade-off theory. Moreover, the study tests an adjustment towards an optimal capital structure. This study applied the method of Panel data regression and Partial adjustment model in investigating listed firms for 2006 to 2016 from Market for Alternative Investment (MAI). The results indicate that no significant differences in inter-industry median leverage. The overall result of the relationships between firm characteristics and leverage shows the positive relationships on size, tangibility of assets and profitability.
Depreciation and amortization shows negative relationship with the leverage. While growth shows positive relationship which is inconsistent with the Trade-off theory. In addition, earning volatility does not affect to leverage in the capital structure. It is probably because the loan approval is determined by debt coverage from yearly performance. However, the regression used the industry level shows the different results from the overall level. Lastly, the outcomes from the Partial adjustment model indicate that the firms are likely to adjust their capital structure towards an optimal capital structure, in accordance with the Trade-off theory.


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project58820260 LIB USE ONLY