Authorสร้อยสุดา ไชยเหล็ก
Titleตำนานไท้ส่วยเอี๊ยะ 60 องค์และพิธีแก้ปีชงในศาสนสถานจีนในสังคมไทยร่วมสมัย / สร้อยสุดา ไชยเหล็ก
Imprint 2558
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51230
Descript ก-ฌ, 6, 137, 41 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเนื้อหาและโครงสร้างของตำนานไท้ส่วยเอี๊ยะ 60 องค์ ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยจำนวน 120 เรื่อง ศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของพิธีแก้ปีชงในศาสนสถานจีนในภาคกลางของไทย จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ จังหวัดชลบุรี วัดมังกรบุปผาราม จังหวัดจันทบุรี วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ จังหวัดกาญจนบุรี สำนักสงฆ์สุธรรมกรุงเทพมหานคร และศาลเจ้าพ่อเสือ จังหวัดนครปฐม โดยเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงปี พ.ศ. 2556 - 2558 รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตำนานไท้ส่วยเอี๊ยะ 60 องค์กับพิธีแก้ปีชง ผลการศึกษาในด้านเนื้อหาและโครงสร้าง พบว่าตำนานไท้ส่วยเอี๊ยะ 60 องค์ สามารถจำแนกได้เป็น 4 แบบเรื่อง คือ แบบเรื่องบุรุษผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร แบบเรื่องบุรุษผู้ปกป้องคุ้มครองบ้านเมือง แบบเรื่องบุรุษผู้เปี่ยมคุณธรรม และแบบเรื่องบุรุษผู้เป็นเลิศในศาสตร์เฉพาะด้าน แบบเรื่องเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติสำคัญของบุคคลที่ได้รับการเคารพนับถือในฐานะวีรบุรุษผู้ศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมจีน ในด้านองค์ประกอบและขั้นตอนของพิธีแก้ปีชง พบว่าสัญลักษณ์ในพิธีกรรมมีความสัมพันธ์กับตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับการแก้ปีชง กล่าวคือ รูปเคารพไท้ส่วยเอี๊ยะ 60 องค์เป็นวัตถุสัญลักษณ์ในพิธีกรรมที่ช่วยให้เข้าใจลักษณะเฉพาะของไท้ส่วยเอี๊ยะแต่ละองค์ เหตุการณ์สำคัญในตำนาน และปีนักษัตรต่าง ๆ ของจีน ทั้งยังพบว่าของเซ่นไหว้และเครื่องกระดาษในพิธีกรรมสะท้อนให้เห็นถึงการนับถือไท้ส่วยเอี๊ยะในฐานะที่เป็นเทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตาที่มีตำนานวีรบุรุษผู้ศักดิ์สิทธิ์รองรับ ส่วนพฤติกรรมสัญลักษณ์ในพิธีแก้ปีชงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องอำนาจในการปกป้องคุ้มครองดวงชะตาและขจัดปัดเป่าเคราะห์ภัยของไท้ส่วยเอี๊ยะ 60 องค์ ซึ่งสอดคล้องกับวีรกรรมการขจัดทุกข์ภัยต่าง ๆ ที่ปรากฏในตำนาน นอกจากนี้ ยังพบว่าพิธีแก้ปีชงในศาสนสถานจีนในสังคมไทยร่วมสมัยมีการนำความเชื่อเรื่องดวงดาวแห่งโชคเคราะห์ในวัฒนธรรมจีนกับความเชื่อเรื่องการสวดนพเคราะห์และการทำทานในวัฒนธรรมไทยเข้าไปผสมผสานด้วย เช่น การสวด “มนต์ปักเต้า” การต่อเทียนประจำวันเกิด การไถ่ชีวิตโคกระบือ การทำบุญโลงศพ เป็นต้น อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดเรื่อง “การสะเดาะเคราะห์ – เสริมดวง” และ “การทำบุญ – ทำทาน” ของคนไทย งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาความเชื่อ ตำนาน และพิธีกรรมซึ่งเป็นคติชนจีนที่กำลังเป็น “กระแส” หรือปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งช่วยให้เข้าใจเนื้อหา โครงสร้าง สัญลักษณ์ และเป็นแนวทางในการศึกษาพิธีกรรมในปริบทสังคมไทยร่วมสมัยต่อไป
This thesis aims to study the story and structure of the legends of sixty ‘Tai Sui Ye’ from 120 stories published in Thai; and to analyze components and process of the ‘Pi Chong’ ritual, using fieldwork data collected between 2013 - 2015 from 5 Chinese religious places in central Thailand namely Na Ja Sa Tai Jue shrine in Chon Buri province, Mangkorn Buppharam temple in Chantha Buri province, Metta Tham Phothiyan temple in Kanchana Buri Province, Sutham Temple in Bangkok, and Jao Pho Sue shrine in Nakhon Pathom province. It also aims to analyze relation between the legend and the ritual. The analysis of the legend shows that they can be categorized into 4 tale-types: 1) the man who eliminates suffering and brings peace to the people, 2) the man who protects the country 3) the man who is full of virtue, and 4) the man who excels in special arts. These tale-types altogether reveal significant traits of a man who is revered as a sacred hero in Chinese culture. The study of the ‘Pi Chong’ ritual finds that symbols in the ritual relate with the legend and the belief of ‘Pi Chong’ mending. The icons of sixty ‘Tai Sui Ye’ are symbolic objects that express the unique characteristics of each ‘Tai Sui Ye’, the events from their legend, and the Chinese zodiacs. The sacrificial offerings and paper offerings reflect the reverence for ‘Tai Sui Ye’ as gods who protect human destiny, validating by the legend expressing their sacred-hero status. In case of symbolic behaviors in the ‘Pi Chong’ ritual, they reflect the belief in power of sixty ‘Tai Sui Ye’ that can prevents harms, which are comparably parallel to the gods’ heroic deeds of suppressing calamities in their legend. Moreover, the study shows that the ‘Pi Chong’ ritual in Chinese religious places in contemporary Thai society has combined Chinese astrology with the ‘Suat Nopphakhro’ belief and the beliefs concerning donation in Thai culture through several bad-fortune mending rites such as reciting ‘Pak Tao’ mantra, lighting birthday candles, saving cattle’s life, or donating coffin. These blending beliefs reveal Thai way of thought about ‘mending bad fortune-enhancing good luck’ and ‘making merit-donation’. In conclude, this thesis is a research of belief, legend, and ritual which are Chinese folklore that are ‘trending’ as social phenomenon. It helps to understand content and structure, and provide a new way for further study of rituals in contemporary Thai society


SUBJECT

  1. เทพเจ้าจีน -- ไทย
  2. พิธีแก้ปีชง

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย LIB USE ONLY