Authorพุทธมาศ จันทร์ทอง
Titleผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการเลือกสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจด้วยตนเองต่อความเจ็บปวดจากการเจาะหลอดเลือดดำ ในวัยรุ่นตอนต้นโรคมะเร็ง / พุทธมาศ จันทร์ทอง = The effect of nursing intervention by using self-selected distraction technique on pain caused by venipuncture in early adolescents with cancer / Phuttamas Chanthong
Imprint 2558
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51208
Descript ก-ฎ, 128 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการเลือกสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจด้วยตนเองต่อความเจ็บปวดจากการเจาะหลอดเลือดดำ ในวัยรุ่นตอนต้นโรคมะเร็ง กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นตอนต้นโรคมะเร็ง อายุ 10-15 ปี ที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคมะเร็งในเด็ก และได้รับหัตถการเจาะหลอดเลือดดำ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการจับคู่เพศที่เหมือนกัน กลุ่มละ 25 คน กลุ่มทดลองที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการเลือกสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจด้วยตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการเลือกสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจด้วยตนเอง เเบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และมาตราวัดความเจ็บปวดโดยใช้เส้นตรง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และมาตราวัดมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ ค่าเฉลี่ยของคะเเนนความเจ็บปวด ในวัยรุ่นตอนต้นโรคมะเร็ง กลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการเลือกสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจด้วยตนเองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นเเนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรทางการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ นำเทคนิคการเลือกสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจด้วยตนเองไปใช้ เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดจากการเจาะหลอดเลือดดำได้
The purpose of this quasi-experimental research study was to examine the effect of nursing intervention by using self-selected distraction technique on pain caused by venipuncture in early adolescents with cancer. The subjects were 50 early adolescents, aged 10-15 years old, visited to the out patients oncology clinic. The control group received routine nursing care while the experimental group received the nursing intervention by using self-selected distraction technique. Research instruments included the nursing intervention by using self-selected distraction technique, the demographic data and the visual analogue scale. All instruments passed content validity. The reliability of the visual analogue pain scale was 0.99. Data analyzed by descriptive statistics and independent t-test. The results shown that the mean score of pain caused by venipuncture in early adolescents with cancer in the experimental group was lower than that in the control group at the significant level of .05 Application of this result can be applied by pediatric nurses to promote the use of self-selected distraction technique to relieve pain caused by venipuncture in early adolescents


SUBJECT

  1. การเจาะหลอดเลือดดำ
  2. ความวอกแวก (จิตวิทยา)
  3. Veins -- Puncture
  4. Distraction (Psychology)