AuthorWipada Ploysuksai, author
TitleEffects of Ti and Nb on hydrogen desorption of Mg(BH₄)₂ / Wipada Ploysuksai = ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาไทเทเนียมและไนโอเบียมต่อพฤติกรรมการคายไฮโดรเจนของแมกนีเซียมโบโรไฮไดรต์ / วิภาดา พลอยสุกใส
Imprint 2012
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75528
Descript xiii, 85 leaves : illustrations, charts

SUMMARY

In this work, the effects of catalysts (Ti, TiO2, TiCl3, Nb2O5, and NbCl5) were investigated on hydrogen desorption of Mg (BH4)2. LiBH4 and MgCl2 with a 2:1 molar ratio were mixed by ball milling to prepare Mg (BH4)2. The desorption behaviors were measured by a thermo-volumetric apparatus from room temperature to 450 °C with a heating rate of 2 °C/min. The hydrogen desorption capacity of the mixed sample milled for 2 h was 4.78 wt.% with a 2-step release. The first step occurred at 214 °C, and the second step appeared at 374 °C. The addition of 16 wt.% catalysts decreased the desorption temperature in the second step by 70 °C except for the Ti catalyst. The addition of Nb205 and TiO2 also decreased the desorption temperature in the second step by 70 °C, and the hydrogen desorption capacity to 4.86 wt.% and 5.27 wt.%, respectively. Furthermore, effects of Nb2O5 and TiO2 loading (10 wt.%, 16 wt.%, and 20 wt.%) were investigated. The results showed that 16 wt.% loading exhibited the best performance among all tested catalysts. Hydrogen absorption after desorption of Mg (BH4)2 was also studied under 9.5 MPa and 350 °C for 12 h.
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของตัวเร่งปฏิกิริยาไทเทเนียม (โลหะไททาเนียม (Ti) ไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) และไททาเนียมไตรคลอไรด์ (TiCl3)) รวมถึงตัวเร่งปฏิกิริยาไนโอเบียม (ไนโอเบียมเพนตะออกไซด์ (Nb2O5) และไนโอเบียมเพนตะคลอไรด์ (NbCl5)) ต่อพฤติกรรม การคายและอุณหภูมิที่ปลดปล่อยไฮโดรเจนของแมกนีเซียมโบโรไฮไดรด์ [Mg(BHA4)2] โดยใช้ลิเธียมโบโรไฮไดรด์ (LiBH4) และแมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) มาบดเชิงกลในอัตราส่วน 2:1 ในการหาปริมาณไฮโดรเจนและอุณหภูมิที่คายของแมกนีเซียมโบโรไฮไดรด์ใช้เครื่องวัด ปริมาตร- อุณหภูมิ โดยอุณหภูมิที่ใช้ในการทดลองเริ่มจากอุณหภูมิห้องถึง 450 องศาเซลเซียส ด้วย อัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียสต่อนาที จากการทดลองพบว่า สารผสมลิเธียมโบโรไดรด์และแมกนีเซียมคลอไรด์ที่บดเชิงกลเป็นเวลา 2 ชั่วโมง คายไฮโดรเจนออกเป็น 2 ช่วง โดยมีปริมาณไฮโดรเจน 4.78 โดยน้ำหนัก การผสมตัวเร่งปฏิกิริยา 16 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักสามารถลดอุณหภูมิการคายในช่วงที่สองได้ 70 องศาเซลเซียส ยกเว้นโลหะไทเทเนียม การผสมไททาเนียมไดออกไซด์และไนโอเบียมเพนตะออกไซด์สามารถเพิ่มปริมาณไฮโดรเจนเป็น 4.86 และ 5.27 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ศึกษาปริมาณการผสมไททาเนียมไดออกไซด์และ ไนโอเบียมเพนตะออกไซด์ต่อพฤติกรรมการคายและอุณหภูมิที่ปลดปล่อยไฮโดรเจน โดยใช้ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาในช่วงจาก 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก พบว่า ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่ 16 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ให้ผลการคายไฮโดรเจนดีที่สุด และมีการทดลองการดูดซับไฮโดรเจน หลังจากการคายซับที่ความดัน 9.5 เมกะปาสคาล และอุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง


SUBJECT

  1. Niobium
  2. Titanium
  3. Catalysts
  4. ไนโอเบียม
  5. ไทเทเนียม
  6. ตัวเร่งปฏิกิริยา

LOCATIONCALL#STATUS
Petroleum & Petrochemical College Library : Thesis10.01 W797E 2012 CHECK SHELVES