Authorวิกานดา พงษ์พิศาล
Titleความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจกับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร / วิกานดา พงษ์พิศาล=The relationship between perception of Corporate Social Responsibility and Organizational Citizenship Behaviors / Wikanda Pongpisan
Imprint 2559
Descript ก-ช: 72 หน้า, ตาราง

SUMMARY

การศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อรายงานระดับการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (2) เพื่อรายงานระดับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของพนักงาน และ (3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจกับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานของบริษัทประกันภัยดีจริง (นามสมมติ) จำนวน 316 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย Pearson’s Correlation Coefficient, Independent Sample t-test และ Kruskal – Wallis Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจโดยรวมอยู่ในระดับสูง และ (2) กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรโดยรวมอยู่ในระดับสูง
ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ดังนี้ (1) การรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ช่วงอายุมีผลต่อการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ โดยค่าเฉลี่ยการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจของพนักงานที่มีอายุต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ช่วงอายุไม่มีผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร โดยค่าเฉลี่ยการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของพนักงานที่มีอายุต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ระยะเวลาในการทำงานไม่มีผลต่อการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจและการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร โดยค่าเฉลี่ยการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจและการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของพนักงานที่มีระยะเวลาการทำงานต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The objectives of this independent study are (1) to indicate level of Corporate Social Responsibility (2) to indicate level of Organizational Citizenship Behaviors and (3) to analyze the relationship between Corporate Social Responsibility and Organizational Citizenship Behaviors. This quantitative study collected data using questionnaires given to the 316 samples, who are employees of a insurance company. The statistics including percentage, means, and standard deviation are employed in the data analysis. Hypothesis were tested using the Pearson’s Correlation test, Independent Sample t-test and Kruskal – Wallis Test. The results of the study show that (1) the sample perceive the Corporate Social Responsibility at high level, and (2) the sample have Organizational Citizenship Behaviors at high level.
Results of hypothesis testing show that (1) perception of Corporate Social Responsibility is correlated to Organizational Citizenship Behaviors at the significant level of 0.01, (2) age affects perception of Corporate Social Responsibility; different ages have different perception of Corporate Social Responsibility at the significant level of 0.05. On the other hand, age has no effect on Organizational Citizenship Behavior. Finally, (3) working periods has no effect on perception of Corporate Social Responsibility and Organizational Citizenship Behaviors.


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project58820683 LIB USE ONLY