Authorกานต์ ศิริพรพาณิชย์
Titleการศึกษาความสัมพันธ์ในระยะยาวของดัชนีราคาผู้บริโภคกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศไทยและการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ / กานต์ ศิริพรพาณิชย์=The Study of Commodity Prices and Consumer Price Index in Thailand and Hedging of Inflation Risk / Karn Siripornpanich
Imprint 2555
Descript iii : 59 หน้า, ตาราง

SUMMARY

ในการศึกษาวิจัยนี้ จะทำการศึกษาความสัมพันธ์ของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันสำเร็จรูป ราคาทองคำ หรือราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญเช่นยางพารา นอกจากนี้ จะทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองคำในประเทศไทยกับราคาทองคำในตลาดนิวยอร์ค โดยใช้ข้อมูลด้านราคารายวันในวันทำการมาหาค่าเฉลี่ยเป็นรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2543 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และข้อมูลด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เป็นรายเดือนในช่วงเวลาเดียวกัน ในการศึกษา จะมีการทดสอบความนิ่งของข้อมูลราคาเพื่อหาลำดับของความนิ่ง หลังจากนั้นจะทำการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวระหว่างข้อมูลราคาสินค้าโภคภัณฑ์กับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศไทย
และระหว่างข้อมูลของราคาทองคำในประเทศไทยกับข้อมูลราคาทองคำในตลาดนิวยอร์ค เมื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวแล้ว จะสร้างแบบจำลองเพื่อแสดงการปรับตัวเข้าสู่สมดุลหากมีการเปลี่ยนแปลงของราคาออกจากจุดดุลยภาพอีกครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ราคาทองคำในประเทศไทยนั้นมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพกับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศไทย และราคาทองคำในประเทศไทยมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพกับราคาทองคำในตลาดนิวยอร์ค ในส่วนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดอื่น ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวกับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศไทย
This research studies the relationship of the commodity prices, both soft and hard, that might affect the core inflation rate in Thailand. Crude oil, processed oil, gold price both domestically and world market, agriculture product such as rubber, are among the prices included in this study. The range of commodity price data is collected daily in working days from 1 January 2000 to 31 December 2011. The data are compiled into monthly average. The core consumer price index is collected monthly in the same period as the commodity price data. The test begins with stationary test by unit root method. Then, the relationship between commodity prices and core consumer price are tested using cointegration test.
The gold price in Thailand and the gold price in NY market are tested for cointegration, too. If cointegration is presented, the error correction model is created to observe the re-balance change of the data if there is any fluctuation that causes the data to deviate out of the cointegration trend. The result shows that the gold price and the core consumer price are cointegrated. The gold price in Thailand and the gold price in NY market are also cointegrated. The other commodity prices finds no cointegration with the core consumer price on Thailand.


LOCATIONCALL#STATUS
Chula Business School Library : Special Project54815137 LIB USE ONLY