Authorชุติมา บุษยะกนิษฐ์
Titleโครงการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเป็นธรรมในองค์การ กับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทเจนเนอรัลมิลส์ (ประเทศไทย) จำกัด / ชุติมา บุษยะกนิษฐ์=Relationship between perceived organizational justuce and employee's job satisfaction a case study of General Mills (Thailand) Co., Ltd. / Chutima Busayakanith
Imprint 2559
Descript ก-ช : 93 หน้า, ตาราง

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเป็นธรรมในองค์การกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน: ศึกษากรณีศึกษาบริษัทเจนเนอรัลมิลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานทั้งหมดของบริษัท เจนเนอรัลมิลส์ (ประเทศไทย) จำกัดที่มีสถานภาพเป็นพนักงาน ณ เดือนสิงหาคม 2559 จำนวน 136 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผลการวิจัยปรากฏว่า 1.ความแตกต่างทางเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงาน ไม่มีอิทธิพลกับระดับความพึงพอใจในการทำงาน 2.ระดับการรับรู้ความเป็นธรรมด้านกระบวนการจัดสรร และปริมาณการจัดสรร มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจ แนวปฏิบัติที่องค์การสามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้ในการพัฒนาความเป็นธรรมด้านปริมาณการจัดสรร และด้านกระบวนการจัดสรรแก่พนักงาน เช่น
1.พิจารณาตรวจสอบพนักงานในทุกหน่วยงานและทุกตำแหน่งงานว่ามีหน่วยงานใดหรือพนักงานคนใดที่มีปริมาณงานมากเกินไปหรือไม่ได้รับการดูแล โดยจัดคนให้เหมาะสมกับลักษณะงานหรือปริมาณงาน เป็นต้น 2.พิจารณาว่าปริมาณงานที่แต่ละบุคคลได้รับมอบหมายนั้นเมื่อเทียบกับค่าตอบแทนที่ได้รับแล้วมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดหากพบว่าค่าตอบแทนที่พนักงานแต่ละบุคคลได้รับไม่มีความเหมาะสมกับลักษณะงานหรือปริมาณงานที่ทำอยู่ องค์การจำเป็นต้องทบทวนปรับปรุงกระบวนการจัดสรร และ ปริมาณการจัดสรร ใหม่ 3.ประเมินค่างาน (Job evaluation) โดยประเมินตำแหน่งงานแต่ละงาน เมื่อเปรียบเทียบกับงานในตำแหน่งงานอื่นๆที่มีอยู่ในองค์การเดียวกันและนำการประเมินค่างานที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนขององค์การอื่นๆในธุรกิจเดียวกันทำให้องค์
การมีโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมที่จะสามารถตอบคำถามข้อสงสัยจากพนักงานได้อย่างมีหลักการและเหตุผล จากแนวทางในการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้องค์การมีหลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการจัดสรร และปริมาณงานจัดสรรให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ทำให้พนักงานเข้าใจหลักการของกระบวนการจัดสรรปริมาณการจัดสรร และไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมอันจะนำไปสู่ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน
This study examined the relationship between the perceived organizational justice and the employees’ job satisfaction using a case study of General Mills (Thailand) Co., Ltd. The survey was conducted on the population of 136 current General Mills (Thailand) employees in August 2016. The study found that: 1.Differences in gender, age, education level, marital status, average monthly income, and job position did not have significant effect on the satisfaction level at work. 2. Perceived procedural justice and distributive justice had significant effects on the satisfaction level at work
It was recommended that the company apply the following practices to improve the employee’s perception in regards to distributive and procedural justices. 1. Review workload of all the positions in every department. Organization should revise work assignment for the employees should there be an excessive workload to ensure the right job size and workload for all. 2. Evaluate whether the compensation in return for employee contribution is appropriate. The amount and criteria for allocation may have to be modified, if necessary. 3. Compare whether the company’s compensation for each job is competitive with that for a similar position in other companies within the same industry. This allows the organization to have a rational compensation and be able to justify it to the employees.
These practices allow the company to have clear criteria for allocation and distribution of the workload; and effectively communicate to its employees. This reduces the perception of unjustice of the employee and leads to the job satisfactions.


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project57822013 LIB USE ONLY